- การรับรู้รายได้ - ค่าใช้จ่ายของกิจการรับเหมา
- ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกิจการรับเหมาก่อสร้าง
- การทำสัญญารับเหมาก่อสร้างเขียนสัญญาอย่างไรให้ได้ประโยชน์
- นโยบายการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรที่มีผลกระทบกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
วิทยากรโดย อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
หัวข้อสัมมนา
1. ภาระภาษีทั้งระบบของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ผู้ประกอบกิจการรับเหมาต้องทราบ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- อากรแสตมป์
2. บุคคลธรรมดาประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง รับเหมางานวางระบบ มีภาระภาษีอย่างไรบ้าง
- ต้องรับรู้รายได้อย่างไร
- ต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายหรือไม่
- กรณีมีรายจ่ายมากกว่าที่กฎหมายให้อัตราเหมา จะลงรายจ่ายตามจริงได้หรือไม่ เอกสารที่ต้องใช้พิสูจน์
- รับงานและมีคนงาน ได้รับเงินค่าจ้างโดยใบหักเป็นชื่อบุคคลคนเดียวจะต้องรับรู้รายได้อย่างไร(เฉลี่ยต่อคน/รับรู้ทั้งก้อน)
- รับเหมางานบางส่วนโดยไม่ได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นส่วนสาระสำคัญจะถือเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(7) หรือไม่
- มีรายได้จากงานรับเหมาเกิน1,800,000 บาท ต้องเข้าสู่ระบบ VAT หรือไม่ เมื่อใด
- จดทะเบียนมูลค่าเพิ่มแต่ไม่ออกใบกำกับภาษี มีผลอย่างไร
3. การวางแผนเกี่ยวกับการรับรู้รายได้-ค่าใช้จ่ายของกิจการรับเหมาก่อสร้าง รับเหมางาน
- มีวิธีการรับรู้รายได้อย่างไร
- การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จมีวิธีการคำนวณอย่างไร
- การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จวิธีใดที่ไม่ถูกสรรพากรตรวจสอบ
* คำนวณอัตราส่วนต้นงาน งานที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะใช้ * สัดส่วนของงานที่ทำเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา * ประเมินอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จโดยวิศวกร
- การรับรู้รายได้เงินประกันผลงาน เงินมัดจำ เงินจอง ต้องรับรู้รายได้อย่างไร
- เงินค่าตอบแทนและประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากผู้รับโอนสิทธิการเช่า ถือเป็นเงินได้ประเภทใด
- เศษวัสดุคงเหลือจากการรับเหมาถ้าไม่ได้นำไปใช้ในงานต่อไปต้องรับรู้รายได้หรือไม่
- วางเงินประกันซองเพื่อประมูลงานจะลงรายจ่ายได้หรือไม่อย่างไร
- รายจ่ายที่จ่ายหลอกๆ แต่มีใบเสร็จมาพิสูจน์ลงรายจ่ายได้หรือไม่
- จ่ายเงินใต้โต๊ะให้วิศวกรที่เป็นที่ปรึกษาโครงการให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างจะลงรายจ่ายได้หรือไม่
- จ่ายค่าจ้างล่วงหน้าเป็นเปอร์เซ็นต์ต้องลงรายจ่ายอย่างไร
- ค่าน้ำ ค่าไฟที่ใช้ในระหว่างก่อสร้างถือเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
- ก่อสร้างอาคารชั่วคราวเพื่อให้คนงานพักอาศัย ลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
- กรณีให้พนักงานเบิกเงินล่วงหน้าจะลงรายจ่ายอย่างไร
- ค่าทางด่วนที่พนักงานต้องจ่ายไปเพื่อติดต่องานลงรายจ่ายได้หรือไม่
- ค่าน้ำมันรถยนต์และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถยนต์
- ค่าพาหนะ/ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงาน/ค่า OT
- ค่าถมดินลงรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
- กรณีซื้อวัสดุอุปกรณ์กับบุคคลธรรมดาได้รับเป็นบิลเงินสดลงรายจ่ายได้หรือไม่
4. การวางแผนภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกิจการรับเหมาก่อสร้าง รับเหมางาน
- ไม่อยากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้อง ปฏิบัติอย่างไร
- รับเหมาช่วงต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
- ได้รับเงินจากการโอนสิทธิงานรับเหมาต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
- จ่ายค่าถมดินจะต้องหักภาษีหรือไม่ ถือเป็นสินค้าหรือบริการ
- บริษัทประกอบกิจการรับเหมาและขายวัสดุสินค้า สรรพากรจะมองเป็นงานรับจ้างและถูกหัก 3 % ทั้งก้อนหรือไม่
- แยกบิลค่ารับจ้างกับค่าวัสดุก่อสร้างออกจากกันต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
- เงินประกันผลงาน (Retention) ที่ถูกหักไว้จากเงินค่างวดในแต่ละงวดต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
5. ปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม การออกใบกำกับภาษี และการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- Update กฎหมายเกี่ยวกับการออกและใช้ใบกำกับภาษี
- ขุดหน้าดินไปขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- ได้รับเงินล่วงหน้าต้องออกใบกำกับภาษีอย่างไร
- เมื่อได้รับเงินประกันผลงานคืนต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
- ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากทำสัญญาก่อสร้างกับส่วนราชการ จะจัดทำใบกำกับภาษีได้หรือไม่
- บริษัทมีไซต์งานอยู่ต่างจังหวัด มีที่พักคนงานเก็บเครื่องไม้เครื่องมือใบกำกับภาษีซื้อ ค่าไฟฟ้าและประปา สามารถขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่
- นิติบุคคลต่างประเทศว่าจ้างบริษัทให้ก่อสร้างในไทย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรม โดยนำวัสดุก่อสร้างเข้าเขตปลอดอากรได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
- ค่าบริการรับเหมาก่อสร้าง โดยรวมถึงการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อการรับเหมาก่อสร้างโรงงานในเขตปลอดอากรจะต้องเสียในอัตราร้อยละเท่าใด
- ขณะทำสัญญาจนกระทั่งสร้างเสร็จยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ขณะรับเงินบริษัทได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
- กรณีมีลูกค้าอยู่ในต่างประเทศ และก่อสร้างในต่างประเทศบริษับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่
- ทำสัญญาก่อสร้างอาคารกับส่วนราชการ โดยมีข้อกำหนดให้มีการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) บริษัทเบิกเงินชดเชยค่าก่อสร้างตามสัญญา (ค่า K) จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ และมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง
- ก่อสร้างในที่ดินของผู้ว่าจ้าง และได้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีของการไฟฟ้าออกชื่อ-ที่อยู่ของผู้ว่าจ้างมีสิทธินำมาใช้เป็นค่าใช้จ่าย และเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
- กิจการรับเหมาก่อสร้างต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่
- มีผู้รับเหมารายย่อยมารับช่วงดำเนินงานบางส่วนโดยให้บริษัทช่วยเหลือในการหาอุปกรณ์ ถ้าบริษัทซื้อสินค้ามาแล้วขายให้กับผู้รับเหมารายย่อยจะออกใบกำกับภาษี ในราคาทุนหรือราคาตลาด
6. กรณีเกิดปัญหาระหว่างก่อสร้าง รับเหมางานจะมีภาระภาษีอย่างไร
- เรียกเก็บค่าเสียหายกรณีผู้รับเหมาทิ้งงานต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
- ก่อสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดความเสียหายต้องมี VAT หรือไม่
- ผู้รับจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาเรียกเก็บค่าเสียหาย
- ผู้รับจ้างใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐาน
- ค่าเสียหายที่ได้รับต้องรับรู้รายได้หรือไม่
7. การวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์
- สร้างบ้านให้ลูกค้าที่ซื้อที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินของบริษัทจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ
- การรับเหมาก่อสร้าง และสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ต้องปิดอากรแสตมป์เท่าไร
- กรณีทำสัญญารับเหมางานที่ต่างประเทศโดยไม่ได้นำสัญญาเข้ามาในไทยต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่
- ทำสัญญารับจ้างช่วงต้องติดอากรอย่างไร
8. การวางแผนภาษีจากสิทธิประโยชน์
- การลดอัตราภาษี
- การส่งพนักงานอบรมหรืออบรมภายในบริษัท
- การซื้อเครื่องจักร
- สิทธิประโยชน์จากการลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Withholding Tax
- การคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ
- จ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง STEM
- พัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูง
- จ้างคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง
- สิทธิประโยชน์จากการจ้างคนพิการทำงาน
- จ้างแรงงานผู้พ้นโทษ
- จ้างแรงงานผู้สูงอายุ
- การบริจาค
9. การวางแผนเกี่ยวกับการทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง รับเหมางาน เขียนสัญญาอย่างไรให้ได้ประโยชน์
- สัญญาค่าวัสดุและค่าแรงรวมกันสัญญาเดียว
- สัญญารับเหมาเฉพาะค่าแรงอย่างเดียว
- แยกสัญญาขายวัสดุก่อสร้างกับสัญญารับเหมาค่าแรง
- แยกสัญญาค่าแรงกับสัญญาจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง
- สัญญาการจ้างเหมาก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey)
- สัญญาการจ้างแบบเหมารวม (Lump Sum)
10. การวางแผนด้านการลงทุนของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รับเหมางาน
- การตั้งกิจการร่วมค้า (Joint Venture) มีสิทธิประโยชน์อย่างไร
- การตั้งเป็นกิจการค้าร่วม (Consortium) แตกต่างจาก กิจการร่วมค้าอย่างไร
11. นโยบายการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รับเหมางาน
- การตรวจสอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอม
- ใบกำกับภาษีที่พิสูจน์ตัวผู้รับไม่ได้
- ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- การส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยระบบ e-Tax Invoice
12. การกระทบยอด ภ.ง.ด.50 ภ.พ.30 และ ภ.ง.ด.53 13. เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 14. ข้อควรระวังในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50
เงื่อนไขการเข้าอบรม 1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม
** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **
|