เทคนิคการจัดทำบัญชีแสดงรายรับ รายจ่าย (บช.1) ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย ป.ป.ช.

รหัสหลักสูตร : 21/2797

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้ออบรม

1. สรุปสาระสำคัญของประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของ
โครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
2. ความหมายของการเป็น “คู่สัญญา”
3. ความหมายของคำว่า “รายรับ – รายจ่ายของโครงการ”
4. เงื่อนไขของสัญญาที่ต้องจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1)
(1) สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ “สัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ”
- ความหมายของคำว่า “สัญญา” การทำธุรกรรม หรือนิติกรรมสัญญาลักษณะใดที่จะถือเป็นสัญญา เช่น สัญญา
ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง
- ความหมายของคำว่า “หน่วยงานของรัฐ”
- ประเภทของหน่วยงานของรัฐ ต่างๆ เช่น ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน เป็นต้น
- วิธีพิจารณาว่าหน่วยงานลักษณะใดที่จะถือเป็นหน่วยงานของรัฐ
(2) ความหมาย และวิธีพิจารณาสัญญาใดที่ต้องจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1) และประเภทของสัญญาที่ต้องจัดทำและ
แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1) หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการทำสัญญาทั้งกรณีที่ต้องจัดทำและไม่ต้องจัดทำบช.1
- สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดหาพัสดุ หรือการพัสดุ
- สัญญาสัมปทาน
- สัญญาให้ทุนสนับสนุนเพื่อการวิจัย
- สัญญาให้ทุนสนับสนุนเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(3) มูลค่าสัญญาที่ต้องจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1)
- มูลค่าสัญญาเท่าใดที่ต้องจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1)
- หลักการพิจารณามูลค่าสัญญา เช่น รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เนื่องจากการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐมีทั้งที่รวม
ภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่เป็นใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง จะถือมูลค่าลักษณะรวมหรือแยกแต่ละฉบับ
- หากมีการแก้ไขสัญญาเพิ่มมูลค่าสัญญาต้องทำอย่างไร
(4) วันที่ทำสัญญา
- วันทำสัญญา คือวันใด เช่น วันลงนามในสัญญา หรือวันเริ่มงาน เป็นต้น
- สัญญาที่ต้องจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1)ต้องเป็นสัญญาที่ทำตั้งแต่เมื่อใด
(5) ข้อยกเว้นที่ทำให้คู่สัญญาไม่ต้องจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1)
5. ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีรายรับรายจ่าย (บช.1)
6. วิธีการยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย (บช.1)
7. ระยะเวลาในการยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย (บช.1)
- คู่สัญญาเป็นบุคคลธรรมดา
- คู่สัญญาเป็นนิติบุคคล
8. วิธีการกรอกแบบบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย (บช.1) พร้อมตัวอย่าง
- การกรอกรายการรายรับ รายจ่าย ใช้เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basic) หรือเกณฑ์เงินสด(Cash Basis)
- การกรอกรายการรายรับ รายจ่าย ต้องแยกหรือรวมค่าภาษีต่างๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การกรอกรายการรายรับ รายจ่าย จะต้องมีความสัมพันธ์กับงบการเงิน แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคลหรือไม่
9. การตรวจสอบบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย (บช.1)
(1) กรณีที่ไม่ยื่นหรือไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ
- กรณีใดบ้างที่จะถูกตัดสินว่าเป็นผู้ที่ไม่ยื่นหรือไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ
- บทลงโทษการไม่ยื่นหรือไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ
- ผลของการขาดคุณสมบัติการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
- การขาดคุณสมบัติการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐจะสิ้นสุดเมื่อใด
(2) กรณีที่ยื่นหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญ
- กรณีใดบ้างที่จะถูกตัดสินว่าเป็นการยื่นหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการไม่ถูกต้อง ครบถ้วนในสาระสำคัญ
- บทลงโทษหรือผลของการยื่นหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญ
- การขาดคุณสมบัติการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐเนื่องจากยื่นหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการไม่ถูกต้อง
- ครบถ้วนในสาระสำคัญจะสิ้นสุดเมื่อใด
10. ปัญหาการจัดทำและแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย เช่น การไม่มีเลขคุมสัญญา
11. ถาม - ตอบประเด็นที่สงสัย

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 6:0 0:0

วิทยากร

คุณวิโรจน์ ฆ้องวงศ์

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba