149 ประเด็นการแก้ไขเอกสารรายจ่ายทางภาษี ปี 2025 ทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM)

รหัสหลักสูตร : 21/01386Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,601 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



149 ประเด็นการแก้ไขเอกสารรายจ่ายทางภาษี ปี 2025
ทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline                       CPA นับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้
 
 
  • หลักสูตรเดียวที่จะทำให้ทุกรายจ่าย!!! ของกิจการ ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม
  • Update!! รายจ่ายต้องระวัง 2025 เสี่ยงโดนสรรพากรเพ่งเล็ง
  • การแก้ปัญหา พร้อมวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง
  • รูปแบบของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร
  • หากเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรมีบทลงโทษอย่างไร พร้อมวิธีการแก้ไข

วิทยากรโดย อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

หัวข้อสัมมนา

  1. Update รูปแบบของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร 2025
  2. เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินอะไรบ้าง ที่สรรพากรยอมรับ

  3. หลักเกณฑ์ในการออกหลักฐานการรับ-จ่ายเงินตามประมวลรัษฎากร 2025

  4. เอกสารภายในของกิจการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินของฝ่ายบัญชีการเงินที่ต้องระมัดระวัง

  5. เอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินภายในของกิจการอะไรบ้างที่ควรมีเพื่อประโยชน์ในการควบคุมภายในและป้องกันการทุจริต

  6. หลักเกณฑ์ในการออกใบสำคัญจ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ

  7. มีเอกสารรายจ่ายอะไรบ้างที่ฝ่ายบริหารต้องการเพื่อประโยชน์ในการบริหาร

  8. เอกสารรายจ่ายที่มีหลักฐานสมบูรณ์ ถูกต้องตามกฎหมายต้องประกอบด้วยข้อความใดบ้าง

  9. เอกสารรายจ่ายที่มีหลักฐานแต่ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นอย่างไร

  10. เมื่อสรรพากรเข้าตรวจสอบเอกสารรายจ่ายประเด็นที่มักถูกประเมิน

  11. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหาร ที่อยู่นอกระเบียบบริษัท

  12. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินกว่าที่สรรพากรกำหนด

  13. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่ หรือบริษัทลูก

  14. จ่ายเงินซื้อสินค้าแต่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีเป็นชื่อพนักงานได้หรือไม่

  15. รายจ่ายที่ไม่มีเอกสารประกอบการจ่ายเงินจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ อย่างไร

  16. กิจการได้รับหลักฐานการจ่ายเงินเป็น “บิลเงินสด”ทำอย่างไรจึงจะลดข้อโต้แย้งของพนักงานประเมินให้เชื่อได้ว่าจ่ายจริง และลงเป็นรายจ่ายได้

  17. การพิจารณาว่า “รายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ” ทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับและพิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้

  18. เมื่อกิจการได้จ่ายเงินไปแล้วผู้รับไม่ออกหลักฐานการจ่ายเงินให้ต้องทำอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องบวกกลับ

  19. หากเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรมีบทลงโทษอย่างไร และวิธีการแก้ไข

  20. กิจการสามารถใช้ “สำเนาใบโอนเงิน” แทนหลักฐานการจ่ายเงินได้หรือไม่สรรพากรยอมรับหรือไม่

  21. ตั๋วรถเมล์ ตั๋วรถไฟ ตั๋วรถทัวร์ต่างจังหวัด ถือเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

  22. ตั๋วเครื่องบินสามารถนำมาเป็นหลักฐานการจ่ายเงินที่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

  23. บัตรเติมเงินทางด่วน (Easy Pass) ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และต้องปฎิบัติอย่างไร

  24. รถแท็กซี่ รถจักรยายนต์รับจ้าง รถตู้ของ ขสมก. หากไม่มีใบเสร็จ จะใช้หลักฐานอะไรประกอบการลงบัญชี และเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิให้สรรพากรยอมรับ

  25. ค่าพาหนะของพนักงานหากไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้อย่างไร และถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่

  26. มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไรว่า “รถยนต์” ที่กิจการซื้อมานั้นขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่ใช้เอกสารใดในการพิจารณา

  27. กิจการซื้อรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีไม่เกิน 10 คนจะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์อย่างไรเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี

  28. กิจการจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ ค่าเปลี่ยนยางรถยนต์ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ค่าประกันภัยรถยนต์ของพนักงานให้กับพนักงานถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

  29. กิจการนำรถยนต์ของพนักงานมาใช้ในกิจการจะสามารถนำมาเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่จะต้องปฏิบัติอย่างไร และเอกสารแนบต้องมีอะไรบ้าง

  30. มีค่าใช้จ่ายและเอกสารอะไรบ้างของรถยนต์ที่พนักงานนำมาใช้ในกิจการที่สรรพากรยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้

  31. บิลนํ้ามันจะต้องมีเลขทะเบียนรถหรือไม่ และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องที่ให้ถือเป็นรายจ่ายได้

  32. บิลนํ้ามันรถที่เป็นเอกสารออกด้วยกระดาษความร้อนต่อมาเจือจางลงอ่านไม่ออกจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

  33. คูปองทางด่วน ค่าผ่านทางใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชีและต้องมีข้อความใดบ้าง

  34. ค่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ลอยฟ้า ใช้เอกสารใดจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

  35. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางของพนักงานใช้เอกสารอะไรประกอบการจ่ายเงิน

  36. ค่าเบี้ยเลี้ยงจ่ายอย่างไรจึงจะไม่ถือเป็นรายได้ของพนักงานหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำคัญ

  37. หากพนักงานไปซื้อของแต่ไม่มีบิล พนักงานจะเซ็นชื่อรับเงินในใบรับเงินแทนผู้ขายได้หรือไม่

  38. ค่าบริการที่จอดรถ ต้องใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชี

  39. การส่งจดหมายหรือพัสดุไปรษณีย์ การซื้อแสตมป์ทำอย่างไรจึงจะมีหลักฐานได้ว่านำไปใช้ในการประกอบกิจการจริง

  40. เอกสารประกอบการจ่ายเงินค่าอากรแสตมป์ต้องเป็นอย่างไร

  41. กิจการกำหนดงบ Entertain ให้พนักงานเป็นรายเดือนจะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ และถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่

  42. ค่าใช้จ่ายในการรับรอง ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ต้องบวกกลับ

  43. บิลค่ารับรองไม่ได้ระบุชื่อ-ที่อยู่ของกิจการแต่เขียนว่า “สด” หรือ “เงินสด”จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

  44. การให้สิ่งของในการรับรองแก่ลูกค้าจะต้องทำเอกสารใด เพื่อให้สรรพากรเชื่อได้ว่ามีการให้จริงและเงื่อนไขที่กิจการจะต้องระมัดระวัง

  45. กิจการจ่ายค่าสมาชิก สโมสร สปอร์ตคลับ หรือสันทนาการให้ผู้บริหารจะถือเป็น
    รายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ มีวิธีอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

  46. ซื้อชา กาแฟ ให้พนักงานดื่ม ภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่

  47. รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์รายจ่ายเพื่อการศึกษา และการกีฬาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร

  48. เงินบริจาคจะต้องใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน

  49. กิจการประสบผลขาดทุน ค่าบริจาคถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

  50. ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าโทรศัพท์ หลักเกณฑ์ที่สำคัญ

  51. หลักเกณฑ์การขอภาษีซื้อค่าโทรศัพท์คืน

  52. ค่าโทรศัพท์มือถือของพนักงานจะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ใช้เอกสารใด

  53. ปัญหาของค่าขนส่ง การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  54. กรณีการขายสินค้าพร้อมค่าขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

  55. กรณีการบริการพร้อมขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกันหรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างให้ถูกต้อง

  56. หลักการพิจารณากรณีใดถือเป็นค่าเช่า กรณีใดถือเป็นค่าขนส่งระหว่างการเช่ารถกับค่าขนส่ง

  57. เช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร และเอกสารระบุแยกหรือรวมบนบิลใบเดียวกันแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

  58. สรรพากรมองอย่างไร เอกสารรายจ่ายของกิจการจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ และไม่ถูกประเมิน

  59. “ชื่อ ที่อยู่ของผู้รับเงิน” ที่แสดงในหลักฐานการจ่ายเงินที่ออกให้โดยผู้รับเงินสามารถกระทำโดยวิธีใดได้บ้าง

  60. เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินจะต้องมี “ชื่อ ที่อยู่ของผู้จ่ายเงิน” ด้วยหรือไม่

  61. เขียนคำว่า “สด” หรือ “เงินสด” โดยไม่ต้องมีชื่อที่อยู่ของผู้จ่ายเงินได้หรือไม่

  62. ทำอย่างไรให้ “บิลเงินสด” ถือเป็นรายจ่ายได้ สรรพากรยอมรับ

  63. ผู้ขายไม่ออกบิลให้ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ใช้นามบัตรแทนได้หรือไม่

  64. หากผู้ขายไม่ออกบิลให้ กิจการสามารถทำใบรับเงินให้ผู้รับเงินเซ็นได้หรือไม่ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือไม่

  65. หากกิจการให้ผู้ขายเซ็นรับเงินบนใบรับเงิน ทำอย่างไรที่จะลดข้อโต้แย้งของเจ้าพนักงานประเมินได้

  66. หากผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะใช้สำเนาเช็คหรือสำเนาใบโอนเงินแทนหลักฐานการจ่ายเงินได้หรือไม่ และมีวิธีอื่นหรือใช้เอกสารอื่นได้หรือไม่

  67. ทำอย่างไรจะทำให้ “ใบสำคัญจ่าย” เป็นหลักฐานการจ่ายเงินให้สรรพากรยอมรับมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไร

  68. กิจการมีการโอนเงินให้เจ้าหนี้แบบระบบ Online จะใช้หลักฐานอะไรประกอบการจ่ายเงิน

  69. ประเภทของใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

  70. แบบพิมพ์ใบกำกับภาษีมีกี่รูปแบบ แนวปฏิบัติที่สำคัญ

  71. ใบกำกับภาษีใช้เป็นหลักฐานการรับเงินหรือจ่ายเงินได้หรือไม่

  72. ใบกำกับภาษีจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อหรือไม่ตามหลักเกณฑ์ใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างไร

  73. ใบกำกับภาษีจะต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ออกใบกำกับภาษีหรือไม่ตามหลักเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้อย่างไร

  74. ใบกำกับภาษีที่มีการขีดฆ่าแก้ไขขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่และถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

  75. ใบกำกับภาษีเขียนจำนวนเงินตัวอักษรผิดมีการขีดฆ่าและเซ็นชื่อกำกับ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

  76. “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขาย” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

  77. “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อ” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

  78. “เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ขาย” ไม่ใช่เลข 13 หลักกิจการจะขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

  79. “เล่มที่” “เลขที่” ของใบกำกับภาษีใช้มือเขียน ใช้ตรายางประทับไม่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์ หรือคอมพิวเตอร์จะขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

  80. มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยส่วนราชการจะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

  81. มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยกิจการย้ายที่อยู่ย้ายสำนักงานจะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

  82. อย่างไรเรียกว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และข้อความที่ต้องมีบนเอกสารอะไรบ้าง

  83. เขียนหรือพิมพ์ที่อยู่ของผู้ซื้อผิดหรือไม่ครบถ้วนทำอย่างไรจึงจะขอภาษีซื้อคืนได้

  84. กรณีลูกค้าไม่ให้ชื่อและที่อยู่ กิจการจะออกใบกำกับภาษีอย่างไรจึงจะถูกต้องไม่เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

  85. หลักเกณฑ์ออกใบกำกับภาษีกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง

  86. หากมีการยกเลิกใบกำกับภาษีแล้วออกใหม่ต้องปฏิบัติอย่างไร

  87. การออกใบกำกับภาษีรวมการขายสินค้าหรือบริการหลายประเภท

  88. กรณีขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าแต่ลูกค้าไม่เอาใบกำกับภาษีต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

  89. มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม

  90. ขอภาษีซื้อคืนตามใบกำกับภาษีเต็มรูป แต่ต่อมาสรรพากรแจ้งว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอมจะต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

  91. ใบกำกับภาษีอย่างย่อจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

  92. ใบกำกับภาษีอย่างย่อของปั๊มนํ้ามันถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

  93. จ่ายค่าบริการแต่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่ มีบทลงโทษอย่างไร

  94. ธุรกิจส่งออกสินค้าจะใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชีจึงจะมีสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

  95. ระบบเอกสารตามประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์และเงื่อนไขมีอย่างไรบ้าง

  96. ข้อความและรายการที่ต้องมีในเอกสารใบรับเงินและหลักฐานในการเสียภาษีอากร

  97. จำนวนเงินที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องออกใบรับเงินและถ้าไม่ออกใบรับเงินมีความผิดหรือไม่

  98. กิจการจะต้องทำและเก็บต้นขั้วหรือสำเนาใบรับเงินหรือไม่และแนวปฏิบัติอย่างไร

  99. หลักเกณฑ์ในการออกใบรับและใบส่งของ และข้อยกเว้นไม่ต้องออกมีอะไรบ้าง

  100. ภาษีขายและภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้จ่ายเงินต้องระมัดระวัง

  101. เงื่อนไขเอกสารรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับ ไม่ต้องบวกกลับ

  102. มีเอกสารการจ่าย แต่ทำไมสรรพากรบอกเป็นรายจ่ายต้องห้าม

  103. รายจ่ายตามเอกสารที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งให้กรมสรรพากรลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้จริงหรือไม่

  104. พนักงานจ่ายค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน ให้พนักงานเซ็นรับเงินในใบสำคัญจ่ายแทนผู้รับเงินได้หรือไม่

  105. เอกสารรายจ่ายที่มีการขีดฆ่าแก้ไขเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

  106. รายการในเอกสารที่จะใช้พิสูจน์รายจ่ายว่าเกี่ยวข้องกับการประกอบการหรือไม่เป็นอย่างไร

  107. ภาษีซื้อต้องห้ามเกี่ยวข้องกับรายจ่ายอย่างไร

  108. ภาษีซื้อต้องห้ามรายการใดบ้างที่ไม่ต้องห้ามนำมาลงเป็นรายจ่ายได้

  109. หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย และรูปแบบของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

  110. มีรายจ่ายอะไรบ้าง ที่ยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

  111. เอกสารประกอบในการหักภาษี ณ ที่จ่ายมีอะไรบ้าง

  112. ไม่มีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะแก้ไขอย่างไร

  113. ถ้าการจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ได้หักจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

  114. ถูกราชการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ออกใบเสร็จรับเงินแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่

  115. การจ่ายเงินได้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

  116. การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีออกแทน

  117. เอกสารรายจ่ายกรณีจ่าย “ค่าจ้างทำของ” ทำอย่างไรให้หักภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

  118. จ่าย”ค่านายหน้า” ให้นิติบุคคล กับบุคคลธรรมดาต้องมีเอกสารอะไรบ้าง และหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราใด

  119. ค่าเช่ารับกับค่าขนส่งแตกต่างกันอย่างไร

  120. พนักงานจ่ายเงินทดรองจ่ายแทนบริษัท เอกสารรายจ่ายต้องทำอย่างไร

  121. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของพนักงาน ระบุชื่อพนักงานไม่ระบุชื่อบริษัทลงรายจ่ายได้หรือไม่

  122. ค่านํ้ามันรถพนักงานลงรายจ่ายบริษัทได้หรือไม่และต้องมีเอกสารประกอบอะไรบ้าง

  123. เงินทดรองจ่ายที่กิจการจ่ายแทนคู่สัญญาหรือบริษัทในเครือทำเอกสารอย่างไรและเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ ภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่

  124. เอกสารในการทำการส่งเสริการขายที่สรรพากรมักตรวจสอบ

  125. นำสินค้าไปส่งเสริมการขายต้องออกเอกสารอย่างไรสรรพากรจึงจะยอมรับและเสียภาษีอย่างประหยัดและถูกกฎหมาย

  126. การขายสินค้าหรือบริการแล้วมีการแถมของแถมให้กับลูกค้าจะต้องออกใบกำกับภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง

  127. เอกสารที่ใช้ในการตรวจนับสินค้าหรือนับสต็อกมีอะไรบ้าง

  128. สินค้าในสต็อกสูญหายต้องใช้เอกสารใดเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี

  129. การนำสินค้าไปใช้ในกิจการจะใช้เอกสารใดเป็นหลักฐาน

  130. สินค้าหมดอายุ ล้าสมัย ถ้าจะตัดสต็อกให้ถูกต้องจะต้องมีการจัดทำเอกสารอย่างไร

  131. การนำสินค้าไปให้ลูกค้าทดลองใช้ โดยไม่เก็บเงินกับลูกค้าต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่ลงรายงานภาษีขายหรือไม่ ใช้เอกสารหลักฐานอะไรเพื่อลงรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

  132. นำสินค้าหรือวัตถุดิบไปทำลายต้องใช้เอกสารใดประกอบการทำลายสินค้าหรือวัตถุดิบ

  133. เมื่อได้รับสินค้าหรือเมื่อจ่ายค่าสินค้าควรตรวจสอบและติดตามเอกสารอะไรบ้าง

  134. วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปเกิดความเสียหาย ต้องมีเอกสารหลักฐานอย่างไรเมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบ

  135. การแลกเปลี่ยนสินค้าต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่ อย่างไร

  136. การจ่ายค่าใช้จ่ายจำนวนเงินมาก ควรดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารรายจ่ายอย่างไรให้รัดกุมและถูกต้อง

  137. กิจการซื้อบัตรการกุศลจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ ใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน

  138. การวางระบบในการรับใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน

  139. เทคนิคการตรวจสอบเอกสารรายจ่าย ทำอย่างไร ไม่ต้องเจอกับเอกสารปลอมและไม่ถูกต้อง

  140. การวางระบบเอกสารรายจ่ายให้กับพนักงานภายในเพื่อป้องกันการผิดพลาดในเอกสาร

  141. ได้รับใบกำกับภาษีจากชำระเงินค่าสินค้าก่อนส่งมอบต้องบันทึกสต็อกหรือไม่

  142. การขายสินค้าพร้อมติดตั้งจะออกใบกำกับภาษีเมื่อใด

  143. ออกใบกำกับภาษีค่าสินค้า แต่สินค้าหมดทำได้หรือไม่

  144. เมื่อมีการโอนสินค้าระหว่างสาขา ควรมีเอกสารอะไรบ้าง

  145. การเช่าอาคารเพื่อทำสำนักงาน ควรทำสัญญาเช่าหรือไม่ ถ้าไม่ทำจะมีผลอย่างไร

  146. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการพนักงาน

  147. เอกสารที่ใช้ประกอบในการตัดหนี้สูญของลูกหนี้

  148. ข้อควรระมัดระวังในเอกสารรายจ่ายอะไรบ้างที่มักถูกสรรพากรประเมิน

  149. ใบกำกับภาษีตามหลักเกณฑ์ใหม่ของสรรพากร

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม


** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **

 


 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ ไม่เป็นทางการ (นับชั่วโมงได้ตามจำนวน ชม. การเข้าอบรมจริง)
0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (CPA นับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba