โครงการอบรมการวางแผนภาษีเพื่อเป็นนักวางแผนภาษีแบบมืออาชีพ รุ่นที 11 (อบรม 5 วัน)

รหัสหลักสูตร : 21/08205P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 37,450 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 39,590 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร




โครงการอบรมการวางแผนภาษี...
เพื่อเป็นนักวางแผนภาษีแบบมืออาชีพ รุ่นที 11



    หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline


CPD

ผู้ทำบัญชี รออนุมัติ
ผู้สอบบัญชี รออนุมัติ

 การวางแผนภาษีภาษีที่ดีคือวางแผนภาษีถูกต้องตามหลักกฎหมาย ประหยัดภาษีหลายล้าน

ห้ามพลาด!!!
       - สิ่งที่นักวางแผนภาษีต้องทราบก่อนเข้าสู่การเป็นนักวางแผนภาษีมืออาชีพ
       - การวางแผนภาษีทั้งระบบจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ
       - แนวทางการแก้ไขเมื่อวางแผนภาษีผิดพลาด

วิทยากรโดย อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์

หัวข้อสัมมนา

Module 1. สิ่งที่นักวางแผนภาษีต้องทราบก่อนเข้าสู่การเป็นนักการวางแผนภาษีมืออาชีพ Professional Tax Consultants
Chapter 1
1. ทำไมต้องวางแผนภาษีและประโยชน์ที่ได้รับจากการวางแผนภาษี
2. สิ่งที่จำเป็นและต้องระวังในการวางแผนภาษีอากร
3. กระบวนการวางแผนภาษีตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการหรือประกอบกิจการไปแล้วจะวางแผนอย่างไรบ้าง
4. การทำความเข้าใจต่อธุรกิจที่จะต้องวางแผนภาษี
5. ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลังการวางแผนภาษีไปแล้ว และแนวทางการแก้ไข
6. การแก้ปัญหาด้านภาษีอากรในการประกอบธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงกับการวางแผนภาษี

Chapter 2
2. การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล Corporate Income Tax Planning
    2.1 การวางแผนภาษีจากการจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ประหยัดภาษี
    2.2 การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อลดภาระภาษีที่ต้องจ่าย - การส่งพนักงานเข้าอบรมเพื่อให้ได้สิทธิประโยช์ทางภาษีสูงสุด
    2.3 การวางแผนการรับรู้รายได้ที่เสียภาษี และรายได้ยกเว้นภาษี
    2.4 ทำรายจ่ายต้องห้ามเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
   
     - การแก้ปัญหาบิลเงินสด
        - การแก้ไขรายจ่ายส่วนตัวให้เป็นรายจ่ายได้
        - ค่ารับรอง
        - บิลเป็นชื่อกรรมการต้องทำอย่างไรให้ลงรายจ่ายได้
    2.5 การวางแผนซื้อหรือขายทรัพย์สิน
 
       - ซื้อหรือเช่าแบบใดดีกว่า
        - การตัดทรัพย์สินออกจากบัญชีให้ได้ประโยชน์สูงสุด
    2.6 การวางแผนภาษีโดยใช้การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
        - SMEs
        - บริษัททั่วไป
    2.7 วางแผนการจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าหรือให้บริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควร
    2.8 การวางระบบสินค้าไม่ให้ขาดหรือเกิน และการตัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือออกจากบัญชี
    2.9 การจัดการสินค้าเสื่อมสภาพล้าสมัย หมดอายุของเสีย เศษซากเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษี
       
 - การทำลาย
        - การบริจาค
    2.10 วิธีการใช้ผลขาดทุนสะสมให้เกิดประโยชน์

Module 2. การวางแผนภาษีหัก ณ ที่จ่าย : Withholding Tax Planning
1. การวางแผนภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ด้านผู้จ่ายเงินได้
   
     - ประเภทภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
        - หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
        - ผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
        - การแสดงรายการเกี่ยวภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ จ่าย
        - ความเสี่ยงของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
        - การเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. การวางแผนภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ด้านผู้มีเงินได้
  
      - การวางแผนภาษีการเครดิตภาษี และการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย
3. ประเภทเงินได้มีผลต่อการวางแผนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร
      
  - เงินเดือน ค่าจ้าง
        - การรับทำงานให้ ค่านายหน้า
        - ค่าสิทธิ ลิขสิทธิ์ต่างๆ
        - เงินปันผล ดอกเบี้ย
        - เงินได้จากการให้บริการ ค่าวิชาชีพอิสระ และการธุรกิจ
4. การใช้วิธีเลื่อนการจ่ายหรือรับเงินช่วยประหยัดรายจ่ายหรือรายรับได้อย่างไร
5. การออกภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้รับเงินได้ ที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
6. กิจการขายสินค้ากับกิจการรับจ้างทำของทำอย่างไรไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
       
 - ขายสินค้าพร้อมให้บริการติดตั้ง (Turn Key Project) ถือเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการจ้างทำของ
        - แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขายสินค้าพร้อมบริการขนส่ง
        - การให้บริการจ้างทำของพร้อมอะไหล่ หักอย่างไรให้ถูกต้อง
7. การวางแผนภาษีของกิจการขนส่ง พร้อม Case Studies
8. การวางแผนภาษีของกิจการให้เช่า
      
  - ความสำคัญของการทำสัญญา
        - ทำสัญญาอย่างไรไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
9. การวางแผนภาษีในการจ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผล
10. การวางแผนการให้รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
        - ให้ส่วนลดทันที กับให้ตามเป้าต่างกันอย่างไร
        - ให้แบบใดช่วยประหยัดภาษี
11. ความสัมพันธ์ของภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กับการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
        - รายการจ่ายเงินได้ที่ต้องมีทั้ง ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36
        - รายการจ่ายเงินได้ที่มีเฉพาะ ภ.ง.ด.54 หรือ ภ.พ.36
        - รายการจ่ายเงินได้ที่ไม่ทั้ง ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36
12. Case Studies เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย: ปัญหาที่ทุกกิจการต้องพบเจอเสมอ

Module 3. การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม : Value Added Tax Planning
1. การวางแผนภาษีจากกิจการที่ยกเว้นและไม่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  
      - การเลือกเข้าหรือไม่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
        - ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องเข้าระบบ VAT
2. การวางแผนภาษีจากอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและฐานภาษี
    
    - การยกเว้นภาษี, อัตรา 0%, 7% และ Non VAT
        - ประเด็นเงินทดรองจ่าย
3. การวางแผนภาษีการส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) ให้ได้ประโยชน์
        
- ลด แลก แจก แถม สินค้าตัวอย่าง ให้อย่างไรถูกต้องและปลอดภัย
        - กรณีใดบ้างไม่ต้องนำส่ง VAT
4. การวางแผนภาษี VAT จากการจำหน่าย จ่าย โอน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน
5. การเลือกจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีประโยชน์อย่างไร
      
  - วิธีการชำระเงิน
        - การส่งมอบสินค้า
6. การวางแผนภาษีจากการออกและรับใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ในการยื่นแบบ ภ.พ. 30
      
  - ประโยชน์ของการใช้ใบกำกับภาษี ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice)
        - การวางแผนการป้องกันการรับใบกำกับภาษีปลอม
7. การวางแผนภาษีซื้อ และภาษีซื้อต้องห้าม ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
 
       - จดทะเบียน VAT หลังซื้อสินค้า หากต้องการขอคืนภาษีซื้อต้องทำอย่างไร
        - การวางแผนการใช้ภาษีซื้อรถยนต์นั่ง
        - ภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้แต่ลงรายจ่ายได้
8. การวางแผนเฉลี่ยภาษีซื้อ ทางเลือกในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
       
 - ฐานในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
        - ข้อผ่อนปรนในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
        - การวางแผนการขอคืนภาษีซื้อบางส่วน
9. การวางแผนการเครดิตภาษีและการขอคืนภาษี
  
      - การนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปใช้เดือนถัดไป
        - ภาษีที่ชำระไว้เกินควรขอคืนหรือไม่
        - ขอภาษีซื้อคืน แต่ไม่ต้องนำส่งภาษีขาย
        - การขอคืนภาษีซื้อภายใน 6 เดือน
10. การวางแผนออกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
      
  - เมื่อต้องเลิกกิจการ
        - การควบหรือโอนกิจการ
11. Case Studies การวางแผนภาษีเฉพาะประเด็น (ประเด็นสำคัญๆ)

Module 4. การวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ การวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. กิจการใดบ้างที่ต้องเสียธุรกิจเฉพาะและได้รับยกเว้น
2. การเลือกวิธีการคำนวณภาษีควรใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
3. การวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะจากการให้กู้ยืม
       
 - บริษัทในเครือกู้ยืม
        - กรรมการกู้ยืม
        - พนักงานกู้ยืม
        - กรณีบริษัทเป็นผู้กู้ยืม
4. ทำอย่างไรที่จะไม่ถือว่าเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารที่ต้องเสีย SBT
5. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียและไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
        
- ความหมายของการมุ่งค้าหรือไม่มุ่งค้าหากำไร
        - Case Studies ที่ไม่ถือเป็นมุ่งค้าหากำไร
        - การวางแผนการโอนกรรมสิทธิ์ให้ประหยัดภาษี
6. Case Studies การวางแผนการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่สำคัญๆ
การวางแผนภาษีการชำระอากรแสตมป์
1. สิ่งที่ผู้วางแผนภาษีต้องรู้ตราสารแต่ละลักษณะ ว่าต้องติดเป็นตัวเงินหรือดวงตรา เพื่อลดความผิดพลาดทางกฎหมาย
     
   - วิธีการเสียอากร
        - แสตมป์ที่ติดไม่ได้ขีดฆ่า จะมีผลทางภาษีอย่างไรหรือไม่
2. ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์และไม่ต้องเสีย
        
- ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp) ต้องเสียอากรอย่างไร
        - ความหมายของสัญญาจ้างทำของที่ต้องติดอากร
3. นักวางแผนต้องรู้ทำสัญญาแบบใดที่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
     
   - ใบ PO ต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่
        - นำสำเนาสัญญาจากต่างประเทศเข้ามาในไทย
4. ประเด็นความผิดเกี่ยวกับอากรแสตมป์ที่นักวางแผนภาษีต้องระวัง
      
  - เข้าใจผิดว่าต้องติดเป็นดวงตราอากรต้องแก้ไขอย่างไร
        - ทำสัญญาย้อนหลังหรือติดอากรแสตมป์ย้อนหลังได้หรือไม่
5. ความรับผิดเมื่อเสียอากรไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดที่ผู้วางแผนภาษีต้องระวัง
     
   - ความรับผิดทางแพ่ง
        - ความรับผิดทางอาญา
        - ค่าปรับที่ต้องเสียกรณีทำไม่ถูกต้อง

Module 5 Case Studies การวางแผนภาษีที่ประสบความสำเร็จ พร้อมเทคนิคการชี้แจงเจ้าหน้าที่สรรพากรเมื่อถูกตรวจสอบและประเมินภาษี
1. Case Studies การวางแผนภาษีที่ประสบความสำเร็จช่วยประหยัดภาษีได้จริง
     
   - Case การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
        - Case การวางแผนการซื้อทรัพย์สิน
        - Case การวางแผนจากการทำสัญญา
        - Case อื่นๆ ที่น่าสนใจ
2. จุดที่สรรพากรมักจะตรวจสอบจากการวางแผนภาษี
     
   - การวางแผนการทำสัญญามีผลให้สรรพากรตรวจสอบหรือไม่
3. การเตรียมเอกสารเพื่อรองรับการตรวจสอบจากสรรพากร
4. อำนาจของเจ้าหน้าที่สรรพากรในการประเมินภาษี
       
 - อายุความประเมินที่นักวางแผนภาษีต้องรู้
        - วิธีการตรวจสอบหมายเรียกว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
5. การชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรเมื่อถูกตรวจสอบและประเมินภาษี
       
 - กรณีถูกประเมินย้อนหลังให้เสียภาษีเพิ่มจำนวนมากต้องปฏิบัติอย่างไร
6. การเตรียมเอกสารเพื่อรองรับการตรวจสอบจากสรรพากร
7. การอุทธรณ์เมื่อไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีของเจ้าหน้าที่สรรพากร
    
    - การคัดค้านการอุทธรณ์
        - ระยะเวลาในการอุทธรณ์



นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 30:0 0:0 30:0

วิทยากร

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายภาษีอากร

สถานที่

โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
4 ถ.สุขุมวิท ซ.2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
02-656 7700
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4 (เดิน 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba