เจาะ 132 เกณฑ์ (RBA) การตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่สรรพากรยุคดิจิทัล (การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากระบบ Data Analytics)

รหัสหลักสูตร : 21/17036

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

เจาะ 132 เกณฑ์ (RBA) การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่สรรพากรยุคดิจิทัล

  • ด่วน!! 10 จุดเสี่ยงต้องระวัง!! การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากระบบ Data Analytics
  • Hot issue!! ตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอม โทษหนัก เสี่ยงติดคุก!! หากใช้ใบกำกับภาษีปลอมในกิจการ ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
  • ประเด็นต่อประเด็น เครื่องมือดักจับการเสียภาษีไม่ถูกต้อง
  • แต่ละเกณฑ์มีหลักการและจุดตรวจจับอย่างไร
  • จุดที่นักบัญชีต้องระวัง และวางแผน
  • การตรวจสอบสํานักงานบัญชีของเจ้าหน้าที่สรรพากรด้วยระบบใหม

หัวข้อสัมมนา

  1. วิธีการคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับละตรวจสอบ
  2. การคัดกรองผู้เสียภาษีที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าเสียภาษีไม่สอดคล้องกับรายได้ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
  3. การตรวจจากฐานความเสี่ยง RBA
    • เกณฑ์ความผิดปกติทั่วไปที่ใช้กับทุกประเภทกิจการ
    • เกณฑ์ความผิดปกติเฉพาะประเภทกิจการ
    • เกณฑ์อัตราส่วนทางการเงินต่างๆที่สำคัญ
  4. เจาะประเด็นสำคัญใน 132 เกณฑ์ (RBA)
    • คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่มีการแบ่งเงินส่วนแบ่งกำไรหรือมีการแบ่งเงินส่วนแบ่งกำไร แต่ไม่ได้นำไปเป็นเงินได้ของผู้เป็นหุ้นส่วน
    • รายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มการบันทึกบัญชีด้วยเงินสด
    • มีข้อมูลภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย แต่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการหรือแสดงเงินได้ไม่ครบถ้วน
    • กิจการใช้เงินสดในการชำระรายการค้าทุกรายการ
    • การตั้งวงเงินสดย่อยเพื่อใช้ในจำนวนที่สูงมาก และมีเพียงใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดเป็นหลักฐาน
    • รายการเงินสดอยู่ในความครอบครองกรรมการจำนวนมาก
    • ไม่มีการกระทบยอดเงินสด
    • มีลูกหนี้การค้า และลูกหนี้อื่นสูง
    • เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
    • การให้กู้ยืมไม่คิดดอกเบี้ย
    • สินค้าคงเหลือต้องไม่สูงหรือต่ำเกินปกติ
    • รายงานสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับสินค้าที่มีอยู่จริง
    • กิจการไม่มีของเสียหาย ของมีตำหนิ และเศษซากคงเหลือในรายงานฯ และไม่มีการออกใบกำกับภาษีขาย
    • รายการสินทรัพย์ไม่สัมพันธ์กับการเกิดรายได้ของกิจการ - แสดงสินทรัพย์ไว้สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง
    • การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
    • การใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาตามนโยบายบัญชีไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางภาษี
    • กิจการบันทึกสินทรัพย์ที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางภาษี
    • เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน - การหักกลบลบหนี้ กับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
    • มีรายการเจ้าหนี้การค้าสูงไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง - มีรายการเจ้าหนี้การค้าต่ำ เนื่องจากไม่บันทึกรายการซื้อที่เกิดขึ้น
    • กิจการไม่มีเงินกู้ยืมกรรมการจริง
    • มีรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง
    • แสดงมูลค่าทุนจดทะเบียนไว้ครบตามจำนวน แต่ข้อเท็จจริงได้รับชำระค่าหุ้นไม่ครบ โดยไม่ได้รับรู้เป็นลูกหนี้ค่าหุ้นค้างชำระ และไม่ได้คิดดอกเบี้ย
    • กำไรสุทธิ-กำไรขั้นต้นต่ำเกินไป
    • รายได้ที่แสดงในงบการเงินไม่สัมพันธ์กับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
    • รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (out of vat scope) แต่ไม่นำมาบันทึกเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
    • มีรายได้จากการส่งเสริมการขาย แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้
    • มีรายได้ค่าโฆษณาจากการแลกเปลี่ยนการให้บริการระหว่างกัน แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้ของกิจการ (Barter)
    • มีการขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ หรือของเสียจากกระบวนการผลิตแต่ไม่รับรู้เป็นรายได้
    • การจำหน่ายสินทรัพย์ แต่ไม่รับรู้เป็นรายได้
    • ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดเป็นหนี้สูญแล้ว แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้
    • ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้
    • มีการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าสูงเกินกว่าความเป็นจริงหรือธรรมเนียมปกติทางการค้า
    • ความผิดปกติด้านต้นทุนขาย/บริการ
    • กิจการมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่มีรายได้ที่ลดลง
    • บันทึกรายการซื้อสินค้าสูง/ต่ำกว่าข้อเท็จจริง
    • ไม่มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุน เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายของพนักงานทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้น
    • มีรายการค่านายหน้า ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายพนักงานสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของกิจการ
    • มีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าแรง ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา
    • บันทึกดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการได้มาซึ่งสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี
    • การกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 ภ.ง.ด.51
    • งบการเงิน
  5. เมื่อติดเกณฑ์ความเสี่ยง RBA แล้วสรรพากรดำเนินการดังต่อไปนี้ จะต้องเตรียมรับมืออย่างไร
    • ตรวจปฏิบัติการ
    • ตรวจแนะนำ
    • การเชิญพบ
    • ถูกออกหมายเรียก
  6. Case studies การเตรียมเอกสารเพื่อประกอบคำชี้แจง!! ทางออกจากผู้มีประสบการตรงในการตรวจสอบภาษี
    • การจัดเก็บข้อมูลต้นเรื่อง
    • การจัดทำแฟ้มข้อมูลผิดปกติ
    • การจัดทำกระดาษทำการ
    • มองรอบด้านผลกระทบทางภาษีจากการทำเอกสารย้อนหลัง
  7. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba