55 ปัญหาบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก (จ.ชลบุรี)

รหัสหลักสูตร : 21/2394

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้ออบรม

1. มาตรฐานการบัญชีและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเข้าและส่งออก สิ่งที่นักบัญชีต้องระมัดระวัง

2. หลักเณฑ์สำคัญทางภาษีที่นักบัญชีต้องระมัดระวัง

3. ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกกับภาระภาษีที่ต้องเสียมีอะไรบ้าง

4. บัญชีและเอกสารที่ใช้ในการนำเข้าและส่งออก และค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและส่งออกประกอบด้วย

อะไรบ้างเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเสียภาษี

5. เขตอุตสาหกรรมส่งออกกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการ

6. อัตราภาษี 0% ของผู้ประกอบการส่งออกและผลกระทบต่อภาระภาษีที่ผิดพลาด

7. ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด

8. หน้าที่ที่สำคัญของผู้ประกอบการที่จะเป็นผู้นำเข้าและส่งออกที่มีผลกระทบต่อภาระภาษี

9. หลักการปฏิบัติเกี่ยวข้องกับใบขนส่งสินค้าขาเข้าและใบขนส่งสินค้าขาออก

10. ระบบบัญชีและเอกสารของธุรกิจนำเข้าและส่งออก ที่ถูกต้องตามาตรฐานการบัญชี

11. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกบัญชีและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศทางบัญชีจะต้องให้เอกสารอะไรบ้างในการบันทึกบัญชี

12. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกบัญชีและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับส่งออกสินค้าไปขาย ต่างประเทศติดชายแดนประเทศไทย

13. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกบัญชีและภาษี ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า หลักฐานในการนำเข้าสินค้าหรือทรัพย์สิน

14. การบันทึกบัญชีและภาษีอากรในการรับรู้รายได้ของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

15. ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่นักบัญชีต้องไม่พลาด

16. การรับรู้รายได้ของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และค่าใช้จ่าย จะรับรู้เมื่อใด จึงจะถูกต้องตามาตรฐานการบัญชี

17. รายได้จากการส่งออกตามประมวลรัษฎากรกับภาระภาษีที่ต้องเสีย ที่นักบัญชีต้องทราบ

18. ปัญหาการรับรู้รายได้ของธุรกิจส่งออกที่คาบเกี่ยวรอบระยะเวลาบัญชี

19. เมื่อมีการนำเข้าจะรับรู้สินทรัพย์ หรือ สินค้า เมื่อใด ให้ถูกต้อง

20. ปัญหาการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีการนำเข้า นักบัญชีจะมีวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรให้ถูกต้อง

21. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนำเข้าและส่งออกจะบันทึกเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย

22. ค่าใช้จ่ายในการส่งออกและนำเข้า เช่น ค่าจ้างชิปปิ้งออกของ ค่าธรรมเนียม จะบันทึกบัญชีและเสียภาษี อย่างไร

23. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 มีหลักเกณฑ์อย่างไร

24. ความแตกต่างการขายสินค้าอัตรา 7% กับ 0%

25. ความแตกต่างการให้บริการอัตรา 7% กับ 0%

26. ขายสินค้าโดยการส่งออก แต่ดำเนินพิธีกรรมศุลกากรในนามผู้ผลิต

27. ขายสินค้าในต่างประเทศ แต่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศ

28. ขายสินค้าในต่างประเทศ แต่ส่งมอบสินค้าให้แก่ตัวแทนของลูกค้าในประเทศ

29. การนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก

30. การขายสินค้าระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขต อุตสาหกรรมส่งออก หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขต อุตสาหกรรมส่งออก จะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

31. การส่งออกสินค้าที่มีการโอนส่วนจัดสรรหรือแลกเปลี่ยนส่วนจัดสรร ทางบัญชีต้องทำอย่างไร

32. การส่งออกสินค้าที่มีส่วนจัดสรรโดยเจ้าของสินค้าใช้ชื่อส่วนจัดสรร ของบุคคลอื่นต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

33. การส่งออกสินค้าในนามบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (Trading Company) ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ต้องปฏิบัติอย่างไร

34. การส่งออกสินค้าของโรงงานในไทยโดยผ่านตัวแทนในการส่งออก ทางบัญชีจะต้องทำการบันทึกรายการ ทางบัญชีอย่างไร

35. การขายน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ให้แก่ผู้ประกอบการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล รายได้ส่วนนี้จะต้องนำมาบันทึกบัญชีอย่างไร

36. ขายสินค้าไปต่างประเทศโดยว่าจ้างผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศให้จัดส่งสินค้าจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

37. ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยว่าจ้างผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง สินค้าระหว่าง

ประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder)ให้จัดส่งสินค้าให้ นักบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

38. การส่งสินค้าไปต่างประเทศโดยทางไปรษณีย์ จะต้องปฏิบัติอย่างไร

39. การขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อนำติดตัวออกไปนอกราชอาณาจักรเอง โดยมิได้กระทำพิธีการศุลกากร ทางบัญชีจะต้องปฏิบัติย่างไรให้ถูกต้อง

40. การบันทึกบัญชีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและปัญหาในการเสียภาษีอากร

41. การบันทึกบัญชีการนำเข้าสินค้าต่างประเทศจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนใด และจะบันทึกเมื่อใด

42. การบันทึกบัญชีการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินต่างประเทศ

43. การหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับ Freight Forwarder มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติอย่างไร

44. การบันทึกบัญชีค่าขนส่งทางเรือ,ทางอากาศยาน, Freight Forwarder และค่าขนส่งทางบกทั้งในและต่างประเทศ

45. การขายสินค้าในเขต EPZ มีขั้นตอนและภาระภาษีอย่างไรบ้าง

46. การนำสินค้าออกจากเขต EPZ จะต้องบันทึกบัญอย่างไร

47. การบันทึกบัญชีซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การทำสัญญา forward นักบัญชีจะต้อง ปฏิบัติอย่างไร

48. การบันทึกบัญชีอัตราแลกเปลี่ยน และรายการที่

เป็นเงินตราต่างประเทศ ในระหว่างรอบบัญชีและสิ้นรอบบัญชี ต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

49. การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายของผลต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

50. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและส่งออกสินค้า นักบัญชีต้อง ปฏิบัติอย่างไร

51. ปัญหาที่พบมากในการจัดทำรายงานภาษีขายของผู้ส่งออก ที่นักบัญชีจะต้องทำการตรวจสอบเป็นพิเศษ

52. การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าและผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่เกินในรอบระยะบัญชี

53. ปัญหาในการขอภาษีซื้อคืนจากการนำเข้าสินค้าที่มักผิดพลาดคาดเคลื่อน และเอกสารประกอบการขอภาษีซื้อคืน

54. ประเด็นใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบกำกับภาษีปลอม จะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องครบถ้วน

55. กรณีศึกษา การตรวจสอบภาษีของธุรกิจนำเข้าส่งออกจากตัวอย่างจริง

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

สถานที่

โรงแรมเอ-วัน รอยัล ครูส พัทยา
499 ริมหาดพัทยาเหนือ ถนนพัทยาเหนือ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี 20150
โทรศัพท์ :
02 718 1030
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba