การจัดทำบัญชีเพื่อออกงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

รหัสหลักสูตร : 21/2925

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การจัดทำบัญชีเพื่อออกงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.

 

วิทยากรโดย อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

หัวข้อสัมมนา

1.ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินที่ต้องจัดทำ ตามกฎหมายให้สมบูรณ์นั้นมีอะไรบ้างและนักบัญชีมืออาชีพ
ควรปฏิบัติในการจัดทำงบการเงินเพื่อการจัดการ
2.มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและการออกงบการเงินในปัจจุบันที่นักบัญชีต้องทราบ
3.อะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำในงบการเงิน
4.งบการเงินสามารถบอกอะไรได้บ้าง และจุดสังเกตสัญญาอันตรายที่ต้องรีบแก้ไข
5.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินที่สรรพากรมักเรียกตรวจสอบมีประเด็นอะไรบ้าง
6.งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน จุดสำคัญ ที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
7.ความแตกต่างระหว่างกำไร(ขาดทุน)ทางบัญชีและกำไร (ขาดทุน)ทางภาษี ที่นักบัญชีต้องทราบ
8.ข้อมูลสำคัญ วันปิดบัญชีของกิจการภาระภาษีอะไรบ้างที่ต้องระวัง
9.ปัญหาความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกำไรสุทธิ
10.เทคนิคการกระทบยอดคงเหลือตามงบแสดงฐานะทางการเงินตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปีให้ถูกต้องแม่นยำ
11.ภาระภาษีที่นักบัญชีไม่ควรมองข้ามที่เกี่ยวข้องในวันสิ้นรอบบัญชีกิจการมีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ต้อง
ระมัดระวัง และประเด็นที่มักถูกประเมิน และการวางแผนที่สอดคล้องกับหลักการทางด้านภาษี
12.จัดสังเกตข้อผิดพลาดเกี่ยวข้องกับงบการเงิน และวิธีการแก้ไขในงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
รายงานทางการเงิน
13.เทคนิคการตรวจสอบเอกสารและประเด็นเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินที่เกี่ยวข้องทำอย่างไรให้สามารถใช้
เป็นหลักฐานทางการบัญชีและภาษี
14.จุดที่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับรายได้ที่มักถูกประเมิน และแนวปฏิบัติให้ถูกต้องและสรรพากรยอมรับ
และการจัดทำระบบบัญชีเพื่อการควบคุมการพิสูจน์รายได้ครบถ้วน
15.รายได้จากการขายสินค้าและให้บริการที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
16.เมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายเศษซาก หรือ เศษวัสดุประเด็นภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
17.พนักงาน กรรมการ กู้ยืมเงิน บริษัทในเครือ จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
การบัญชี และให้สรรพากรยอมรับ
18.รายได้ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยจะรับรู้เป็นรายได้ทางบัญชีเมื่อใด
19.ค่าปรับหรือดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระเงินหรือส่งของล่าช้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส่วนนี้ทางบัญชีจะจัดการอย่างไร
20.การขายสินค้าหรือให้บริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดหรือขายขาดทุนทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมิน
21.การตีราคาสินค้าคงเหลือ สินค้าตกรุ่น ล้าสมัย ทางบัญชีต้องดำเนินการอย่างไรและลงค่าใช้จ่ายในการบันทึกบัญชี
ได้ทั้งจำนวนหรือไม่
22.จุดสำคัญมากที่เกี่ยวข้องกับประเด็นรายได้อื่นที่กิจการต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต้องทำอย่างไรให้ถูกต้อง
ตามมาตรฐานการบัญชี
23.ปัญหาการบันทึกบัญชีรายได้ รายจ่ายตามเกณฑ์คงค้าง เกณฑ์สิทธิ และการบันทึกบัญชีข้ามเดือนจะมีผลกระทบ
อย่างไร และต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี พร้อมเทคนิคการตรวจเช็คย้อนหลัง
24.ประเด็นปัญหาด้านรายจ่ายที่มักถูกสรรพากรเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เกิดขึ้นในกรณีใดบ้างนักบัญชีต้องรับมืออย่างไร
และต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
25.ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในรูปแบบใดที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญ
26.เมื่อกิจการถูกประเมินจากรายจ่ายต้องห้ามแล้ว นักบัญชีต้องปฏิบัติต่อไปอย่างไร
27.ทำอย่างไรให้รายจ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นรายจ่ายได้ คำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามไม่ต้องบวกกลับ
28.ปัญหาใหญ่เกี่ยวกับประเด็นรายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หา ที่มักเกิดความผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน จะมี
แนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไรให้ถูกต้องทั้งหลักมาตรฐานการบัญชีและสรรพากรยอมรับ
29.รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประกันรถยนต์ รถประจำตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
30.ค่าซ่อมรถ ค่าเปลี่ยนยาง เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนอะไหล่ เปลี่ยนแบตเตอรี่ จัดการอย่างไรกับค่าใช้จ่ายส่วนนี้
31.ปัญหาสวัสดิการพนักงานและ ผลประโยชน์พนักงาน ที่เกี่ยวข้องถือเป็นรายจ่ายได้และภาษีซื้อขอคืนได้ ต้องปฏิบัติ
อย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
32.ปัญหาค่าใช้จ่ายสวัสดิการพนักงาน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการหรือเป็นรายได้ของพนักงาน
33.หลักเกณฑ์การคำนวณค่าการกุศลสาธารณะและรายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬามีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง
หากกิจการประสบผลขาดทุนจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
34.การเก็บรายละเอียดประกอบงบการเงิน เตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสอบจากสรรพากร
35.กิจการจะรับรองลูกค้าอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องบวกกลับ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเมื่อสิ้นรอบบัญชี
กิจการจะต้องพิจารณาประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้อง และเลี้ยงรับรองอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ถูกต้อง
36.หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการส่งเสริมการขายให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมินและถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
37.การให้ของขวัญของชำร่วยการให้ส่วนลดสินค้า หรือส่วนลดพิเศษบางรายการ ของแจก ของแถม ทางบัญชีต้อง
ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและสรรพากรยอมรับ
38.รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
39.รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
40.รายจ่ายบิลเงินสดที่ไม่มีชื่อผู้ขาย จะปฏิบัติอย่างไรไม่ให้ถูกสรรพากรประเมิน
41.เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รายการส่วนนี้ทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้าม และสรรพากรยอมรับ
42.ประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องกับภาษีซื้อต้องห้ามต้องบวกกลับทุกกรณีหรือไม่ มีกรณีใดที่ถือเป็นรายจ่ายได้
43.สินทรัพย์มูลค่าเล็กน้อยที่นโยบายให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี จะดำเนินการอย่างไรในการคำนวณภาษีเงินได้
44.ค่าเสื่อมราคาที่ไม่สอดคล้องกับพรก.145 ต้องปฏิบัติย่างไร
45.ผลขาดทุนสะสมยกมาทางบัญชีต้องแนวปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
46.ประเด็นสินทรัพย์ทีกิจการต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
47.ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น แนวปฏิบัติในการตัดจำหน่ายหนี้สูญและการตั้งค่าเผื่อ ณ วันปิดงบการเงินทำอย่างไรให้
สรรพากรยอมรับ
48.เงินลงทุนชั่วคราว หรือเงินลงทุนระยะสั้น จะต้องตีราคา ณ วันสิ้นรอบบัญชีหรือไม่ มีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างไร
49. เทคนิคการตรวจนับสต็อกสินค้า กระทบยอดบัญชีกับสินค้าในสต๊อก ให้ตรง ถูกต้อง
50.สินค้าคงเหลือปัญหาการตรวจนับขาดหรือเกินไม่ตรงกับบัญชี นักบัญชีจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
51.การปรับปรุงรางงานและการปิดบัญชี สต๊อกสินค้าที่ถูกต้องและทันเวลา
52.การทำลายสินค้าและวัตถุดิบ มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องมาตรฐานการบัญชีและทางภาษี
53.ประเด็นที่สำคัญทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ นั้นต้องปฏิบัติอย่างไร
54.ประเด็นปัญหาที่นักบัญชีต้องระวัง ทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่ต้องให้ความสนใจ
เป็นพิเศษที่มักถูกสรรพากรประเมินมีอะไรบ้าง
55.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์หรือไม่และมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไร
56.ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร
57.บริษัทมีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางบัญชีจะใช้ราคาอะไรบันทึกบัญชีและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาระภาษีที่ตามมา
นั้นมีอะไรบ้างและจะต้องปฏิบัติอย่างไร
58.ประเด็นความผิดพลาดในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ นักบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร
59.ประเด็นความผิดพลาดในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ที่สรราพากรมักจะประเมินมีอะไรบ้าง
ที่นักบัญชีต้องทราบ
60.เงินลงทุนระยะยาวหากมีการลดทุนเกิดผลขาดทุนจากเงินลงทุนจะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
61.ประเด็นปัญหาหนี้สินของกิจการที่ต้องระมัดระวังนั้น มีอะไรบ้างและแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้ถูกประเมิน
62.ปัญหาของ เงินมัดจำหรือเงินลวงหน้า ความผิดพลาดที่นักบัญชีต้องระมัดระวัง
63.การคำนวณการหัก ณ ที่จ่าย ภงด. 3,53 การจ่ายเงินเดือนพนักงาน การกรอกแบบ ภงด. 1และแบบฟอร์ม
ประกันสังคม และการบันทึกบัญชีการจ่ายเงินเดือน ที่มีประสิทธิภาพ
64.การจัดเตรียมเอกสารส่งผู้สอบบัญชี
65.การประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติทางบัญชีและภาษี
66.ประเด็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียนที่กิจการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษและต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
ตามมาตรฐานการบัญชี
67.ประเด็นที่ต้องระมัดระวังในส่วนของเจ้าของ
68.การตั้งสำรองสินค้าล้าสมัย ทำอย่างไรให้เหมาะสม ไม่เสียหาย
69.วิธีการทางบัญชีในการบันทึกราคาสินค้า สินค้าชนิดเดียวกันแต่ราคาทุนต่างกันใช้รหัสสินค้าร่วมกันได้หรือไม่
จะมีปัญหาอย่างไร
70.การกระทบยอดรายได้ใน ภ.ง.ด. 50 กระทบ ภ.ง.ด. 30 ภ.ง.ด. 53 ของแต่ละเดือนเพื่อไม่เป็นการสะสม
ปัญหาไปถึงปลายปี
71.การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และการปรับปรุงบัญชีให้กูกต้องตามาตรฐานการบัญชี
72.การจัดทำรายงานยื่นหน่วยราชการสิ้นปี กรอบแบบภ.ง.ด.50 แบบสบช.3 บอจ.5
73.สิ่งที่นักบัญชีต้องจัดการทุกสิ้นเดือน เพื่อลดความผิดพลาด ทั้งด้านการบันทึกบัญชีและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
74.การจัดทำและติดตามเอกสารประกอบการเบิกจ่าย การรับเงินที่ต้องมีเมื่อผู้สอบบัญชีและสรรพากรขอตรวจสอบ
75.การปรับปรุงกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และข้อควรระวังเพื่อป้องกันความผิดพลาด
76.การตั้งประมาณการหนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มีแนวปฏิบัติอย่างไร
77.กรรมการบริษัท พนักงานบริษัท ยืมเงินบริษัทแล้วหนีหาย บริษัทจะตัดบัญชีเป็นหนี้ศูนย์เลยได้หรือไม่ และต้อง
ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
78.Update รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายต้องห้ามและการปรับปรุงรายจ่าย
ในแบบ ภ.ง.ด 50
79.รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - รายได้จากค่าปรับ ค่าสินไหมทดแทน ดอกเบี้ย เงินปันผล
80.รายได้รอบบัญชีอื่น แต่รับมาในรอบบัญชีที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด 50
81.การใช้เครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมกรณีการขอคืนอย่างปลอดภัย
82.หมายเหตุหน้างบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบันทึกไว้กรณีใดที่จะมีผลให้ถูกสรรพากรตรวจสอบหรือไม่
83.มูลค่าคงเหลือหรือราคาซากสินทรัพย์ นักบัญชีจะต้องจัดการอย่างไร
84.สินทรัพย์เช่าการเงินมีความแตกต่างทางบัญชีอย่างไร
85.การปรับปรุงสินทรัพย์จะทำอย่างไรระหว่างบันทึกบัญชีมูลค่าต้นทุนเพิ่ม หรือตัดเป็นค่าใช้จ่าย
86.หาสิทรัพย์ไม่พบจะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องที่สุด
87.เจ้าหนี้ค้างชำระมานาน ติดตามไม่ได้ หรือไม่ได้ติดตาม จะแก้ไขปัญหานี้ให้ถูกต้องอย่างไร
88.จุดสำคัญอื่นๆ ที่จะทำให้การจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงิน เกิดปัญหาต่อความถูกต้อง
89.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba