แนวปฏิบัติด้านบัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมแนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง

รหัสหลักสูตร : 21/2186

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

1.แนวปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรฐานการบัญชีที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
1.1 รายการใดถือเป็นสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2
1.2 ราคาทุนของสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชีประกอบด้วยอะไรบ้าง
1.3 มูลค่าสุทธิที่จะได้รับหมายความว่าอย่างไร และควรพิจารณาอย่างไร
1.4 การจัดทำบัญชีสินค้าคงเหลือและแนวปฏิบัติที่สำคัญ
1.5 การวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชีมีหลักเกณฑ์อย่างไร
1.6 การวัดมูลค่าของต้นทุนสินค้าคงเหลือ โดยวิธีต้นทุนมาตรฐานหรือวิธีขายปลีกสามารถกระทำได้หรือไม่ตามมาตรฐานการบัญชี
1.7 แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชีกรณีตีราคาสินค้าคงเหลือ
1.8 การปรับปรุงบัญชีในกรณีที่ราคามูลค่าสุทธิที่จะได้รับสูงกว่าราคาทุน
1.9 กรณีใดบ้างที่สินค้าคงเหลือจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
1.10 แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชีในกรณีสินค้าขาดหรือเกินจากสต็อก
1.11 แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชีในกรณีสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ ล้าสมัย
1.12 การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
1.13 แนวปฏิบัติเมื่อกิจการมีการซื้อสินค้าคงเหลือโดยมีเงื่อนไขการจ่ายชำระเงินนานเกินกว่าระยะเวลาการได้สินเชื่อตามปกติ
2.ประเด็นปัญหาการแก้ไขข้อผิดพลาดของสินค้าและวัตถุดิบผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการบัญชีที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
2.1 ปัญหาการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าแบบต่อเนื่อง (Perpetual Method)
2.2 ปัญหาการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าแบบสิ้นงวด (Periodic Method)
2.3 ปัญหาการตีราคาสินค้าคงเหลือระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ
2.4 ปัญหาในการปันส่วนสินค้าคงเหลือไปยังสินทรัพย์อื่น
2.5 ปัญหาการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับส่วนสูญเสียในการผลิตเศษซาก
2.6 บัญชีปัญหาการจัดทำบัญชีสินค้าอื่น ๆและข้อควรระวัง
2.7 ในกรณีที่กิจการมีการซื้อวัสดุสิ้นเปลืองในการผลิตกิจการควรเลือกการบันทึกบัญชีวิธีใดจึงจะเหมาะสม
3.แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ
3.1 อากรขาเข้า ค่าขนส่ง ค่าขนถ่ายถือเป็นต้นทุนสินค้าหรือไม่และบันทึกบัญชีอย่างไร
3.2 ค่าเสื่อมราคา ค่าบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์โรงงาน จะถือเป็นต้นทุนของสินค้าหรือไม่
3.3 ส่วนสูญเสียที่เกินกว่าปกติจะนำมาถือเป็นต้นทุนของสินค้าหรือไม่
3.4 ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าจะนำมาถือเป็นต้นทุนของสินค้าหรือไม่
3.5 กิจการให้บริการจะพิจารณาต้นทุนของสินค้าคงเหลืออย่างไร
3.6 การคำนวณต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
- วีธีราคาเจาะจง
- วิธีเข้าก่อนออกก่อน
- วีธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
3.7 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการซื้อสินค้าคงเหลือจะถือเป็นต้นทุนของสินค้าหรือไม่
4. ประเด็นการแก้ไขข้อผิดพลาดของสินค้าและวัตถุดิบผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับทางด้านภาษีที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.1 ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเอกสารที่ต้องจัดทำของจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.3 ปัญหาในการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.4 ปัญหาในการตรวจนับสต๊อกและการวางแผนการตรวจนับสต๊อกสินค้า
4.5 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลายเศษซาก ของเสียจากกระบวนการผลิตเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี
4.6 แนวปฏิบัติการโอนสินค้าระหว่างแผนก ระหว่างสาขา จะต้องปฏิบัติอย่างไร
4.7 การเลือกใช้ราคาใดของสินค้าคงเหลือในการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.8 การนำสินค้าไปส่งเสริมการขาย หรือการบริจาค ทางภาษีต้องปฎิบัติอย่างไร
4.9 ข้อควรระมัดระวังความผิดพลาดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือที่มักถูกสรรพากรประเมิน

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

อาจารย์สุวิมล เที่ยงแท้

สถานที่

โรงแรม S31
545 ซ.สุขุมวิท 31 กทม.10110
โทรศัพท์ :
02 260 1111
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba