ประเด็นร้อน “สวัสดิการพนักงาน” > จัดงานเลี้ยงปีใหม่อย่างไร ไม่ต้องนำมูลค่าของ “ของขวัญ” มารวมเป็นเงินได้พนักงาน > จ่าย ค่าเบี้ยเลี้ยง, เบี้ยขยัน, โบนัส ทำอย่างไร? ให้พนักงานได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ฯ > บริษัทจัดให้มีการ “ฉีดวัคซีน” ให้พนักงาน ทำอย่างไร? ไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน
• Update!!! ภาระภาษีกับสวัสดิการใหม่ในปี 2567 ที่ฝ่ายบุคคลต้องตามให้ทัน • จัดอบรมพนักงาน Public/In-House Training ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ต้องทำรายงานอย่างไร • ปัญหาการคำนวณภาษีจากเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
วิทยากรโดย รศ.เพิ่มบุญ แก้วเขียว
หัวข้อสัมมนา
1. ภาษีที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีต้องรู้ - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - กฎหมายใหม่ที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีไม่ควรพลาด
2. เมื่อยื่นแล้วสามารถแก้ไขได้หรือไม่ - ลย.01 - กรณีพนักงานแจ้ง ลย.01 ผิด ใครต้องรับผิดชอบ
3. เกณฑ์การตรวจสอบของสรรพากรเกี่ยวกับประเภทรายได้ของพนักงานลูกจ้าง
4. ประเด็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างที่ฝ่ายบุคคลและผู้บริหารต้องรู้เพราะมักถูกสรรพากรตรวจสอบ
5. เขียนสวัสดิการอย่างไรให้บริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่เป็นรายได้พนักงาน
6. สวัสดิการที่ให้พนักงานจะเลือกให้แค่บางปีได้หรือไม่
7. Case Studies ทางภาษีที่เกี่ยวกับการให้สวัสดิการพนักงานที่สรรพากรมักตรวจสอบ พร้อมวิธีการแก้ปัญหา - การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษพนักงาน, เบี้ยขยัน, ค่าล่วงเวลา, โบนัส - เงินประจําตําแหน่งผู้บริหารอยู่ในโครงสร้างเงินเดือนหรือไม่ - ค่าคอมมิชชั่นมีหลักเกณฑ์การจ่ายอย่างไร - ค่าครองชีพมีเงื่อนไขการจ่ายอยู่ที่เหตุผลใด - ค่าจ้างคนขับรถต้องจ่ายทุกครั้ง? จ่ายเป็นรายเดือนได้หรือไม่ อย่างไร - เบี้ยเลี้ยงจ่ายให้กับพนักงานฝ่ายไหน อัตราใด - ค่าน้ำมันรถส่วนตัวของพนักงาน มีการอนุมัติและผ่านการตรวจสภาพหรือไม่ จ่ายตามจริงหรือเหมาจ่ายรายเดือน - จ่ายค่าโทรศัพท์ให้พนักงาน - โบนัสเป็นลักษณะผันแปรหรือคงที่ และจ่ายจากยอดขายหรือผลกําไร - ค่ารักษาพยาบาลให้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกด้วย หรือไม่ - สนับสนุนพนักงาน WFH (Work From Home) จัดหาอุปกรณ์ อินเทอร์เน็ต ระบบ VPN, โทรฟรี, ซอฟต์แวร์ประชุมออนไลน์พิสูจน์การใช้งานอย่างไร - เปลี่ยน Smart Phone หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทุกปี - จัดอบรมพนักงาน Public/In-House Training ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ต้องทํารายงานอย่างไร กรณีใดต้องบันทึก VDO - การประกันภัยกลุ่มพนักงาน ระบุผู้ใดเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ - ซื้อประกันสุขภาพ/ประกันโรคติดต่อให้พนักงาน หรือให้พนักงานซื้อแล้วนํามาเบิกบริษัท - ทุนการศึกษาของพนักงานต้องไปเรียนในด้านใด - ทุนการศึกษาบุตรของพนักงานมีการกําหนดระดับการศึกษาหรือไม่ - ช่วยเหลืองานสมรส ต้องมีทะเบียนสมรสหรือไม่ - ช่วยเหลืองานศพ ต้องจัดทําพวงหรีดและวางไว้ ณ จุดใด - ออกภาษีให้พนักงานต้องกําหนดในระเบียบหรือหนังสือสัญญา - การเลี้ยงอาหารกลางวันและเครื่องดื่มต่างจากการให้น้ำดื่มอย่างไร - การจัดกิจกรรมตามประเพณี, ทําบุญประจําปี, แข่งขันกีฬาสี, จัดงานปีใหม่ ระบุเหตุผลในการจัดอย่างไร - การใช้รถประจําตําแหน่งของผู้บริหารหลังเลิกงานแล้วจอดที่ใด - รถรับ-ส่งพนักงานต่างจากรถรับ-ส่งนักเรียนอย่างไร - ให้พนักงานกู้ยืมเงินคิดดอกเบี้ยต่ำ หรือ 0% - ให้หรือขายหุ้นแก่พนักงานในราคาต่ำกว่าราคาตลาด - ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ลูกจ้างที่เป็นคนพิการ
8. การคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ต้องระมัดระวัง - เริ่มทํางานปีแรก - ปรับเงินเดือนระหว่างปี - เกษียณอายุ - ลาออกจากงาน - เลิกจ้าง - ลาออกจากกองทุน
9. กรณีจ้าง Out source ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
10.เมื่อมีการทุจริตจะบังคับให้ชดใช้จากเงินเดือนได้หรือไม่ ในทางภาษีจะคํานวณอย่างไร
11.ตรวจสอบข้อบังคับการทํางาน และระเบียบสวัสดิการพนักงาน
12.ประเด็นสวัสดิการที่มีปัญหากับประกันสังคม
13.การลงรายจ่ายค่าอบรม 200% ต้องทําอย่างไร - Public Training - In-house Training
|