70 ผลกระทบทางภาษีความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเสีย VAT ไม่ถูกต้องจากการกรอกแบบภ.พ.30 ผิดพลาด และวิธีการลงรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย การเฉลี่ยภาษีซื้อที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สรรพากร

รหัสหลักสูตร : 21/1150

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


70 ผลกระทบทางภาษีความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเสีย VAT ไม่ถูกต้อง
จากการกรอกแบบภ.พ.30 ผิดพลาด และวิธีการลงรายงาน
ภาษีซื้อ-ภาษีขาย การเฉลี่ยภาษีซื้อที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สรรพากร


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

 

พิเศษ 2 ต่อ
1.ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านรับฟรี Dharmniti Planner 2019
2.เข้าอบรม พ.ย.-ธ.ค. 2561 รับฟรีคูปองส่วนลด 1,000 บาท (สำหรับใช้เป็นส่วนลดอบรมเดือนม.ค.-ก.พ.
2562 และจองสัมมนาก่อน 31 ธ.ค. 2561)

การตรวจแบบ ภ.พ.30 จากระบบคอมพิวเตอร์ของกรมสรรพากรกรณีที่ระบบแจ้งว่าผิดปกติ?

วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย

หัวข้อสัมมนา

1. จุดที่ต้องระวังในการยื่นแบบภ.พ.30
- รายได้ที่ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สิ่งที่ต้องระวังเมื่อมีการยื่นภ.พ.30 เพิ่มเติม
- การใช้เครดิตภาษีซื้อ

2. ปัญหาการลงรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย
- ปัญหาการจัดทํารายงานภาษีซื้อ ภาษีขายของธุรกิจค้าปลีก
• ขายสินค้ารายหนึ่งไม่ถึง 1,000 บาทต้องออกใบกํากับภาษีหรือไม่และลงรายงานภาษีขายอย่างไร
• ใบกํากับภาษีอย่างย่อต้องลงรายงานภาษีขายอย่างไร
• กรณีไม่ได้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินจะลงรายงานอย่างไร
• กรณีใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน * เสีย VAT 0% ต้องลงรายงานภาษีซื้ออย่างไร
• มีเงินโอนเข้าบัญชีแต่ไม่ทราบว่าเป็นของลูกค้ารายใด
- ปัญหาการลงรายงานภาษีขาย-ภาษีซื้อที่เกิดจากการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยน
• แปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนผิดพลาดเล็กน้อยจําเป็นต้องยื่นแบบเพิ่มเติม หรือไม่
• กรณีนําเข้าสินค้าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากร ในการลงรายงานภาษีขายได้หรือไม่
• กรณีส่งออกจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนอย่างไรในการลงรายงาน
- การนําส่งภาษีขายที่เกิดจากการทํากิจกรรมส่งเสริมการขาย
• สินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ต้องนําส่งภาษีขายหรือไม่ถ้าไม่ได้ออกใบกํากับภาษีต้องลงรายงานภาษีขาย อย่างไร
- กรณีที่ไม่ได้มีการออกใบกํากับภาษีแต่ต้องนําส่งภาษีขายมีวิธีการลงรายงานอย่างไร
- บริษัทจะจัดทํารายงานภาษีซื้อโดยสรุปยอดภาษีซื้อ สําหรับ ใบกํากับภาษีซื้อค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บ
จากบัตรเครดิตที่ลูกค้านํามาใช้บริการ ทั้งหมดเป็น 1 รายการต่อเดือนได้หรือไม่
- สรุปสาเหตุที่ทําให้ยอดขายขาด จุดที่นักบัญชีไม่ควรพลาด

3. ภาษีซื้อที่เครดิตได้และภาษีซื้อต้องห้าม ผลกระทบทางภาษี
- ภาษีซื้อห้ามขอคืนแต่ลงเป็นรายจ่ายได้
- ได้รับใบแทนใบกํากับภาษีจะเครดิตภาษีซื้ออย่างไร ใช้วันที่ที่ออกใบแทน หรือวันที่ที่ระบุในใบกํากับภาษี
- กรณีบริษัท /ห้างฯจดเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสถานประกอบการ แล้วแต่ได้รับใบกํากับภาษีซื้อระบุที่อยู่เดิม ขอคืนได้หรือไม่
- กรณีซื้อสินค้าและได้ใบกํากับภาษีมา เมื่อตรวจสอบกับทะเบียน ภ.พ.20 มีรายละเอียดที่ตั้งบริษัทไม่ตรงกัน จะขอคืน
ภาษีซื้อได้หรือไม่
- ได้รับใบกํากับภาษีซื้อมาล่าช้าหลังจากที่ได้ย้ายสถานประกอบการไปแล้ว ใช้ได้หรือไม่
- ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดงานปีใหม่และค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่
และค่าของขวัญพนักงานต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- บริษัทเช่าอาคารสํานักงาน จ่ายค่าไฟฟ้า ค่านํ้าประปาค่าโทรศัพท์เอง แต่ใบเสร็จรับเงิน/ใบกํากับภาษีเป็นชื่อเจ้าของ
อาคารนํามาคํานวณภาษีซื้อได้ หรือไม่
- ซื้อกระเช้าของขวัญแจกลูกค้าในเทศกาล นําภาษีซื้อมาขอเครดิตได้ หรือไม่
- ใบกํากับภาษีซื้อระบุชื่อบริษัท แต่ใช้ที่อยู่ของสํานักงาน สาขา สํานักงาน ใหญ่ขอคืนได้หรือไม่
- บริษัทซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนําไปบริจาคให้กับ สํานักงานตํารวจ ขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
- บริษัทแจกของขวัญให้ลูกค้า บริษัทนํามาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ เป็นจํานวนเท่าไรที่สรรพากรจะไม่ต้องให้มาบวกกลับ
และนํามาเป็นภาษีซื้อ ได้หรือไม่
- ได้รับใบกํากับภาษีซื้อ ชื่อผู้ซื้อ มีรายการครบถ้วนแต่มีรหัสลูกค้าต่อท้ายชื่อ เพิ่มเติม ใบกํากับภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่
- ภาษีซื้อที่เกิดจากการเลี้ยงรับรองลูกค้านั้นนํามาถือเป็นภาษีซื้อในการเครดิตภาษีได้หรือไม่
- บริษัทมีโรงงานผลิตสินค้าแต่ยังมิได้จดทะเบียนเพิ่มสาขา ภาษีซื้อค่านํ้า ค่าไฟที่เกิดขึ้นก่อนการจดทะเบียนเพิ่มสาขา
เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่
- ใบกํากับภาษีซื้อค่าไฟฟ้าระบุที่อยู่ไม่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้ นํามาหักออกจากภาษีขายได้หรือไม่
- ถ้าขอคืนภาษีซื้อเป็นเงินสดโดนตรวจ 100% ใช่หรือไม่
- ถ้ามีภาษีซื้อเยอะแต่ไม่ขอคืนเลยจะมีปัญหากับสรรพากรอย่างไรหรือไม่

4. รู้ทันภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกิน 10 ที่นั่ง
- ผลกระทบจากการนําภาษีซื้อของรถยนต์นั่ง ไปขอคืนภาษีซื้อ
- ซื้อรถกระบะมี Cap สามารถเปิดประตู Cap ขอคืนภาษีซื้อ ได้หรือไม่
- ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าเช่ารถตู้ เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่
- ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อรถตู้ เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่
- กิจการขายรถมือสอง ได้ซื้อรถมือสองมาเพื่อขาย แต่กลับนํามาใช้ในกิจการ แต่ขอคืนภาษีซื้อไปก่อนหน้าแล้วจะมี
ปัญหาอย่างไรหรือไม่
- รถตู้ 7 ที่นั่งของผู้บริหารขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

5. การเฉลี่ยภาษีซื้อกับปัญหาที่มักพบ
- ประกอบกิจการ VAT และ NON VAT ในปีแรกต้องเฉลี่ย ภาษีซื้ออย่างไร
- การเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร ถ้าไม่ได้เฉลี่ยตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจะมีผลกระทบอย่างไร
- รายได้ที่เป็นฐานในการเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
- เริ่มประกอบกิจการที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อแต่ยังไม่มี รายได้ยังไม่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อใช่หรือไม่
- ส่วนต่างที่ได้จากการเฉลี่ยภาษีซื้อในงวดเดือนภาษีนั้น บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไม่ต้องบวกกลับใช่หรือไม่
- ส่วนต่างของภาษีที่ถูกเฉลี่ยและมีการปรับปรุงยื่นแบบ ภพ.30.2 ไม่ได้นํามาเป็นค่าใช้จ่ายในปีภาษีนั้นๆ สามารถ
นําไปเป็นค่าใช้จ่ายในปี ภาษีถัดไปได้ หรือไม่
- การเฉลี่ยภาษีซื้อในกรณี 90% ต่อ 10% ตามหลักเกณฑ์ สรรพากรมีวิธีการ อย่างไร
- บริษัทก่อสร้างอาคารขึ้นเพื่อใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ขายอาคารดังกล่าวไปภายใน 3 ปี
สามารถนําภาษีซื้อค่าก่อสร้าง อาคารมาใช้ได้หรือไม่
- บริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ต่อมาบริษัทได้ทําสัญญาให้บุคคลอื่นเช่าพื้นที่อาคารบางส่วน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทจะต้องปรับปรุงภาษีซื้อ
ที่เครดิตไปแล้วหรือไม่อย่างไร

6. วิธีการกรอกแบบ ภ.พ.30 ตามหลักเกณฑ์สรรพากรปัญหา
- กรณีมีหลายสาขาแล้วแยกยื่นเป็นรายสถานประกอบการ ต้องปฏิบัติอย่างไร
- กรณีมีภาษีขายทั้ง VAT 7% และ 0% ต้องกรอกอย่างไร
- กรณีกรอกรายได้ที่เสีย VAT 0% ขาดไปต้องยื่นเพิ่มเติมหรือไม่
- รายได้ที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มต้องกรอกในแบบ ภ.พ.30ด้วยหรือไม่
- กรณีมีรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต้องนํามากรอกใน แบบ ภ.พ. 30 ด้วยหรือไม่
- รายได้ที่ยกเว้นฐานภาษีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 ต้องนํามากรอกในแบบ
ภ.พ.30 ด้วยหรือไม่
- วิธีการกรอกแบบ กรณียื่นเพิ่มเติมต้องกรอกอย่างไร
- ในกรณียื่นเพิ่มเติมถ้ากรอกยอดขายขาดและยอดซื้อขาดต้องทําอย่างไร
- ยอดขายในเดือนนี้หมายถึง ยอดขายทั้ง VAT 7%, VAT 0% และยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่
- กรณียื่นเพิ่มเติมจะสามารถนําภาษีที่ชําระเกิน (พันยอด) ยกมากรอกใน แบบ ภ.พ.30 ได้หรือไม่
- ภาษีซื้อ (ภ.พ.36) กรอกรวมกับภาษีซื้อในเดือนภาษีใช่หรือไม่
- มีภาษีที่ชําระเกินแต่ไม่ได้ลงชื่อขอคืนจะมีผลอย่างไร
- ภายในเดือนมีแต่ภาษีซื้อไม่มีภาษีขายต้องปฏิบัติอย่างไร (ภาษีซื้อติดลบ)
- ภาษีซื้อพันยอดต้องยกมากรอกช่องไหนในแบบ ภ.พ.30
- ประกอบกิจการทั้ง VAT และ NON VAT ต้องลงรายงานภาษีซื้ออย่างไร
- กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อผิดพลาดแต่พ้นกําหนดเวลายื่นแบบไปแล้วต้องเสียเบี้ยปรับ-เงินเพิ่มอย่างไร
- ลืมยกยอดภาษีซื้อที่พันยอดมากรอกในแบบ ภ.พ.30จะยื่นเพิ่มเติมได้ หรือไม่

7. เทคนิคและแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อกรอกแบบผิดพลาด
- กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 แต่ลืมประทับตราบริษัทจะมีความผิด หรือไม่
- ระบุเดือนผิดต้องแก้ไขอย่างไร

8. วิธีคํานวณเบี้ยปรับ-เงินเพิ่มกรณียื่นภาษีขายขาด-ภาษีซื้อ เกินต้องปฏิบัติ อย่างไร
- การคํานวณเบี้ยปรับเงินเพิ่มกรณีตรวจพบด้วยตัวเอง สามารถลดหรืองด เบี้ยปรับได้หรือไม่
- กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อผิดพลาดแต่พ้นกําหนดเวลายื่นแบบไปแล้วต้องเสียเบี้ยปรับ-เงินเพิ่มอย่างไร
- ถ้าสรรพากรตรวจพบจะสามารถลดเบี้ยปรับได้หรือไม่

9. กรณียื่นแบบเมื่อพ้นกําหนดเวลายังสามารถนําภาษีที่ชําระเกินยกมากรอกในแบบได้หรือไม่
- มีภาษีชําระไว้เกินแต่ลืมลงชื่อขอคืนจะพันยอดได้หรือไม่

10.มีภาษีที่ชําระไว้เกินจํานวนมากแต่ไม่ประสงค์ขอคืนจะมี ผลอย่างไร

11.ปัญหาการกระทบยอดรายได้ใน ภ.ง.ด.50 กับยอดรายได้ใน ภ.พ.30 ไม่ตรงกันต้องปฏิบัติอย่างไร

12.การตรวจแบบ ภ.พ.30 จากระบบคอมพิวเตอร์ของกรมสรรพากร กรณีใดที่ระบบแจ้งว่าผิดปกติ

13.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
1 ถนนรัชดาภิเษก Fortune Town เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-641-1500
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba