ปัญหาและวิธีการบันทึกบัญชีแนวปฏิบัติในการรับรู้รายการ ตามมาตรฐานการบัญชี

รหัสหลักสูตร : 23/4009/5

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 963 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 1,391 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อสัมมนา

 

1.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า (TFRS15)

 

1.1 หลักการทั่วไปการรับรู้รายได้ที่ทำสัญญากับลูกค้าตาม TFRS 15

 

1.2 กิจการจะรับรู้รายได้จากการขายสินค้าทั่วไป ขายสินค้าโดยการส่งออกขายสินค้าพร้อมติดตั้ง

 

และขายสมาชิกหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โดยมีเงื่อนไขการค้ารูปแบบต่างๆ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

 

1.3 การให้บริการที่มีระยะสัญญาและการดำเนินงานยาวเกิน 1 รอบบัญชี กิจการจะรับรู้รายได้ในการบันทึกบัญชีและคำนวณกำไรสุทธิอย่างไร

 

1.4 ปัญหาการรับรู้รายได้ของกิจการรับเหมาก่อสร้าง ขายอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการผ่อนชำระมีหลักเกณฑ์อย่างไร

 

1.5 กิจการจะรับรู้รายได้เมื่อได้รับเงินทำได้หรือไม่ มีแนวปฏิบัติอย่างไรในการบันทึกบัญชี

 

2.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาเช่า (TFRS16)

 

2.1 หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการรับรู้ Right of Use ตาม TFRS 16

 

2.2 การซื้อสินทรัพย์ที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ ปัญหาปัญหาการบันทึกบัญชีดอกเบี้ยเช่าซื้อตามสัญญาจะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย

 

2.3 การให้กิจการในเครือเข้ามาใช้พื้นที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ กิจการจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร จะต้องคิดค่าเช่า

 

หรือค่าบริการกับกิจการในเครือหรือไม่

 

2.4 สัญญาเช่า (Lease) มีกี่ประเภท และมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญอย่างไรที่จะบันทึกเป็นสินทรัพย์หรือค่าเช่า

 

2.5 กิจการซื้อสินทรัพย์โดยสัญญาเช่าทางการเงิน (Finance Lease) กิจการจะบันทึกบัญชีเป็นค่าเช่าหรือสินทรัพย์ และกรณีภายหลังการรับรู้เป็นสินทรัพย์แล้ว ต้องพิจารณามูลค่าในภายหลังอีกหรือไม่

 

3.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (TAS 16)

 

3.1 การซื้อที่ดินพร้อมอาคาร จะต้องแยกมูลค่าที่ดินออกจากอาคารหรือไม่มีหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีอย่างไร

 

3.2 ซื้ออาคารชุด พร้อมที่ดิน (คอนโด) จะต้องแยกมูลค่าของที่ดินออกจากอาคารหรือไม่

 

3.3 กิจการจะต้องคิดค่าเสื่อมราคาเส้นตรงเสมอไปหรือไม่ มีหลักเกณฑ์เลือกวิธีคิดค่าเสื่อมราคาอย่างไร

 

ให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

 

3.4 การแยกส่วนประกอบของสินทรัพย์เพื่อคิดค่าเสื่อมราคาจะต้องทำกับสินทรัพย์ทุกชนิดหรือไม่

 

มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดหลักเกณฑ์อย่างไร

 

3.5 กิจการจะเริ่มคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อใด และจะหยุดคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์เมื่อใด

 

4.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินค้าคงเหลือ (TAS 2)

 

4.1 ณ วันสิ้นงวดบัญชีกิจการจะต้องวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับมีหลักเกณฑ์อย่างไร

 

5.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น (TAS 37)

 

5.1 ประมาณการหนี้สินกิจการจะต้องทำหรือไม่ และจะจัดอยู่ในประเภทหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน

 

5.2 เมื่อลูกหนี้ถึงกำหนดชำระเงิน แต่ไม่สามารถชำระเงินได้กิจการจะตัดจำหน่ายหนี้สูญได้อย่างไรบ้าง

 

5.3 วิธีการตั้งประมาณการหนี้สงสัยจะสูญและการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญวิธีใดเหมาะสมกิจการมีหลักเกณฑ์อย่างไร

 

5.4 ประโยชน์ของการจัดทำประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ต่อข้อมูลในงบการเงิน

 

6.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด (TAS 8)

 

6.1 มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการกำหนดนโยบายการบัญชี และกิจการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเมื่อใด

 

6.2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแล้วจะส่งผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร และต้องทำการปรับปรุงงบการเงินอย่างไร

 

7.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (TAS 21)

 

7.1 การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเมื่อมีการขายสินค้าโดยการส่งออก และการนำเข้าสินค้าหรือเครื่องจักร มีหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีและการแปลงค่าเงินอย่างไรบ้าง

 

7.2 ณ วันสิ้นงวดบัญชีกิจการมีหลักเกณฑ์การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการแปลงค่าเป็นเงินตราไทย

 

ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินอย่างไร

 

8.การแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (TAS 36)

 

8.1 หากกิจการมีสินทรัพย์ด้อยค่าถาวรเกิดขึ้น กิจการมีหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีอย่างไร

 

8.2 การซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์จะบันทึกบัญชีแยกหรือรวมกันและมีวิธีการตัดจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างไร

 

8.3 หากสินทรัพย์ที่ได้มีการพิจารณาการด้อยค่าไว้ แล้วในภายหลังต่อมามีมูลค่าที่กลับมาดีขึ้น จะบันทึกบัญชีอย่างไรและ จะต้องรับรู้อย่างไรในงบการเงิน

 

9. คุณธรรม จริยธรรมเเละจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 6:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์ณัฏฐกิตติ์ ญเจริญปัญญายิ่ง

สถานที่

โรงเเรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba