ข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงิน การปิดบัญชี และการนำเสนองบการเงินให้สอดคล้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินก่อนนำส่งงบการเงิน (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom)

รหัสหลักสูตร : 23/4029Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 1,070 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 1,391 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



ข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงิน การปิดบัญชี
และการนำเสนองบการเงินให้สอดคล้องตามมาตรฐาน
การรายงานทางการเงินก่อนนำส่งงบการเงิน 


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี

รออนุมัติ

ผู้สอบบัญชี

นับชั่วโมงแบบ
ไม่เป็นทางการได้

 

วิทยากรโดย อาจารย์วิทยา เอกวิรุฬห์พร

หัวข้อสัมมนา

1.การเตรียมข้อมูลการปิดบัญชีตามมาตรฐานการ บัญชีฉบับที่ 1 เรื่อง
การนำเสนองบการเงิน

- ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการนำเสนองบการเงินของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
- การจัดเตรียมข้อมูลงบการเงินให้สอดคล้องการกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ข้อควรระมัดระวังในการจัดทำงบการเงินของกิจการขายสินค้า บริการ กิจการอุตสาหกรรม
ค้าปลีก และค้าส่ง

2.รายการทางบัญชีที่ต้องระมัดระวังในการปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางเงินในงบการเงิน
- บัญชีเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด ที่แสดงในงบการเงิน
- บัญชีลูกหนี้การค้า และลูกหนี้อื่นในงบแสดงฐานะการเงิน กับบัญชีรายได้ในงบกำไรขาดทุน
(งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ)
- บัญชีสินค้าคงเหลือ จะต้องพิจารณาการวัดมูลค่า และการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างไร
ให้เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน
- ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน วัดมูลค่าเริ่มแรก
และวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการอย่างไรให้สอดคล้องกับมาตรฐานรายงานทางการเงิน
- การแสดงรายการและการจัดประเภทรายการเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ภาษีเงินได้ค้างจ่าย
การประมาณการหนี้สิน
- หนี้สินระยะยาว ให้เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน

3.พิจารณาการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินและเหตุการณ์สำคัญ
ที่มีผลต่อการจัดทำงบการเงินก่อนนำส่งงบการเงินในปี 2564

4.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ-
ทางบัญชี
และข้อผิดพลาด
- หลักการสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลทบทวนนโยบายการบัญชี
- เหตุผลสำคัญและวิธีการบัญชีของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
- วิธีการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินเมื่อมีการแก้ไขข้อผิดพลาด

5.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
- หลักและวิธีประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ ของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
และกิจการที่ไม่ส่วนได้เสียสาธารณะ
- ความแตกต่างของรายการหนี้สงสัยจะสูญตามหลักการปฏิบัติมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
กับหลักการภาษีอากรผลกระทบที่นักบัญชีควรทราบ

6.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ
- ณ วันสิ้นรอบบัญชีกิจการจะวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือวิธีใด
- แนวปฏิบัติในการใช้มูลค่าสุทธิที่จะได้รับกับราคาทุนของสินค้าคงเหลือ
- กิจการรับรู้มูลค่าสินค้าคงเหลือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อใด
- การกลับรายการของมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ปรับลดและรับรู้ต้นทุนขาย
- ความแตกต่างของรายการสินค้าคงเหลือแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี กับความแตกต่างของหลักการภาษี
- ผลกระทบของการปฏิบัติ และมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง

7.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
- การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของที่ดินอาคารและอุปกรณ์
- ปัญหาการแลกเปลี่ยนและการตีราคาสินทรัพย์
- การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบบัญชี
- มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่นักบัญชีควรระมัดระวัง
ในการปิดบัญชี

8.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
- การตั้งประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นแนวปฏิบัติที่สำคัญ
ผลกระทบและจุดที่ต้องพิจารณาในการตั้งประมาณการ

9.มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับ
- ข้อแตกต่างของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
กับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ บทที่ 18 รายได้ บทที่ 19
การรับรู้รายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ บทที่ 20 สัญญาก่อสร้าง
- ข้อควรระมัดระวังใน 5 ขั้นตอนในการพิจารณารับรู้รายได้ มาตรฐานรายงานทางการเงิน
ฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

10.คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องกรอกข้อมูล ผ่าน Google Forms
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ีระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
4. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
5. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand)หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
6. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายในวันถัดไปหลังเสร็จสิ้นการอบรม
*** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) ***

เงื่อนไขการเข้าอบรมผู้ทําบัญชีสามารถนับชั่วโมง CPD ได้ ผู้สอบบัญชีนับชั่วโมง
ไม่เป็นทางการ

ผู้ทำบัญชี
1.ผู้ทําบัญชีสามารถใช้อัตราชั่วโมงการอบรมตามจริงจํานวน 1.5 ชม.
แทนการนับชั่วโมง CPD ได้จํานวน 1 ชม.
2.ผู้เข้าสัมมนาต้องแนบรูปถ่ายหน้าตรงคู่กับบัตรประชาชน ใน Google forms
3.ผู้เข้าสัมมนาต้องเปิดกล้องตลอดระยะเวลาการอบรม และไม่ควรกดออกจากโปรแกรม
4.เจ้าหน้าที่จะ Capture หน้าจอผู้เข้าสัมมนาทุกคน
* หลักสูตร 3 ชั่วโมง Capture หน้าจอ 2 ครั้ง ก่อนอบรมและสิ้นสุดการอบรม
* หลักสูตร 6 ชั่วโมง Capture หน้าจอ 4 ครั้ง
ช่วงเช้า ก่อนการอบรม และจบการอบรมช่วงเช้า
ช่วงบ่าย ก่อนการอบรม และสิ้นสุดการอบรม
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1.ผู้สอบบัญชีสามารถนับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้ ตามจำนวนชั่วโมงที่เข้าอบรมจริง
2.ผู้เข้าสัมมนาต้องเปิดกล้องตลอดระยะเวลาการอบรม และไม่ควรกดออกจากโปรแกรม
3.เจ้าหน้าที่จะ Capture หน้าจอผู้เข้าสัมมนาทุกคน
* หลักสูตร 3 ชั่วโมง Capture หน้าจอ 2 ครั้ง ก่อนอบรมและสิ้นสุดการอบรม
* หลักสูตร 6 ชั่วโมง Capture หน้าจอ 4 ครั้ง
ช่วงเช้า ก่อนการอบรม และจบการอบรมช่วงเช้า
ช่วงบ่าย ก่อนการอบรม และสิ้นสุดการอบรม

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
นับได้ 4 ชม. ตามการเข้าอบรมจริง (1.5 ชม. ทดแทน 1 ชม.) ไม่เป็นทางการ (นับชั่วโมงได้ตามจำนวน ชม. การเข้าอบรมจริง)

วิทยากร

อาจารย์วิทยา เอกวิรุฬห์พร

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี นับชม.ได้ตามจำนวนการเข้าอบรมจริง 1.5 ชม. ทดแทน 1 ชม.)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba