เพราะ “จิตวิทยา” อยู่รอบ ๆ ตัวเรา คงจะดีไม่น้อยถ้าทุกคนในองค์กรเข้าใจพื้นฐานจิตวิทยาที่มีผลต่อการทำงานร่วมกัน เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ของหลายองค์กรคือเรื่องของความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ลูกน้อง ลูกค้า ฯลฯ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานร่วมกัน หลักสูตรนี้ตั้งใจที่จะอธิบายถึงความสัมพันธ์ด้วยแนวคิดทางจิตวิทยาองค์กร เพื่อแก้ไขอคติทางจิตวิทยาที่มักเกิดขึ้นในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจตนเอง เข้าใจทีมงานที่อยู่ในองค์กร ฯลฯ สามารถรู้เท่าทันและพิจารณาการแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุข เป็นองค์กร Happy Workplace งานได้ผล คนได้สุข และนั่นจะเป็นพลังช่วยขับเคลื่อนผู้ปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมาย
- รู้เท่าทัน 21 Case อคติทางจิตวิทยาและพิจารณาการแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
- Workshop วิเคราะห์สถานการณ์จริงที่พบในการทำงาน
- การประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยากรโดย อาจารย์ณชดล อารีวงศ์
หัวข้อสัมมนา
1. หัวหน้างานกับการเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดจิตวิทยาองค์กรกับการทำงาน 2. พื้นฐานแนวคิดที่เป็นความคิดอคติทางจิตวิทยาที่หัวหน้างานควรทราบ ซึ่งมีผลต่อการทำงานร่วมกันในองค์กร (Fundamental Attribution Error) 2.1 จิตวิทยาเกี่ยวกับการตัดสินใจ สถานการณ์ เช่น การประชุม การสัมภาษณ์ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ 2.1.1 Authority Bias: เชื่อว่าความเห็นของผู้มีอำนาจสูงกว่านั้นถูกต้อง 2.1.2 Availability Heuristic: ตัดสินใจจากสิ่งที่ตนเองนึกขึ้นได้ในขณะนั้น 2.1.3 In-Group Favouritism: ช่วยพวกพ้อง 2.1.4 Confirmation Bias: มองหาข้อมูลที่สนับสนุนความคิด ความเชื่อของตนเอง 2.1.5 Bandwagon Effect: การใช้สิ่งที่คนหมู่มากเชื่อมาตัดสินว่าตรรกะนั้นถูกต้อง 2.1.6 Halo Effect: การตัดสินใจผิดพลาดจากการมองแค่รูปลักษณ์ภายนอก Workshop: รู้ทัน! กับดักความคิดเพื่อลดอคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ 2.2 จิตวิทยาเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร สถานการณ์ เช่น ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หัวหน้า ลูกค้า ฯลฯฃ 2.2.1 Ben Franklin Effect: เทคนิคการเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร 2.2.2 Self-Serving Bias: กล่าวโทษคนอื่น 2.2.3 Gaslighting: การปั่นหัวให้อีกฝ่ายสับสนกับความเป็นจริงของตนเอง 2.2.4 False Consensus: คิดว่าคนอื่นต้องเห็นด้วยกับตนเอง 2.2.5 Blind Spot Bias: คิดว่าตนเองไม่มีข้อบกพร่อง คนอื่นต่างหากที่บกพร่อง Workshop: รู้ทัน! ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษเพื่อนำไปสู่การสร้างความเป็นมิตรในองค์กร 2.3 จิตวิทยาเกี่ยวกับการสื่อสาร สถานการณ์ เช่น การนำเสนอ การสอนงาน การมอบหมายงาน ฯลฯ 2.3.1 Curse of Knowledge: ใช้คำเฉพาะทางเพราะคิดว่าคนอื่นมีพื้นฐานความรู้เท่าตนเอง 2.3.2 Just-World Hypothesis: เข้าใจผิดว่าที่เขาทำไม่ได้เป็นเพราะเขาไม่ตั้งใจ 2.3.3 Forer Effect: การสื่อสารที่เป็นกลางชวนให้เชื่อ ตีความเข้าข้างตนเอง Workshop: รู้ทัน! การสื่อสารที่ติดขัดเพื่อสกัดอคติในการทำงาน 2.4 จิตวิทยาเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในองค์กร สถานการณ์ เช่น ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร กิจกรรมในองค์กรที่ต้องการความร่วมมือ
การรณรงค์ความปลอดภัยในสถานประกอบการ ฯลฯ 2.4.1 Backfire Effect: ปฏิเสธสิ่งที่ขัดกับความเชื่อของตนเอง แม้อีกฝ่ายจะมีหลักฐานก็ตาม 2.4.2 Gambler’s Fallacy: ความเป็นไปได้ในอนาคต สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้น 2.4.3 IKEA Effect: ให้คุณค่ากับสิ่งตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องมากกว่า 2.4.4 Bystander Effect: เห็นว่ามีคนช่วยเยอะ จึงไม่เข้าไปช่วยเหลือ 2.4.5 Status Quo Bias: มีแนวโน้มไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง 2.4.6 Spotlight Effect: มีความวิตกกังวลกลัวโดนคนในสังคมตัดสินความผิดพลาดของตนเอง 2.4.7 Reactance: พูดด้วยเหตุและผลอย่างจริงใจจะได้ผลมากกว่าการห้าม Workshop: รู้ทัน! ความเชื่อผิด ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกในองค์กร 3. เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาหลังจากรู้ทันความคิดเพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ 3.1 จิตวิทยาการจูงใจ (Persuasion Psychology - Robert Bent Cialdini) 3.2 จิตวิทยาการเสริมแรง (Reinforcement - B.F.Skinner) 3.3 จิตวิทยาการชื่นชมและการตำหนิ 3.4 7 เทคนิคจิตวิทยาการสื่อสารเพื่อให้ได้รับความร่วมมือ 3.5 การโค้ช (Coaching) ที่นำมาใช้ในองค์กร Workshop: วิเคราะห์สถานการณ์จริงที่พบในการทำงานพร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางการรับมือ
|