ด่วนที่สุด...กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎหมายใหม่ ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2568 (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom)

รหัสหลักสูตร : 21/03113Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 3,852 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,387 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 

ด่วนที่สุด...กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎหมายใหม่ ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2568

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 
 
 

วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์


หัวข้อสัมมนา


1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ความเป็นมาของ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

  • วัตถุประสงค์และความเป็นมาของกองทุนเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง
  • หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบที่กำหนด
  • เมื่อใดลูกจ้างมีสิทธิยื่นขอรับเงินสงเคราะห์

2. กิจการประเภทใดบ้าง?...ที่ต้องเข้าและไม่ต้องเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

3. พระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ.2567

4. กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2567

  • ผู้จ่ายเงินสมทบและเงินสะสม คือใคร
  • อัตราเงินสะสมและเงินสมทบ เป็นอัตราเท่าไหร่ และเป็นอัตราคงที่หรือจะมีการปรับอัตราเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร
  • กำหนดระยะเวลาในการเริ่มใช้อัตรางินสะสมและเงินสมทบ
  • เงินได้อื่นๆ เงิน ค่าคอมมิชชั่น ค่าน้ำมัน ฯลฯ ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินสมทบหรือไม่

5. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ.2567

  • การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสงเคราะห์ จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง? และจะต้องจัดทำเป็น ลายลักษณ์อักษรหรือไม่
  • นายจ้างจัดรายการทำบัญชีเงินฝากกองทุนสงเคราะห์ จะต้องจัดทำบัญชีอย่างไร?
  • กรณีลูกจ้างเสียชีวิต จะต้องดำเนินการอย่างไร ใคร? จะเป็นผู้ที่จะได้รับเงินกองทุนสงเคระห์ลูกจ้าง
  • การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน

6. กฎหมายลำดับรอง 6 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

7. ศึกษาเปรียบเทียบ “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” กับ“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”

  • ที่มาและความสำคัญ ของกองทุนทั้งสองกองทุน
  • จำนวนลูกจ้างเท่าไหร่ จะต้องจัดตั้งกองทุน
  • อัตราการจ่ายเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างอัตราเท่าไหร่
  • อัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ นายจ้างและลูกจ้าง สามารถตกลงกันในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายกำหนดได้หรือไม่
  • ความแตกต่างระหว่าง กระบวนการขั้นตอนการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • การบริหารจัดการกองทุน ... ใคร? เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน
  • การจัดการบัญชีกองทุน จะต้องดำเนินการอย่างไร
  • แนวทางการบริหารและการลงทุนของกองทุน
  • การจ่ายเงินกองทุนกรณีลูกจ้างสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน
  • บทกำหนดโทษ กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุน

8. กรณีกิจการที่ไม่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีข้อพิจารณาอย่างไร ระหว่าง

  • การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • การเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
  • การจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย พ.ศ.2567

9. กรณีบริษัทมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ลูกจ้างจำนวนหนึ่งไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุน จะมีหลักปฏิบัติและมีผลอย่างไร ?และกิจการจะสามารถ“กำหนด” ให้ลูกจ้างที่ยังไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  จะต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หรือไม่?

10. กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จะมีกำหนดเกณฑ์สิทธิรับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบตามระยะเวลาการทำงานเหมือนหรือต่างกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ อย่างไร?

11. นายจ้างจะยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างแทนได้หรือไม่?

12. วิเคราะห์ผลกระทบต่อนายจ้างและลูกจ้างต่างๆ เมื่อกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีผลบังคับใช้ เตรียมกรณีศึกษาและประเด็นถามตอบ

Update!!! กฎหมายแรงงาน

13. กฎกระทรวงที่ 394 เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง กรณีถูกเลิกจ้าง(บังคับใช้ 17 กรกฎาคม 2567 มีผลย้อนหลัง ปี 2566)

  • จำนวนวันชดเชยที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

14. (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่....

  • การเพิ่มสิทธิ์ลาคลอดและจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะได้รับเพิ่ม
  • การลาต่อเนื่องเพื่อเลี้ยงบุตร
  • กรณีลูกจ้างชาย ลาเพื่อช่วยเหลือคู่สมรสเลี้ยงดูบุตร

15. ถาม-ตอบประเด็นปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

 

 



นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba