เจาะลึกการวางแผนภาษีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

รหัสหลักสูตร : 21/2401

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,350 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 6,099 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อสัมมนา

1. การวางแผนภาษีในการทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง

1.1 กิจการรับเหมาก่อสร้างต้องทำสัญญาทุกครั้งหรือไม่

1.2 สัญญารับเหมาก่อสร้างต้องเสียอากรแสตมป์มีหลักเกณฑ์อย่างไร

1.3 หากกิจการทำ “ใบสั่งซื้อ (Purchase Order)” ถือเป็นสัญญาหรือไม่ ต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่

1.4 รับเหมาก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน ต้องเสียอากรแสตม์หรือไม่

1.5 รับเหมาก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้านจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% หรือ 0% มีหลักเกณฑ์อย่างไร

1.6 การวางแผนภาษีในการแยกสัญญารับเหมาก่อสร้างอย่างไรให้ได้รับประโยชน์ทางภาษีอากรมากที่สุด

1.7 หากผู้รับเหมาเฉพาะค่าแรง แต่วัสดุก่อสร้างผู้ว่าจ้างซื้อเองจะวางแผนภาษีอย่างไรให้ประหยัด

1.8 สัญญาเช่าที่ดินแล้วก่อสร้างอาคารกรรมสิทธิยกให้เจ้าของที่ดินควรวางแผนภาษีอย่างไร

1.9 ก่อสร้างบนที่ดินที่เช่า แล้วนำอาคารไปให้เช่าต่อจะวางแผนภาษีอย่างไรให้ได้รับประโยชน์ทางภาษีสูงสุด

1.10 การวางแผนภาษีสัญญาของผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contract) ควรวางแผนภาษีอย่างไรให้ประหยัด

1.11 การวางแผนภาษีสัญญาของผู้รับเหมาสร้างบ้านรายย่อย หรือ รับต่อเติมบ้าน

1.12 ก่อสร้างไม่เสร็จเนื่องจากผู้ว่าจ้างขอยุติงานก่อสร้าง กิจการควรปฏิบัติอย่างไรในทางภาษีอากร

2. การวางแผนภาษีเงินได้

2.1 บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลเมื่อทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภาระภาษีมีอย่างไร ควรวางแผนภาษีอย่างไรในเรื่องของรายได้

2.2 การวางแผนภาษีการเลือกการรับรู้รายได้ให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด

2.3 รายได้ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างต้องเสียภาษีเงินได้ทุกประเภทหรือไม่ มีอะไรบ้างที่ยกเว้นไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.4 กิจการจะวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยจัดทำธุรกิจ SMEs ดีหรือไม่

2.5 มีรายได้อะไรบ้างที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างต้องระมัดระวัง และมักถูกประเมิน

2.6 กิจการให้กรรมการ พนักงาน หรือบริษัทในเครือกู้ยืมเงินมีภาระภาษีอะไรบ้าง ต้องถือเป็นรายได้อย่างไร

2.7 นำเครื่องมือก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างไปใช้ก่อสร้างบ้านผู้บริหารต้องถือเป็นรายได้หรือไม่

2.8 หากกิจการทำความเสียหายให้กับสถานที่ใกล้เคียงไซด์งาน ต้องมีการนำวัสดุก่อสร้างไปซ่อมแซมจะถือเป็นรายได้ของกิจการหรือไม่

2.9 การขายเศษวัสดุก่อสร้าง เช่น เศษเหล็ก กิจการจะต้องนำมาถือเป็นรายได้หรือไม่ ภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง

2.10 การวางแผนภาษีค่าใช้จ่าย มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้สรรพากรยอมรับ

2.11 บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงินที่ไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร

2.12 ใบกำกับภาษีชื่อของกิจการแต่ที่อยู่เป็นของไซด์งานขอคืนได้หรือไม่

2.13 กิจการจ่ายค่าแรง เงินเดือน ค้าจ้างให้กับพนักงานคนไทย คนต่างด้าวจะทำอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้

2.14 การจ่ายค่าจ้างวิศวกร สถาปนิก จะถือเป็นเงินได้ประเภทใด

2.15 กิจการรับเหมาก่อสร้างจะต้องวางแผนภาษีระมัดระวังรายจ่ายต้องห้ามอย่างไร ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องบวกกลับ

2.16 ค่ารับรอง ค่าพาหนะเดินทาง รายจ่ายส่วนตัว ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด กิจการควรจะวางแผนภาษีอย่างไรให้ถูกต้องและถือเป็นรายจ่ายได้

2.17 ถูกผู้ว่าจ้างปรับเนื่องจากทำงานล่าช้า จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

3. การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.1 การวางแผนภาษีในการออกใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินของกิจการรับเหมาก่อสร้าง

3.2 การเรียกเก็บเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่

3.3 การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไร

3.4 ไซด์งานก่อสร้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

3.5 หากมีภาษีซื้อเกิดขึ้นที่ไซด์งานก่อสร้างจะขอคืนที่ใด

3.6 การวางแผนภาษีในการขอภาษีซื้อคืนหรือเครดิตภาษีขาย และภาษีซื้อต้องห้ามที่ต้องระมัดระวัง

3.7 การแยกสัญญาขายวัสดุก่อสร้างกับสัญญาค่าแรงออกจากกัน ผลกระทบต่อการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.8 ผู้รับเหมาช่วงทำสัญญารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าวัสดุ แต่ขอยืมวัสดุก่อสร้างจากกิจการ มีภาระภาษีหรือไม่

4. การวางแผนภาษีหัก ณ ที่จ่าย

4.1 การแยกสัญญาค่าวัสดุก่อสร้าง กับ สัญญาค่าแรงรับเหมา หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

4.2 กิจการรับเหมาก่อสร้างประเภทใดที่ได้รับยกเว้นไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

4.3 การวางแผนภาษีการเช่าที่ตั้งบ้านพักคนงาน หรือ ไซด์งานก่อสร้างทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง

4.4 มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่กิจการจ่ายไปแล้วไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

4.5 จ้างคนต่างด้าวมาทำเป็นคนงานก่อสร้าง ผู้ควบคุมงาน หัวหน้างานมีหลักเกณฑ์หักภาษีอย่างไร

4.6 เช่านั่งร้าน พร้อมขนส่ง จะหักภาษีอย่างไร

4.7 ซื้อวัสดุก่อสร้าง พร้อมขนส่งจะหักภาษีอย่างไร

4.8 จ้างรถขุด รถตัก พร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร

5. เทคนิคในการชำระและการใช้แง่มุมทางกฎหมายภาษีให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ

5.1 ทรัพย์สินชำรุดใช้การไม่ได้ มีวิธีตัดจำหน่ายอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

5.2 ทรัพย์สินหักค่าเสื่อมราคาแล้วเหลือ 1 บาท จะตัดออกจากบัญชีได้หรือไม่

5.3 กิจการซื้อเครื่องมือก่อสร้างลืมหักค่าเสื่อมราคา จะนำมาหักย้อนหลังได้หรือไม่

5.4 กรณีว่าจ้างชาวต่างประเทศ เป็นผู้ควบคุมดูแลงานจะต้องหักภาษีอย่างไร

5.5 การก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ แต่ต่อมาได้ให้เช่าหนือขายออกไปต้องปฏิบัติอย่างไร

5.6 วิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีที่ได้รับว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่จะวางแผนภาษีอย่างไร

5.7 ผู้ว่าจ้างยกเลิกสัญญาก่อสร้างไม่สร้างต่อกิจการรับรู้รายได้อย่างไร

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมบูเลอวาร์ด กรุงเทพ
2 ซ.5 ถ.สุขุมวิท แขวง คลองเตย เขต วัฒนา กทม.
โทรศัพท์ :
02 2552930
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba