การวางแผนภาษีการจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร และการตั้งสำรองตามกฎหมาย

รหัสหลักสูตร : 21/1818

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

การวางแผนภาษีการจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร และการตั้งสำรองตามกฎหมาย
หัวข้อสัมมนา
1. หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการจ่ายเงินปันผลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.1 การจ่ายเงินปันผล ต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อใด
- หลังปิดงบสิ้นปี - หลังยื่นประมาณการกลางปี
1.2 จ่ายเงินปันผลปีละหลายๆ ครั้งได้หรือไม่
1.3 ถ้ามีการอนุมัติจ่ายเงินปันผลแล้ว ภายหลังจะยกเลิกการจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- กรณียังไม่ได้จ่ายเงินปันผล - กรณีจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นแล้ว
2. ใครคือผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผล
3. บริษัทจะประกาศจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด
4. การจ่ายเงินปันผล สามารถจ่ายเป็นทรัพย์สิน หุ้น หรือทรัพย์สินอื่นๆ นอกจากเงินได้หรือไม่
5. บริษัทต้องตั้งสำรองการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ อย่างไร
- กิจการร่วมค้าต้องตั้งสำรองด้วยหรือไม่
6. การจ่ายเงินปันผลของบริษัททั่วไป กับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
7. การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลต้องทำอย่างไร
1. การลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เมื่อได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไร
2. กรณีบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลเสียภาษี ในอัตรา ยกเว้น, 15%, 20% ผู้รับจะเครดิตเงินปันผลอย่างไร
- การคำนวณเครดิตเงินปันผล - การออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- กรณีจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมโดยไม่ทราบว่ากำไรที่นำมาจ่ายเสียภาษีอัตราใด จะมีแนวทางแก้ไขหรือไม่อย่างไร
3. การรับรู้รายได้และรายจ่ายสำหรับผู้รับเงินปันผลและผู้จ่ายเงินปันผล
- ผู้รับเงินปันผลจะรับรู้รายได้เมื่อใด - ในกรณีที่ไม่ทราบวันที่ปิดสมุดทะเบียนต้องปฏิบัติอย่างไร
4. การยกเว้นภาษีเงินปันผลตามมาตรา 65 ทวิ(10)
- การรนับระยะเวลาการถือหุ้น หน้า 3 หลัง 3 นับอย่างไร - การยกเว้น 100% - การยกเว้นกึ่งหนึ่ง
5. ธุรกิจมีขาดทุนอยู่แต่จะจ่ายเงินปันผลทำได้หรือไม่
- มีขาดทุนสะสมแต่ปีปัจจุบันมีกำไรจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่ - มีกำไรสะสมแต่ปีปัจจุบันขาดทุน
- มีขาดทุนสะสมแต่มีการเพิ่มทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- บริษัทมีกำไรแต่ไม่มีเงินสด จะจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นแทนได้หรือไม่
- บริษัทขาดทุนสะสมและมีการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในกิจการและนำมาจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อนำมาจ่ายเงินปันผลจะลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
6. การจ่ายเงินปันผลของกิจการ BOI และ Non BOI มีวิธีการจ่ายอย่างไร
- กรณี BOI มีกำไรแต่ Non BOI ขาดทุนจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- ผู้ได้รับเงินปันผลจาก BOI ต้องถือเงินปันผลไว้หน้า 3 หลัง 3 หรือไม่ จึงจะได้รับยกเว้น
- ผู้ที่ได้รับเงินปันผลจาก BOI นำเงินปันผลไปจ่ายต่อกันเป็นทอดๆจะยังได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
7. หลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีที่ได้รับจากบริษัทต่างประเทศ
- เงินปันผลที่ได้รับยกเว้น - เอกสารและวิธีการยกเว้น
- ระยะเวลาการถือหุ้น - อัตราภาษีที่บริษัทต่างประเทศได้เสียภาษีจากเงินปันผล
8. ผู้รับเงินปันผลสามารถเลือกวิธีการเสียภาษีของเงินปันผลจาก บริษัทต่างประเทศได้หรือไม่
9. สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการร่วมลงทุน (Venture Capital : VC)
- หลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นเงินปันผล สำหรับ VC มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- บริษัทที่จะเป็น VC ได้มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- การถือหุ้นของ VC ที่ไปถือหุ้น บริษัท SMEs และได้สิทธิยกเว้นเงินปันผลมีหลักเกณฑ์อย่างไร
- อย่างไรถือเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - ระยะเวลาการถือหุ้น
- รอบบัญชีต่อเนื่องหมายความว่าอย่างไร - ผู้ถือหุ้นใน VC ต้องมีระยะเวลาในการถือหุ้นด้วยหรือไม่
- บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ไปถือหุ้นในกิจการ VC จะได้รับยกเว้นภาษีเงินปันผลหรือไม่
10. การยกเว้นเงินปันผลตาม “สัญญาก่อตั้งทรัสต์”
- เงินชดเชยเงินปันผลหมายความว่าอย่างไร - ผู้ได้รับเงินปันผลจากสัญญาก่อตั้งทรัสต์จะได้รับยกเว้นภาษีอย่างไร
- ผู้รับเงินปันผลที่ถูกทรัสต์หัก ณ ที่จ่ายสามารถเลือกที่จะไม่นำไปรวมคำนวณทั้งหมดหรือนำมาเสียภาษีบางส่วนได้หรือไม่
11. การยกเว้นเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า (Joint Venture)
- ต้องนับระยะเวลาการถือหุ้นหรือไม่
12. วิธีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- กรณีไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายยังคงต้องออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเงินปันผลหรือไม่
- วันที่ที่จ่ายเงินปันผลต้องลงวันที่ใดในหนังสือรับรองฯ
- กรณีจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมโดยไม่ทราบอัตราภาษีว่ากำไรที่จ่ายนั้นเสียภาษีอัตราใดมาก่อนต้องออกหนังสือรับรองฯ อย่างไร
13. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยายบรรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์วิชัย จึงรักเกียรติ

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba