เทคนิคการจัดทำเอกสารรายรับ-รายจ่ายทางบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

รหัสหลักสูตร : 21/2145

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เทคนิคการจัดทำเอกสารรายรับ-รายจ่ายทางบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

 

ความสำคัญที่นักบัญชีต้องทราบที่เกี่ยวข้องของค่าใช้จ่ายในธุรกิจรับเหมาและอสังหาริมทรัพย์

 

วิทยากรโดย ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

หัวข้อสัมมนา

1.เข้าใจในลักษณะของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

2.ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างคืออะไร

3.ปัญหาที่มักเกิดจากการใช้จ่ายในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

4.ปัญหาที่มักเกิดจากการใช้จ่ายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

5.การจดทะเบียนสาขาจำเป็นหรือไม่อย่างไร สำหรับหน่วยงานก่อสร้าง หรือสำนักงานชั่วคราว

6.จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
**งานเอกสารที่สำคัญที่นักบัญชีต้องแม่นยำ และให้ความสำคัญต้องระมัดระวังต่างๆ

7.สัญญารับเหมาก่อสร้าง

8.สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

9.สัญญาซื้อขายทั่วไป , สัญญาจ้าง Sab contact

10.การติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฏหมาย

11.เอกสารเกี่ยวกับการสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์

12.เอกสารเกี่ยวกับการออกหนังสือค้ำประกันสัญญา

13.เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินมัดจำตามสัญญา

14.เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่างวดตามสัญญา

15.เอกสารเกี่ยวกับเงินประกันผลงาน

16.เอกสารเกี่ยวกับการว่าจ้างให้ทำงานให้

17.เอกสารเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน

18.เอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนอื่นๆในหน่วยงานต่างๆ

19.เอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสำนักงานและหน่วยงาน

20.เอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคตามหน่วยงานต่างๆ

21.เอกสารที่ต้องจ่ายให้บุคคลภายนอกที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้

22.การจ่ายเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตต่างๆ

23.เอกสารเกี่ยวกับการรายงานความก้าวหน้าของงาน

24.เอกสารเกี่ยวกับการตรวจรับงานและส่งมอบงาน

25.เอกสารเกี่ยวกับการเพิ่มเติมแก้ไขเงื่อนไขตามสัญญา

26.เอกสารเกี่ยวกับการรับเงินตามสัญญา

27.การจัดทำใบสำคัญต่างๆ และการจัดเก็บรักษา

28.การจัดทำเอกสารให้ตรงตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรมีอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ตาม
ประมวลรัษฎากร

29.ประเภทของใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

30.แบบพิมพ์ใบกำกับภาษีมีกี่รูปแบบ แนวปฏิบัติที่สำคัญ

31.ใบกำกับภาษีเต็มรูปตามหลักเกณฑ์ใหม่ด้านผู้ขาย ผู้ให้บริการ หรือผู้ซื้อ ผู้รับบริการจะต้องระบุเลขประจำ
ตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างไร

32.สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ออกใบกำกับภาษี ตามหลักเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้อย่างไร

33.การค้างค่างวด ค่างวดผ่อนชำระ จ่ายไม่ครบไม่เป็นไปตามสัญญาจะบันทึกบัญชีอย่างไร

34.การทำสัญญา 2 ฉบับ เพื่อให้ลูกค้าสามารภกู้ได้เกินราคาซื้อขายจริง

35.การทำสัญญาซื้อขายพร้อมบวกค่าตกแต่ง และของสมมนาคุณต่างๆ จะใช้เอกสารใดในการประกอบการ
บันทึกบัญชีประเด็นปัญหาค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

36.ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง  ค่าเบี้ยเลี้ยง ของพนักงาน ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

37.การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานที่เดินทางไปตรวจไซด์งานก่อสร้าง จะต้องใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน
ต้องมีบิลแนบหรือไม่ และค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่ หลักเกณฑ์มีอย่างไรบ้าง

38.ค่ารถแท็กซี่ ค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง กิจการควรใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน

39.ซื้อตั๋วเครื่องบินไปตรวจหน่วยงานก่อสร้าง จะต้องใช้เอกสารใดประกอบจึงจะถูกต้อง

40.ออกตั๋วเครื่องบินและค่าที่พักให้ลูกค้าเดินทางมาติดต่อธุรกิจกับกิจการ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

41.คูปองทางด่วน บัตรเติมเงิน (Easy Pass) ต้องมีหลักฐานเอกสารแนบประกอบการเบิกจ่ายเงินหรือไม่

42.ค่ารถไฟ รถไฟฟ้า รถโดยสารต่างจังหวัด จะต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ ถ้าไม่มีถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

43.ค่าที่จอดรถ ใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชี

44.ค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนตัวของพนักงานลงเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

45.ซื้อรถไว้ใช้งานในโครงการควรจะบันทึกอย่างไร ต้องปันส่วนต้นทุนหรือไม่

46.ค่าน้ำมันรถยนต์ต้องขอใบกำกับภาษีอย่างไร ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

47.บิลน้ำมันต้องมีเลขทะเบียนรถหรือไม่ ถ้าไม่มีจะมีผลอย่างไร

48.ใบกำกับภาษีที่เป็นกระดาษความร้อน ต่อมาซีดจางลงอ่านไม่ออก จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
และภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่

49.ส่งพัสดุไปรษณีย์จดหมายลงทะเบียน จดหมาย EMS อะไรคือหลักฐานการจ่ายเงิน

50.ซื้อแสตมป์ส่งจดหมายต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่

51.ค่ารับรองต่างๆของผู้บริหาร ผู้จัดการ จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือถือเป็นเงินได้ของผู้บริหาร
ผู้จัดการ

52.ค่าเลี้ยงรับรองของกิจการทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ต้องบวกกลับ มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงิน
หรือไม่

53.กิจการเลี้ยงรับรองบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้า จะถือเป็นค่ารับรองได้หรือไม่

54.ค่าตกแต่ง และค่าเปลี่ยนแปลงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

55.การให้สิ่งของกับลูกค้าต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาท มีหลักเกณฑ์อย่างไรตามประมวลรัษฎากร

56.ค่ารับรองที่จะถือเป็นรายจ่ายได้ไม่เปิน 0.3% มีหลักเกณฑ์อย่างไร

57.บิลค่ารับรองที่ไม่ระบุชื่อ หรือ เขียนว่า “สด” กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

58.กิจการจ่ายค่าสมาชิกสโมสร สปอร์ตคลับ หรือนันทนาการต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารจะถือเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด

ต้องบวกกลับหรือไม่

59.รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือบริจาคต้องบวกกลับทุกรายการหรือไม่

60.จะบริจาคอย่างไรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

61.บริจาคเงินหรือทรัพย์สินจะต้องใช้เอกสารใดเพื่อให้สรรพากรยอมรับ

62.หากบริษัทมีผลประกอบการขาดทุน จะนำค่าการกุศลมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ต้องบวกกลับหรือไม่

63.บริจาคอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นจากที่จ่ายจริง

64.ซื้อบัตรการกุศลจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ ใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน

65.การจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ของไซด์งานก่อสร้างหรือสำนักงานขาย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
หรือไม่

66.พนักงานนำโทรศัพท์มือถือส่วนตัวมาใช้ในงานของกิจการ บิลค่าโทรศัพท์มือถือของพนักงานจะนำมาถือเป็น
รายจ่ายได้หรือไม่

67.ค่าขนส่งต้องมีเอกสารอะไรบ้าง

68.ความแตกต่างของค่าขนส่งทั่วไปกับค่าขนส่งสาธารณะ

69.มีวิธีพิจารณาอย่างไรถือเป็นค่าขนส่ง และค่าขนส่งมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

70.หลักการพิจารณากรณีใดถือเป็นค่าเช่า กรณีใดถือเป็นค่าขนส่งระหว่างการเช่ารถกับค่าขนส่งแตกต่างกันอย่างไร

71.ค่าเช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร และเอกสารระบุแยกหรือรวมบนบิลใบเดียวกัน แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

72.การขายวัสดุก่อสร้างพร้อมค่าขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

73.เช่านั่งร้านพร้อมขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างให้ถูกต้อง

74.เงินปรับจากการก่อสร้างล่าช้า และการส่งมอบล่าช้า จะบันทึกบัญชีอย่างไร

75.ค่ารับรองที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขายต่างๆ

76.ราจจ่ายจากการจ่ายดอกเบี้ยแทน และของแถมต่างๆที่เกี่ยวข้องประเด็นปัญหาใบกำกับภาษี , ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และ หัก ณ ที่จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

77.ใบกำกับภาษีที่มีการขีดฆ่าแก้ไขขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ และถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

78.การรับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ให้ส่วรราชการ จะหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

79.ขายที่ดินพร้อมรับก่อสร้าง จะหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

80.ใบกำกับภาษีเขียนจำนวนเงินตัวอักษรผิดมีการขีดฆ่าและเซ็นชื่อกำกับ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

81.“ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขาย” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

82.“ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อ” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

83.“เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย” ไม่ใช่เลข 13 หลัก กิจการจะขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

84.“เล่มที่” “เลขที่” ของใบกำกับภาษีใช้มือเขียน ใช้ตรายางประทับ ไม่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์หรือ
คอมพิวเตอร์ จะขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

85.ใบกำกับภาษีชื่อผู้ซื้อใช้ที่อยู่ของไซด์งานก่อสร้าง หรือ สำนักงานขาย ขอคืนได้หรือไม่

86.มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยส่วนราชการจะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่ หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

87.มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยกิจการย้ายที่อยู่ ย้ายสำนักงาน จะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือ
ไม่หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

88.เขียนหรือพิมพ์ที่อยู่ของผู้ซื้อผิด หรือไม่ครบถ้วน ทำอย่างไรจึงจะขอภาษีซื้อคืนได้จะต้องปฏิบัติ
อย่างไร ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

89.การยกเลิกใบกำกับภาษีแล้วออกใหม่ และการออกใบแทนใบกำกับภาษี ต้องปฏิบัติอย่างไร

90.มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม

91.ใบกำกับภาษีอย่างย่อจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

92.หลักเกณฑ์การออกใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ตามประมวลรัษฎากร

93.หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่ายของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

94.หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย

95.ปัญหาสัญญาก่อสร้างจะต้องหักภาษีอย่างไร

96.ประเด็นความผิดพลาดในการหักภาษี ณ ที่จ่าย

97.บิลเขียนคำว่า “สด” หรือ “เงินสด” โดยไม่ต้องมีชื่อที่อยู่ของผู้จ่ายเงินได้หรือไม่ สรรพากร
ยอมรับหรือไม่

98.ผู้ขายไม่ออกบิลให้ใช้นามบัตรแทนได้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

99.กิจการมีเอกสารหลักฐานการจ่าย แต่ทำไมสรรพากรบอกเป็นรายจ่ายต้องห้าม

100.เอกสารรายจ่ายที่มีการขีดฆ่าแก้ไขถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

101.การเตรียมตัวเมื่อถูกเรียกตรวจสอบโดยกรมสรรพากร

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba