ปัญหาการบันทึกบัญชีและการจัดประเภทรายการในงบการเงิน พร้อมแนวทางแก้ไข (หลักสูตรใหม่ 2567)

รหัสหลักสูตร : 21/10270P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 

ปัญหาการบันทึกบัญชีและการจัดประเภทรายการในงบการเงิน พร้อมแนวทางแก้ไข


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline


CPD

ผู้ทำบัญชี บัญชี 6 ชม. 
ผู้สอบบัญชี บัญชี 6 ชม. 
  • เรียนรู้เพื่อตอบข้อสงสัย ข้อผิดพลาดจากการทำบัญชีและการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตาม
    มาตรฐานการรายงานทางการเงินและรูปแบบรายการย่อ
  • งบการเงินแต่ละบรรทัดแสดงถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินหรือไม่
  • เจ้าของกิจการ นักบัญชีผู้สอบบัญชีและผู้อ่านงบการเงิน ต้องรู้และเข้าใจ “ตัวเลขในงบการเงินถูกต้อง
    เชื่อถือได้งบการเงินจัดทำถูกต้องและทันสมัยตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและตามรูปแบบ
    รายการย่อหรือไม่”
  • การจัดทำงบการเงินในเรื่องเดิม ๆ เรื่องที่มีการปรับปรุงและเรื่องที่มีการเพิ่มเติม ซึ่งมีผลต่อการจัดทำ
    งบการเงิน ซึ่งเจ้าของกิจการ นักบัญชีผู้สอบบัญชีและผู้อ่านงบการเงินไม่ควรละเลย

 

วิทยากรโดย ดร.ปรีชา สวน

หัวข้อสัมมนา

1. ปัญหาการจัดทำงบการเงิน
   - การจัดประเภทเงินกู้ยืมระยะยาวที่กิจการผิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ยืม ควรจัดประเภทในงบการเงินเป็นหนี้สินหมุนเวียนหรือหนี้สินไม่หมุนเวียน  
   - การจัดประเภทรายการค่าความนิยม
   - การแสดงรายการต้นทุนทางการเงิน อื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงิน
   - การแสดงรายการเงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการเบิกถอน
   - การแสดงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารหักกลบกับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
   - เงินปันผลที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผลหลังรอบระยะเวลารายงาน แต่ก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินเป็นหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

2. ปัญหาการบันทึกบัญชีด้านสินทรัพย์
   - การรับรู้รายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกำหนดและมีโอกาสไม่ชำระหนี้
   - การเปิดเผยนโยบายการบัญชีในหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ และหนี้สูญได้รับคืน
   - การปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดความเสียหาย หรือเกิดความล้าสมัย  
   - การแสดงรายการกรณีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือในงบกำไรขาดทุนเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ
   - การแสดงผลขาดทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือในงบการเงิน เช่น ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย เป็นต้น
   - การเปิดเผยมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ปรับลดลง และรับรู้เป็นในงบกำไรขาดทุน
   - การรับรู้ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมและค่านายหน้า
   - การวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
   - การรับรู้กำไร(ขาดทุน)จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนใน ตราสารทุนเผื่อขาย ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
   - การรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของเงินลงทุนกรณีเงินลงทุนมีมูลค่าลดลงอย่างถาวร
   - การเปิดเผยข้อจำกัดของเงินลงทุนไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น การนำเงินลงทุนไปใช้เป็นหลักประกัน
   - การบันทึกบัญชีกรณีการเปลี่ยนอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ถาวร
   - การบันทึกที่ดินและอาคารที่ได้มาพร้อมกันเป็นสินทรัพย์ที่แยกจากกัน
   - การบันทึกประมาณการต้นทุนสำหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์
   - การจัดประเภทชิ้นส่วนอะไหล่ที่สำคัญและอุปกรณ์ที่สำรองไว้ใช้งาน
   - การปันส่วนรายจ่ายที่เกิดขึ้นให้กับรายการสินทรัพย์แต่ละรายการที่มีอายุการใช้ประโยชน์ไม่เท่ากันหรือให้ประโยชน์ต่อกิจการในรูปแบบที่ต่างกันอย่างมีสาระสำคัญ
   - การรับรู้ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
   - การตัดมูลค่าตามบัญชีของชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนออกจากบัญชี
   - การตีราคาสินทรัพย์ใหม่
   -  การใช้วิธีการตีราคาใหม่กับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน
   - การคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ต้องคิดทันทีที่ได้มา หรือเมื่อสินทรัพย์อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร
   - การกำหนดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์โดยอิงตามภาษีโดยไม่คำนึงถึงปัจจัย เช่น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์
   - การคิดค่าเสื่อมราคาที่ดินที่มีอายุการใช้ประโยชน์จำกัด เช่น พื้นที่ที่ใช้สำหรับการทิ้งขยะ
   - การทบทวนมูลค่าคงเหลือ อายุการใช้ประโยชน์และวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ
   - การใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาให้สะท้อนรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์
   - การรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
   - การบันทึกบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย
   - การตัดมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ออกจากบัญชี กรณีกิจการคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้หรือจำหน่ายสินทรัพย์
   - การรับรู้รายการเกี่ยวกับกิจกรรมก่อนการดำเนินงานเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์อื่น
   - การรับรู้รายการที่เกิดในขั้นตอนการวิจัยของโครงการภายในเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
   - การรับรู้มูลค่าภายหลังการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
   - การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบได้แน่นอน เช่น เครื่องหมายการค้า
   - การจัดประเภทที่ดินที่กิจการถือครองไว้โดยปัจจุบันยังมิได้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้ในอนาคต
   - การรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
   - การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืม(ดอกเบี้ยจ่าย) ตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
   - การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข
   - การหยุดพักการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ในระหว่างที่การดำเนินการพัฒนาสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขหยุดชะงักลงเป็นเวลาต่อเนื่อง
   - การเปิดเผยจำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ในระหว่างงวดไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
   - การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเกษตรกรรม การปลูกต้นไม้ การเลี้ยงสัตว์

3. ปัญหาการบันทึกบัญชีด้านหนี้สิน
   - การจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน และสัญญาเช่าเงินทุน
   - การรับรู้สัญญาเช่าเงินทุนเป็นสินทรัพย์และหนี้สินในงบฐานะการเงินของผู้เช่า
   - การรับรู้รายได้ค่าเช่าหรือรายจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงานโดยวิธีเส้นตรง
   - การบันทึกสิ่งตอบแทนจากการขายและเช่ากลับคืนที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์
   - การรับรู้ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน เช่น เงินชดเชยกฎหมายแรงงาน
   - การรับรู้หนี้สินและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น

4. ปัญหาการบันทึกบัญชีด้านรายได้และค่าใช้จ่าย
   - การรับรู้รายได้จากการให้บริการระยะยาว
   - การรับรู้ดอกเบี้ยรับตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
   - การรับรู้คะแนนสะสมที่เป็นสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าเป็นประมาณการหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
   - การแสดงรายได้ของกิจการที่เป็นตัวแทน
   - การหยุดรับรู้รายได้จากากการขายอสังหาริมทรัพย์ กรณีผู้ซื้อผิดนัดชาระเงินเกินกว่า 3 งวดติดต่อกัน
   - การแปลงค่ารายการที่เป็นตัวเงินซึ่งเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานแต่ละงวด
   - การรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้และสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

5. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 6:0 0:0

วิทยากร

ดร.ปรีชา สวน

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล บางนา
333 ถ.ศรีนครินทร์ แขวง หนองบอน เขต ประเวศ กทม.
โทรศัพท์ :
02-3660505
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีศรีอุดม ทางออกที่ 2 (ห่างจากสถานี 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba