แนวปฏิบัติทางบัญชีสำหรับผลประโยชน์ของพนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ

รหัสหลักสูตร : 21/2276

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

แนวปฏิบัติทางบัญชีสำหรับผลประโยชน์ของพนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ

ผลประโยชน์ของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น ค่าจ้าง เงินเดือน เงินสมทบกองทุนประกันสังคม โบนัสหรือแม้กระทั่งผลประโยชน์ที่ได้รับหลังออกจากงานอย่างบำนาญ และผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง เมื่อเกิดขึ้นย่อมมีผลต่องบการเงินของบริษัท และโดยเฉพาะบริษัทที่มีพนักงานจำนวนมาก จำนวนหนี้สินและค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะมีจำนวนสูงมาก และน่าจะมีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทอย่างมากด้วย ซึ่งการสัมมนาในหลักสูตรนี้ จะช่วยให้ผู้ทำบัญชีรวมถึงผู้บริหารได้ทราบวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีทั้งเรื่องการรับรู้รายการ การบันทึกบัญชี รวมถึงการจัดทำงบการเงินของโครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 เรื่องการบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุที่ช่วยเสริมมาตรฐานการบัญชีเรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น



หัวข้อสัมมนา

1 . สรุปประเด็นการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงานUpdate ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่
2. “ผลประโยชน์ของพนักงาน” คำนิยามตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 มีการแบ่งผลประโยชน์เป็นกี่ประเภทอย่างไร
3. การรับรู้รายการผลประโยชน์ระยะสั้นทั้งหมดของพนักงาน ในระหว่างงวดบัญชี เช่นค่าจ้าง เงินเดือน ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
4. การรับรู้รายการในกรณีที่พนักงานมีสิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทน เช่น การลาป่วยลาคลอดบุตร
5. สิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนชนิดสะสม ที่เกิดจากการไม่ได้ใช้สิทธิในงวดปัจจุบันทั้งหมดและสามารถยกยอดไปใช้ในอนาคตได้ กิจการจะรับรู้และวัดมูลค่าอย่างไร
6. เงื่อนไขและวิธีการในการรับรู้ต้นทุน จากการที่คาดว่าจะต้องจ่ายส่วนแบ่งกำไรและโบนัส
7. กิจการที่มีธรรมเนียมปฏิบัติในการจ่ายโบนัส ภาระผูกพันที่เกิดขึ้นนี้จะวัดมูลค่าและบันทึกบัญชีอย่างไร
8. ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น เมื่อเกษียณจะได้รับบำนาญ หรือเบี้ยประกันชีวิตหลังออกจากงาน การจัดการผลประโยชน์ดังกล่าวจะปฏิบัติอย่างไรให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี
9. ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ๆ ของพนักงาน มีรายการใดบ้าง และวิธีการทางบัญชีต้องปฏิบัติในเรื่องนี้อย่างไร
10. ความแตกต่างระหว่าง “โครงการสบทบเงิน” กับ “โครงการผลประโยชน์”
11. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า “โครงการสมทบเงินที่กำหนดไว้” และ “โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้”
12. วิธีปฏิบัติในการรับรู้เงินสมทบที่จ่ายให้โครงการเงินสมทบ
13. ขั้นตอนในการบันทึกบัญชีสำหรับโครงการผลประโยชน์
14. เทคนิคการกำหนดมูลค่าจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยและการนำมาประยุกต์ใช้กับการบัญชีผลประโยชน์ของพนักงาน
15. ตัวอย่างการคำนวณ
16. ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ต้องรับรู้และบันทึกบัญชีอย่างไร
17. การเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี
18. วิธีปฏิบัติเมื่อนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาใช้ครั้งแรก
19. รูปแบบการนำเสนอข้อมูลของเนื้อหาในงบการเงินสำหรับโครงการผลประโยชน์ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 26 เรื่องการบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ
20. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี






นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 6:0 0:0

วิทยากร

ผศ.ดร.สมชาย เลิศภิรมย์สุข

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
1 ถนนรัชดาภิเษก Fortune Town เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-641-1500
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba