- การรายงานความยั่งยืน ESG กับความสำคัญที่นักบัญชีทราบ
- การใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินในการรายงานความยั่งยืน
- การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีต้นทุนในการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ESG
วิทยากรโดย ดร.วิทยา จั่นคล้าย
หัวข้อสัมมนา
1. นักบัญชีกับการทำความเข้าใจความสำคัญของการรายงานความยั่งยืน 1.1 หลักการและเหตุผลของการจัดทำรายงานความยั่งยืนและประโยชน์ของการจัดทำรายงานความยั่งยืน 1.2 แนวโน้มในการรายงานความยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับประเทศ และระดับโลก 1.3 การจัดทำคู่มือรายงานความยั่งยืนตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์
2. มาตรฐานการรายงานความยั่งยืนในระดับสากล ที่นักบัญชีต้องทราบ 2.1 แนวทางการรายงานความยั่งยืนและมาตรฐานการรายงานข้อมูลความยั่งยืน 2.2 Global Reporting Initiative (GRI) Standards 2.3 Sustainability Accounting Standards Board (SASB) 2.4 Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) 2.5 Integrated Reporting Framework (IR) 2.6 ข้อสรุป ข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละมาตรฐาน
3. การประยุกต์ใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินในการรายงานความยั่งยืน 3.1 ความเชื่อมโยงระหว่างการบัญชีการเงินและการรายงานความยั่งยืน 3.2 การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีในการวัดและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
4. การสร้างระบบควบคุมภายในสำหรับข้อมูลด้านความยั่งยืน 4.1 หลักการของการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพสำหรับข้อมูลไม่ใช่การเงิน 4.2 การออกแบบและการนำไปใช้ของระบบการจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลด้านความยั่งยืน 4.3กรณีศึกษาการตรวจพบและป้องกันการรายงานข้อมูล ESG ที่ผิดพลาด
5. นักบัญชีกับการประสานงานระหว่างแผนกต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล 5.1 บทบาทของนักบัญชีในฐานะผู้ประสานงานหลักในการรวบรวมข้อมูล ESG - การใช้ทักษะการสื่อสารทางการบัญชีในการอธิบายความต้องการข้อมูลแก่แผนกอื่นๆ - เทคนิคการจัดการประชุมและการนำเสนอข้อมูลด้านความยั่งยืนแก่ผู้บริหาร 5.2 การสร้างแผนที่ข้อมูลและการกำหนดผู้รับผิดชอบในการรายงานข้อมูล - การออกแบบระบบการรายงานข้อมูลโดยใช้ความรู้ด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี - การกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) สำหรับการรายงานข้อมูลความยั่งยืน 5.3 การสร้างคู่มือและแนวทางปฏิบัติในการรวบรวมข้อมูล ESG - การจัดทำเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures) สำหรับการรวบรวมข้อมูล ESG - การออกแบบแบบฟอร์มและรายงานมาตรฐานสำหรับการรายงานข้อมูลความยั่งยืน
6.การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีต้นทุนในการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ESG 6.1การจำแนกต้นทุนตามกิจกรรม (Activity-Based Costing):ใช้ระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ESG - แยกต้นทุนตามกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 6.2 การคิดต้นทุนตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Costing): - วิเคราะห์ผลกระทบด้าน ESG ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนถึงการกำจัดซาก - ระบุต้นทุนและผลประโยชน์ด้าน ESG ในแต่ละขั้นตอน 6.3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis): - ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการหรือนโยบายด้าน ESG - ช่วยในการตัดสินใจลงทุนด้านความยั่งยืน 6.4 การใช้ต้นทุนมาตรฐาน (Standard Costing): - กำหนดมาตรฐานด้าน ESG และเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานจริง - วิเคราะห์ผลต่างเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ 6.5 การบัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อม (Environmental Cost Accounting): - ระบุและวัดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - แยกต้นทุนป้องกันมลพิษ การบำบัดของเสีย และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
7. กรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่ดี 7.1 วิเคราะห์รายงานความยั่งยืนของบริษัทชั้นนำในประเทศไทย 7.2 บทเรียนจากความสำเร็จในการจัดทำรายงานความยั่งยืน
8. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการด้านความยั่งยืน 8.1 เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์สำหรับโครงการด้านความยั่งยืน 8.2 การประเมินผลตอบแทนทางการเงินและไม่ใช่การเงินของโครงการ ESG
9 คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
|