• การปรับปรุงรายการทางบัญชีเพื่อเสียภาษี • Update!! รายการที่ต้องปรับปรุงจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ • "เงินกู้ / เงินกู้ยืมกรรมการ" การบันทึกบัญชีและประเด็นความเสี่ยงทางภาษีอากร • ทำไม?? บันทึกบัญชีถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริง แต่ยังถูกตรวจสอบและต้องเสียภาษีเพิ่มเติม พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม • การใช้สิทธิประโยชน์รายจ่ายสองเท่า ค่าใช้จ่ายลงทุนเกี่ยวกับทรัพย์สินมีความแตกต่างระหว่าง บัญชีกับภาษีอันทำให้สิทธิประโยชน์ถูกกระทบหรือไม่ • จุดที่ต้องปรับปรุง พร้อมวิธีการปรับปรุงและข้อควรระวังในการปรับปรุงรายการที่นักบัญชีพลาดไม่ได้
วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์
หัวข้อสัมมนา
1. การปรับปรุงบัญชีภาษีอากรเอกสารและประเภทบัญชีที่ต้องจัดทำ
2. การปรับปรุงบัญชีภาษีอากร (Adjust) ทางด้านรายได้
- เกณฑ์คงค้างตามมาตรฐานการบัญชี กับเกณฑ์สิทธิ
- รายได้จากการขายทรัพย์สินของบริษัท
- ดอกเบี้ยค้างรับ, ดอกเบี้ยผิดนัด
- เงินประกันค่าเช่าอาคาร, เงินค่าเช่ารับล่วงหน้า
- รายได้จากการขาย/ให้บริการ ที่เรียกเก็บครั้งเดียวแต่ ต้องส่งสินค้าหรือให้บริการข้ามรอบระยะเวลาบัญชี
- รายได้จากการประกอบกิจการ และรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ
- เงินปันผลที่ได้จากบริษัททั่วไป, บริษัทในตลาดหลักทรัพย์, บริษัท BOI
- เงินทดรองจ่ายที่ได้รับคืน
- การส่งสินค้าตัวอย่างไปต่างประเทศ
- เงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้จากบริษัทประกัน
- เงินช่วยเหลือจากบริษัทแม่
- การขายบัญชีลูกหนี้
- การขายคูปองเพื่อให้ลูกค้านำไปซื้อสินค้าหรือรับบริการ
- การได้รับส่วนลดจากผู้ขายต้องบันทึกเป็นรายได้หรือลดต้นทุนสินค้า
3. การปรับปรุงรายจ่ายทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายทางภาษี
- ดอกเบี้ยที่สาขาจ่ายมาให้บริษัทแม่, ให้สำนักงานใหญ่ ทั้งในไทยและต่างประเทศ
- หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ
- การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ
- การขายรถยนต์นั่งที่มีราคาเกิน 1 ล้านบาท
- การจำหน่ายจ่ายโอน ทำลายทรัพย์สินที่ใช้งานไม่ได้
- ค่าใช้จ่ายที่บริษัทแม่เรียกเก็บจากภาระแบ่งค่าใช้จ่ายระหว่างสาขาหลายๆสาขา กับบริษัท (Cost Sharing)
- ค่าใช้จ่ายจากการช่วยเหลือพนักงานประเภทต่างๆ
- รายจ่ายจากการสำรวจต่างๆ, รายจ่ายจากโครงการที่ยกเลิกไม่ดำเนินการ
- เช่าที่ดินสร้างอาคารแล้วยกอาคารให้เจ้าของที่ดินเพื่อได้ใช้สิทธิในที่ดินนั้น
- รายจ่ายในการจัดตั้งบริษัท, รายจ่ายก่อนดำเนินงาน
- ลงทุนถือหุ้นในบริษัทอื่น ถ้าบริษัทนั้นขาดทุน, เลิกกิจการถือเป็นรายจ่ายหรือไม่
- การออกค่าใช้จ่ายต่างๆ แทนผู้รับเงิน เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าประกันภัยลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
- รายจ่ายที่เกิดจากหลักฐานไม่มี หรือเอกสารไม่ครบ
- ความเสียหายเนื่องจากพนักงานยักยอก ลักทรัพย์
- การลดทุนเพื่อหักผลขาดทุน
- เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับต่างๆ
- รายจ่ายข้ามรอบระยะเวลาบัญชี
- ทรัพย์สินที่ยังคิดค่าเสื่อมไม่หมด ถ้ามีการขาย, ทำลาย, ยกเลิกสัญญา จะทำอย่างไร
4. ประเด็นความเสี่ยง “เงินให้กู้/ เงินกู้ยืมกรรมการ” ในการบันทึกบัญชี และทางภาษีอากร
- เจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ
- ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ
- เงินกู้ยืมระยะสั้น
- เงินกู้ยืมระยะยาว
- ดอกเบี้ย
- กรณีไม่มีการกู้ยืมจริง แต่มีรายการดังกล่าวในงบการเงิน
5. การตีราคาทรัพย์สิน/หนี้สิน ตามหลักบัญชีและภาษีอากรต้องปรับปรุง อย่างไร
- “สินทรัพย์” ตามมาตรฐานการบัญชี กับ “ทรัพย์สิน” ตามประมวลรัษฎากร
- การตีราคาทรัพย์สิน, หนี้สิน เมื่อสิ้นรอบบัญชี
- การตีราคากรณีทำ Forward หรือ Cross Currency Swap
- การตีราคาสิทธิการเช่า
- การตีราคาเงินตราต่างประเทศ
- หลักทรัพย์ที่บริษัทซื้อจะตีราคาอย่างไร
- การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน
- การขายสินค้าต่ำกว่าทุน การยกหนี้ให้มีผลอย่างไร
- การประนอมหนี้โดยการลดหนี้
6. การตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ, หนี้สงสัยจะสูญ และการตั้งสำรองทางบัญชี มีผลทางภาษีอย่างไร
7. การบันทึกรายการทางบัญชี เมื่อต้อง “บวกกลับ” ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง
8. การตรวจสอบการปรับปรุง (Adjust) บัญชี ประเด็นที่สรรพากรมักเพ่งเล็งเป็นพิเศษ
9. วิธีการบันทึกบัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายที่กฎหมายยกเว้นภาษีให้ และกรอกแบบอย่างไร
10. การบัญชีภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
11. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
เงื่อนไขการเข้าอบรม 1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม
หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี ** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **
|