เมื่อแนวความคิดในการบริหารเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน และมีแนวคิดในการบริหารใหม่ที่เรียกว่า “Lean” เกิดขึ้น บทบาทของนักบัญชีซึ่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางการบัญชี ตลอดจนรูปแบบในการนำเสนอรายงานทางการเงินจึงต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว เพราะข้อมูลทางการบัญชีเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ผู้บริหารจะนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม ซึ่ง “Lean Accounting” เป็นเครื่องมือช่วยทำให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์และรายงานทางการเงิน สามารถตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหารได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อวางแผน ควบคุม และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และสามารถเชื่อมโยงไปยังการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในองค์กรทุกระดับ |
หัวข้อสัมมนา 1. ความหมายและความเป็นมาของการจัดการแบบ Lean 2. กระบวนการของการจัดการแบบ Lean และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการแบบ Lean 3. ประโยชน์ของการจัดการแบบ Lean 4. กิจกรรม Lean กระทบกับบัญชีอย่างไร 5. ลักษณะของการบัญชีแบบลีน (Lean Accounting) 6. ความแตกต่างของ Lean Accounting กับการทำบัญชีทั่วไป 7. นักบัญชีจะนำระบบ Lean ไปใช้ ได้อย่างไร/ใช้เครื่องมืออะไร 8. ข้อดีของ Lean Accounting ที่เกี่ยวข้องกับ - การออกแบบระบบบัญชีและรายงานตามระบบการจัดการแบบลีน - การคำนวณต้นทุน ที่สามารถคำนวณได้ในทุกระดับทุกขั้นตอนโดยไม่ต้องยึดตามระบบบัญชีต้นทุนแบบดั้งเดิม - การนำเสนอข้อมูล และรายงานทางการเงิน เพื่อสร้างความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น - การวิเคราะห์งบการเงิน เพื่อวางแผน ควบคุม และตัดสินใจอย่างเหมาะสม - การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในองค์กรทุกระดับ 9. หลักการทั่วไปในการคำนวณต้นทุนสำหรับ Lean Accounting 10. เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุนแบบดั้งเดิมกับ Lean Accounting 11. Lean Accounting กับการประเมินผลการปฏิบัติงาน 12. การเตรียมการในการนำการบัญชีแบบลีนมาใช้ 13. กรณีศึกษา การใช้Lean Accounting ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับกิจการ และนำไปใช้ได้จริง 14. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี |