• รับฟรี!! ตารางสรุปประเด็นด้านรายจ่าย/ ภาษีซื้อ/ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ทำให้เข้าใจง่าย
• ภาษีซื้อต้องห้ามกรณีใด... ที่สามารถลงเป็นรายจ่ายได้!!
• ประเด็นค่ารับรองที่ต้องระวัง!จะต้องลงรายจ่ายอย่างไร?
• ปัญหาการคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ทรัพย์สินที่ต้องบวกกลับ
วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์
หัวข้อสัมมนา
1. จุดที่สรรพากรมักเรียกตรวจสอบ
2. เงินสํารอง เงินกองทุน เงินทดรอง ลงรายจ่ายได้หรือไม่
3. อย่างไรเรียกว่า รายจ่ายส่วนตัว, รายจ่ายโดยเสน่หา, รายจ่ายเพื่อการกุศล • ตัวอย่างที่ลงรายจ่ายได้ • ตัวอย่างที่ลงรายจ่ายไม่ได้
4. รายจ่ายส่วนตัว, รายจ่ายโดยเสน่หา, รายจ่ายเพื่อการกุศล ขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่
5. ประเด็นค่ารับรองที่ต้องระวัง!!! ทั้งด้านรายจ่ายและการขอคืนภาษีซื้อ • การเลี้ยงรับรองลูกค้าจัดร่วมกับเลี้ยงประจําปีพนักงาน • ซื้อของมารับรองลูกค้าอยู่ในบิลเดียวกับซื้อของมาใช้ในกิจการ • ซื้อของมารับรองลูกค้าเกินกว่า 2,000 บาทต้องบวกกลับทั้งจํานวน หรือบวกกลับเฉพาะส่วนที่เกิน • ซื้อของมาเพื่อเป็นสวัสดิการพนักงาน แต่ความเป็นจริงก็รับรองลูกค้าในบางโอกาสสรรพากรจะทราบได้อย่างไร • ค่ารับรองกับส่งเสริมการขายต่างกันอย่างไร • ค่ารับรองกับรายจ่ายส่วนตัวต่างกันอย่างไร จุดที่จะใช้พิจารณา
6. ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับรายจ่ายส่งเสริมการขายประเด็นทางด้านภาษีมูลเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกี่ยวข้อง • การส่งเสริมการขายต้องระวังรายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากําไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะส่งเสริมการขายแบบนี้จะมีภาระภาษีอย่างไร • จําเป็นต้องมีแผนการตลาดให้สรรพากรตรวจสอบหรือไม่ • ถ้าพิสูจน์ผู้รับของรางวัลไม่ได้จะมีผลอย่างไร • กรณีผู้รับรางวัลไม่มารับของบริษัทจะทําอย่างไร
7. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเป็นอย่างไรและทําไมถึงลงรายจ่ายไม่ได้ • ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกําไร กับซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างออฟฟิศต่างกันหรือไม่ • ค่าถมที่เป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ค่าถมที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ • ค่าถมที่เป็นส่วนเพิ่มของที่ดิน หรือเป็นต้นทุนของอาคาร • กรณีผู้ขายที่ดินช่วยจ่ายค่าถมที่ให้ผู้ซื้อบางส่วนผู้ซื้อต้องรับรู้รายได้หรือไม่ • กรณีซื้อรถเก่าราคาถูกมาใช้ในกิจการต้นทุนตํ่าแต่มีค่าซ่อมแซ่ม ค่าซ่อมแซ่มจะลงเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนของรถ
8. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนถ้ามีภาษีมูลค่าเพิ่มจะขอคืนได้หรือไม่
9. ปัญหาการคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ทรัพย์สินที่ต้องบวกกลับ และประเด็นภาษีซื้อที่ต้องระวัง • รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารไม่เกิน 10 ที่นั่งถ้าทําสัญญาแบบลิสซิ่งจะคิดค่าเสื่อมได้หรือไม่ และเงินดาวน์จะลงรายจ่ายอย่างไร ภาษีซื้อขอคืนได้ทั้งจํานวนหรือไม่ • ค่าเช่าซื้อรถถ้าสูงกว่าค่าเสื่อมที่คํานวณได้จะลงรายจ่ายได้เท่าไร • กรณีคิดค่าเสื่อมอาคาร, สวนหย่อม, โรงรถ 10 ปี ตามนโยบายบริษัทที่กําหนดให้สร้างใหม่ทุก ๆ 10 ปี ทําได้หรือไม่ • ก่อสร้างอาคารเพื่อให้เช่าภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ค่าติดตั้งลิฟต์ ระบบนํ้า ระบบไฟ ขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ • ก่อสร้างถนนบนที่ดินของผู้อื่นจะคิดค่าเสื่อมได้ หรือไม่ • ซื้อห้องชุดไว้เพื่อการรับรองลูกค้าหรือผู้บริหารจากต่างประเทศจะคิดค่าเสื่อมได้หรือไม่
10. รายจ่ายที่เกี่ยวกับพนักงาน, กรรมการ,ผู้เป็นหุ้นส่วน • ค่ารถพนักงาน : เช่ารถพนักงาน, ค่านํ้ามันรถ • จ่ายค่านํ้ามันรถให้พนักงานตามเลขไมล์แต่ให้พนักงานแนบบิลมาด้วยเพื่อขอคืนภาษีซื้อทําได้หรือไม่ • เงินเดือนกรรมการ, ค่าเบี้ยประชุม • กรณีซื้อรถประจําตําแหน่งให้กรรมการใช้แบบใดบริษัทถึงจะลงรายจ่ายได้ : ซื้อให้กรรมการเลย กับซื้อในนาม บริษัทแต่ให้กรรมการใช้ • ค่าซ่อมรถกรรมการ • ค่าเบี้ยประกันชีวิตญาติกรรมการ • ผลตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วน • จ่ายค่าซินแสดูดวง, ดูฮวงจุ้ย
11. รายจ่ายที่เกี่ยวกับงานเลี้ยงปีใหม่ • ของขวัญ, ของแจกในงานปีใหม่ที่ให้กับพนักงานลงรายจ่ายได้หรือไม่ ภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ • จ่ายค่าสถานที่จัดงาน, ค่านักร้อง, นักดนตรี, ค่าอาหาร และเครื่องดื่ม จะลงรายจ่ายได้หรือไม่ และจะขอคืนภาษีซื้ออย่างไร
12. Case Studies การพิสูจน์รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงการพิสูจน์ตัวตนผู้รับเงิน
13. Case Studies รายจ่ายเพื่อการกุศล • กรณีบริจาคให้กับองค์กรการกุศลต่างประเทศจะลงรายจ่ายได้หรือไม่ • นําสินค้าไปบริจาคจะมีประเด็นเรื่องภาษีซื้อที่เคยขอ คืนไปแล้วหรือไม่ • จุดที่มักถูกประเมินเมื่อมีการบริจาค
|