30 Case Studies 30 เทคนิควิธีการจัดการกับลูกหนี้เจ้าปัญหา

รหัสหลักสูตร : 21/7289

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 3,745 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,494 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

30 Case Studies 30 เทคนิควิธีการจัดการกับลูกหนี้เจ้าปัญหา

  • การติดตามหนี้ต้องใช้ทั้งทักษะและประสบการณ์สิ่งที่พนักงานติดตามหนี้พบอยู่เสมอ คือ ลูกค้าชอบหาเหตุมาอ้างและไม่ยอมชำระหนี้หรือพบตัวลูกค้ายาก ปัญหาที่พบบ่อยคือติดต่อลูกค้า ไม่ได้หรืออาจจะติดต่อลูกค้าได้แต่จะลูกค้าผลัดผ่อนการชำระหนี้หรือพูดจาบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้เมื่อผู้ เข้าฝึกอบรมพบปัญหาเหล่านี้ต้องหาวิธีรับมือและแก้ไขปัญหา “ทำอย่างไรให้ลูกหนี้ยอมเจรจาและยอม ชำระหนี้” ตามเงื่อนไข จึงเป็นสิ่งจำเป็นทีผู้เข้าฝึกอบรมต้องเรียนรู้ทักษะต่างๆเหล่านี้เพื่อเรียกเก็บเงิน ค่าสินค้าให้ได้ปัญหาหนี้เสียก็จะลดน้อยลง หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาโดยมีเนื้อหาในข้อกฏหมายที่ เกี่ยวข้องกับการติดตามหนี้ให้ผู้เข้าฝึกอบรมเรียนรู้และทราบแนวทางตั้งรับเพื่อป้องกันไม่ให้ผิด พ.ร.บ.การติดตามหนี้ที่เป็นธรรม รวมถึงทราบโครงสร้างและขั้นตอน ขบวนการติดตามหนี้จนถึงขั้น ตอนสืบทรัพย์บังคับคดีขายทอดตลาด หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ทางบริษัทฯมีแนวทางดำเนินการต่อ อย่างไร เพื่อติดตามบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในหลักสูตรนี้ได้กล่าวถึง 30 วิธีที่จะนำมาใช้เพื่อจัดการ และแก้ไข “ลูกหนี้เจ้าปัญหา”ซื้อแล้วไม่ยอมชำระหนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาศึกษาความเป็นไปได้ของ ลูกค้าแต่ละสไตล์หรือแต่ละประเภทของปัญหา ที่เราต้องนำวิชาที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้มาใช้ เพื่อติดตามหนี้กับลูกหนี้ซึ่งมีพื้นฐานและปัญหาที่แตกต่างกัน รวมถึง ทราบวิธีการโน้มน้าวเกลี้ยกล่อม หรือ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงต้องรู้จัก วิธีรับมือลูกค้า โดยนำทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skills) มาประยุกต์และใช้กับลูกค้าในแต่ละสไตล์หลักเกณฑ์ต่างๆจากการฝึกอบรมครั้ง นี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะสามารถนำจุดแข็งไปใช้ได้และขจัดข้อโต้แย้งจากลูกค้าได้โดยการนำทักษะในการ เจรจาต่อรองเข้าช่วยแก้ไขสถานการณ์และไม่เปิดช่องว่างหรือจุดอ่อนให้ลูกค้านำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อ บ่ายเบี่ยงการชำระหนี้ในภายหลัง
  • ดังนั้นการผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถนำกลยุทธเคล็ดลับและการเจรจาติดตามหนี้ที่ได้ผล มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการไขแก้ปัญหาที่เรียนรู้มาจากในหลักสูตรนี้มาใช้อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น ประสบการณ์และสามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้เจ้าปัญหาเหล่านั้น เพื่อจะได้ไม่มีหนี้เสียหรือไม่ก่อให้ เกิดหนี้สูญและส่งผลให้การจัดเก็บหนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรจะมีสภาพคล่อง และ มีกำไรใน ที่สุด เรียกว่า บริษัทฯได้ “ทั้งเงิน และ ได้ทั้งใจ” ลูกค้า อีกด้วย
หัวข้อสัมมนา

1. ทักษะในการเจรจาต่อรอง เพื่อนํามาใช้ในการติดตามเร่งรัดหนี้สิน
* อำนาจในการต่อรอง
* การเตรียมตัวเป็นขั้นตอนการเตรียมพร้อม ก่อนเจรจาติดตามหนี้
* เราต้องใช้ทักษะในการเจรจาอย่างไร? > จึงจะดี !?
* ข้อควรระวัง! ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเจรจา
2. กฏหมายที่ต้องทราบเกี่ยวกับการติดตามหนี้
* แหล่งข้อมูลที่จะนำมาสืบเสาะหาลูกหนี้ที่ย้ายหนีหรือย้ายที่อยู่ใหม่
* Update หลักเกณฑ์และวิธีการทวงหนี้ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง ภาค บังคับคดี (ฉบับที่ 30) บังคับใช้ 4 ก.ย. 60
* โครงสร้างกระบวนการติดตามหนี้ > ฟ้องคดี > สืบทรัพย์ > บังคับคดี > ยึดทรัพย์ > ขายทอดตลาด
* ตามหนี้อย่างไรไม่โดนฟ้องกลับ
3. 30 Case studies และเทคนิควิธีการที่จะนํามาใช้เพื่อจัดการและแก้ไข “ลูกหนี้เจ้าปัญหา” ซื้อแล้วไม่ยอมชําระหนี้ (ตัวอย่างจากประสบการณ์จริงของวิทยากร)
1. ลูกหนี้ชอบผลัด
2. ลูกหนี้ชอบบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้
3. ลูกหนี้พบตัวยาก > หลบหน้า
4. ลูกหนี้อ้างว่า บริษัทอื่นยังให้จ่ายช้าได้เลย ไม่เห็นเขาส่งพนักงานมาติดตามขนาดนี้
5. ลูกหนี้ทำงานไม่เป็นหลักแหล่งอยู่ไม่เป็นที่
6. ลูกหนี้ที่อยู่ต่างจังหวัดไกล และโอนเงินมาชำระบางส่วน หรือไม่ยอมโอนเงินมาชำระค่าสินค้า
7. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ตรงตามกำหนด หรือล่วงเลยเกินเวลาอันสมควร
8. ไปไม่พบลูกหนี้แต่พบญาติของลูกหนี้ฝากเรื่องให้ลูกหนี้ติดต่อกลับไว้กับญาติแต่ลูกหนี้ไม่ยอมติดต่อกลับ
9. ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ
10. ลูกค้า ใจร้อน > คุยไม่ค่อยรู้เรื่อง และชอบโวยวาย
11. ลูกหนี้ไม่มีเงินชำระ เพราะกิจการไม่ดีหรือช่วงนี้ค้าขายไม่ดี
12. ลูกหนี้ไม่ค่อยเชื่อใจ เพราะเปลี่ยนพนักงานเก็บเงินบ่อย
13. พนักงานเก็บเงินไม่ได้ตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้
14. ลูกค้าแจ้งว่ายังไม่ครบกำหนดชำระแต่มีพนักงานมาตามเก็บเงิน
15. บริษัท ออกจดหมายเตือนลูกหนี้ให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่พอพนักงานออกตามลูกหนี้จะอ้างว่ายังไม่ครบกำหนด 30 วัน แล้วมาตามทำไม ?
16. ลูกหนี้มีเจตนาหลบเลี่ยง
17. การคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ลูกหนี้จะไม่เข้าใจวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่คิดทบต้นในแต่ละเดือน
18. ลูกหนี้มีหนี้สินอื่นบางเดือนจึงไม่สามารถชำระหนี้ได้
19. ลูกค้าอ้างว่า ตามเก็บเช็คจากลูกค้าของเขาเองไม่ได้จึงขอผลัด หรือขอจ่ายเช็คข้ามเดือนมาให้
20. ลูกหนี้จะไม่เข้าใจถึงระเบียบการทำงานของบริษัทในการติดตาม ทวงถามหนี้
21. ออกจดหมาย โนติสลูกหนี้ก็ไม่ค่อยจะยอมมาบริษัท บางครั้งถึงขั้นบอกเลิกสัญญาลูกหนี้ก็ยังไม่มาติดต่อ
22. ลูกหนี้เอาแต่ใจตัวเอง พูดจาไม่ไพเราะ
23. เมื่อพนักงานไปติดตามหนี้ลูกหนี้มักจะมีปฎิกิริยาตอบสนองที่ไม่ค่อยดีต่อพนักงาน
24. ลูกหนี้ที่มีอิทธิพล มีเฉพาะบางคนที่จะไม่พอใจหากมีผู้ไปติดตามเก็บเงินแม้นเขามีเงินก็จะไม่ยอมจ่าย
25. ลูกหนี้คุยกันไม่รู้เรื่อง
26. ลูกค้ามักจะมีข้อเปรียบเทียบระหว่างบริษัทเกี่ยวกับการขอเอกสาร และทำการสัญญาซื้อขาย
27. การประสานงานระหว่าง ฝ่ายขายกับฝ่าย AR หรือกับฝ่ายสินเชื่อส่งผลให้ลูกหนี้มีปัญหาหรือไม่?
28. ฝ่ายติดตามเร่งรัดหนี้งานมากเกินไปจนทำให้งานติดตามหนี้ได้น้อยกว่าเป้าหมาย
29. ลูกค้าชอบพูดว่าตอนซื้อขายบริษัทก็อยากจะขายให้พอซื้อมาแล้วมีปัญหาเกิดขึ้นมาทางบริษัทไม่เห็นใจลูกค้า
30. ลูกค้าไม่จ่าย “ท้าให้ฟ้อง”





นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์องอาจ ฉันทสมบัติ

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ เพลินจิต
566 ถ.เพลินจิต แขวง ลุมพินี เขต ปทุมวัน กทม.
โทรศัพท์ :
02 2305 6000
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba