เจาะลึกการเสียอากรแสตมป์จาก 28 ตราสาร (สัญญา) Update 23 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เสียอากรแสตมป์ตามหลักเกณฑ์ใหม่สรรพากร

รหัสหลักสูตร : 21/17011

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เจาะลึกการเสียอากรแสตมป์จาก 28 ตราสาร (สัญญา)
Update 23 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เสียอากรแสตมป์ตามหลักเกณฑ์ใหม่สรรพากร

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่น ๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่น ๆ 6 ชม.


• พลาดไม่ได้กับการ Update หลักเกณฑ์ใหม่ของ 23 ตราสารที่ต้องเสียเป็นตัวเงินเท่านั้น
• หลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอชำระอากรเป็นตัวเงินสําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
• วิธีการขอรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ เอกสารหลักฐาน และใบเสร็จรับเงิน
• Highlight เด็ด กับการเคลียร์ 28 สัญญาที่ต้องเสียอากรแสตมป์
• Top Case Studies กับปัญหาจริงที่นักบัญชีต้องพบกับการติดอากรแสตมป์
• ปรับ 5 เท่า จากการเสียอากรแสตมป์ ไม่ถูกต้อง จุดที่ต้องระวัง

วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย

พิเศษ!! ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับหนังสือ
กลยุทธ์การทำสัญญาเพื่อการวางแผนภาษี 
Contractual for Taxation ฟรีทันที!!!

หัวข้อสัมมนา



อากรแสตมป์ กับ 28 สัญญาพร้อมเจาะลึกปัญหา และวิธีการแก้ไข


1. อากรแสตมป์คืออะไร มีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

2. ตราสารมีความหมายครอบคลุมเพียงใด แล้วตราสารใดต้องเสียอากรแสตมป์

3. Highlight เด็ด!!! กับการเคลียร์ 28 ตราสาร (สัญญา) ที่ต้องเสียอากรแสตมป์ที่นักบัญชีต้องรู้
และเทคนิคการดูสัญญาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- จุดสังเกตของสัญญาที่นักบัญชีสงสัยว่าต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่

4. พลาดไม่ได้!!! กับการ Update หลักเกณฑ์ใหม่ของตราสารที่ต้องเสียเป็นตัวเงินพร้อมผลเสียหายที่นักบัญชีต้องรู้เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
- ถ้ายังใช้หลักเกณฑ์เก่าผลเป็นอย่างไร ทั้งในแง่คดี และการขอคืนอากรแสตมป์
- ชี้จุดแตกต่างระหว่างหลักเกณฑ์เก่า VS หลักเกณฑ์ ใหม่ สิ่งใดที่ใช้บังคับไม่ได้แล้ว

5. ใครมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ และเสียในอัตราเท่าไร มีข้อยกเว้นอย่างไร
- ถ้าเสียไม่ครบ เสียเพิ่มภายหลังได้หรือไม่ มีผลอย่างไรต่อธุรกิจ
- กฎหมายยอมให้คู่สัญญาตกลงเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในการเสียอากรแสตมป์ได้หรือไม่

6. อย่างไรคือการปิดแสตมป์บริบูรณ์ หากปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะมีผลอย่างไร แล้วใครต้องรับผิด
*** การเสียอากรแสตมป์ กรณีแสตมป์ปิดทับมีวิธีการอย่างไร
- การขีดฆ่าอากรแสตมป์คืออะไร พร้อมเทคนิคที่แม้มิได้ทำตามกฎหมายแต่ศาลยอมรับว่ามีการขีดฆ่าแล้ว
*** การเสียอากรแสตมป์ กรณีชำระเป็นตัวเงิน
- ตราสารที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้เสียเป็นตัวเงิน นำไปชำระเป็นตัวเงินได้หรือไม่
- ตราสารใดใช้แสตมป์ปิดทับไม่ได้โดยเด็ดขาด!!! หากฝ่าฝืนเป็นอย่างไร

7. ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง

8. ความรับผิดของการไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ และการไม่ออกใบรับมีอะไรบ้างที่นักบัญชีต้องทราบ
- เสียเงินเพิ่มอากร และเบี้ยปรับ
- การขอลดอากรสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าอากร
- การใช้ตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง สิ่งที่ระวังเป็นพิเศษ!!!
- ผู้ทำบัญชีต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ทั้ง กรณีที่เจตนาและไม่เจตนา

9. การวางแผนภาษีเกี่ยวกับการปิดอากรแสตมป์
- ปิดอากรย้อนหลัง
- ปิดแต่ไม่ขีดฆ่า
- ซื้ออากรไว้แต่ยังไม่ปิด
- การทำสัญญาที่ต่างประเทศโดยไม่นำสัญญากลับมาในไทย สรรพากรจะเชื่อหรือไม่

 

การชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน กับ 23 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมเทคนิคทำอย่างไรไม่เสียค่าปรับ และเงินเพิ่ม


1. ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ตามความหมายของสรรพากร
- เจาะรายละเอียดตราสารอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรคือตราสารอิเล็กทรอนิกส์


2. ความหมายของ “รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์”

3. ใครคือ ผู้ขอใช้บริการ, ผู้ให้บริการตามกฎหมาย และผู้เสียภาษีเป็นผู้ให้บริการเองได้หรือไม่

4. 23 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องชำระค่าอากรเป็นตัวเงินตามกฎหมาย
- สัญญาเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ
- โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร และใบรับรองหนี้ที่บริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์กรใด ๆเป็นผู้ออกให้
- สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- สัญญาจ้างทำของ
- สัญญากู้ยืม หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
- กรมธรรม์ประกันภัย
- ใบมอบอำนาจ
- ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมบริษัท
- ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับตั๋วสัญญาใช้เงิน
- บิลออฟเลดิง
- ใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
- เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆซึ่งใช้แทนเช็ค
- ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคาร โดยมีดอกเบี้ย
- เลตเตอร์ออฟเครดิต
- เช็คสำหรับผู้เดินทาง
- ใบรับของ
- สัญญาค้ำประกัน
- สัญญาจำนำ
- ใบรับของคลังสินค้า
- คำสั่งให้ส่งมอบของ
- สัญญาตัวแทน
- หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
- ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรมสิทธิ์ยานพาหนะ

5. 23 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ กรณีสัญญาที่ทำขึ้นก่อนกฎหมายบังคับ และสิ้นสุดภายหลังที่กฎหมายบังคับใช้จะต้องเสียอากรอย่างไร

6. หลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอชำระอากรเป็นตัวเงิน สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
- การยื่นขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน (อ.ส.9)
- วิธีการเข้าสู่ระบบ/ การกรอกและนำส่งข้อมูล/ การชำระเงิน
- การตรวจสอบการเสียภาษีจะทราบได้อย่างไรว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์ใดได้ชำระอากรแสตมป์แล้ว
- การยื่นเสียอากรเพิ่มเติม และการยื่นชำระเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

7. วิธีการขอเอกสารหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์

8. กรณีผลักภาระในการเสียอากรสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเสียอากรอย่างไร

9. ต้นฉบับและคู่ฉบับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเสียภาษีพร้อมกันหรือไม่ ทำแทนคู่สัญญาได้หรือไม่

10. กำหนดเวลายื่นก่อนกระทำตราสาร 15 วันนับจากวันใด

11. Top Case Studies ปัญหาจริงที่นักบัญชีต้องพบกับอากรแสตมป์ พร้อมแนะจุดใดต้องระวังเป็นพิเศษ!!!
- ตราสาร 1 ฉบับ แต่มีข้อตกลงหลายประเภท มีวิธีการเสียอากรอย่างไร
- ปัญหาความแตกต่างระหว่างต้นฉบับกับคู่ฉบับ
* ใครเป็นผู้เก็บต้นฉบับ/คู่ฉบับ
* สำเนาต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่
- ทำสัญญากับรัฐวิสาหกิจต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่
- ตราสารที่ทำขึ้นในต่างประเทศ ต้องเสียอากรในไทยหรือไม่ มีความแตกต่างในการปิดอากรแสตมป์หรือไม่อย่างไร และใครต้องเป็นผู้ปิดอากร
- ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการชำระอากรเป็นตัวเงินในสัญญาจ้างทำของกรณีจ้างที่ปรึกษา อย่างไรเรียกว่าผลสำเร็จของงาน
- การปิดอากรแสตมป์ผิดวิธีที่กฎหมายกำหนดผลเป็นอย่างไร
- เดิมไม่ได้เสีย เสียไม่ครบ หรือเสียผิดวิธี จะปิดอากรย้อนหลังได้หรือไม่หรือ จะแก้ไขให้ถูกต้องด้วยวิธีใด ภายในกำหนดเวลาเท่าไร

12. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่สรรพากรที่นักบัญชีต้องรู้ในการตรวจสอบสัญญาและอากรแสตมป์

13. การขอคืนอากรแสตมป์มีวิธีการอย่างไร หากไม่พอใจ สามารถอุทธรณ์ได้ทุกกรณีหรือไม่

14. สรุปฎีกาสำคัญที่เกี่ยวกับอากรแสตมป์ พร้อมถาม-ตอบปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในคดีจากผู้เชี่ยวชาญ
- ตัวอย่างสัญญาที่ใช้เปรียบเทียบกันเพื่อให้เสียอากรแสตมป์ได้อย่างถูกต้อง

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba