การวางแผนภาษีการจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร และการตั้งสำรองตามกฎหมาย

รหัสหลักสูตร : 21/01818P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,243 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,992 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การวางแผนภาษีการจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร
และการตั้งสำรองตามกฎหมาย

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี
อื่นๆ 6 ชม.

 

  • ปัญหาการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่ประกอบกิจการ BOI และ NON BOI
  • ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินปันผลจากกำไรหลายๆปีรวมกัน
  • ประเด็นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกอย่างไรให้ถูกต้อง
  • การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลทำได้หรือไม่



วิทยากรโดย อาจารย์วิชัย จึงรักเกียรติ

หัวข้อสัมมนา

 
1. หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการจ่ายเงินปันผลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.1. บริษัทจะประกาศจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด
1.2. การจ่ายเงินปันผล ต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อใด
- ขั้นตอนการ “บอกกล่าว” การจ่ายเงินปันผลตามกฎหมาย
1.3 เมื่อมีประกาศจ่ายเงินปันผลแล้ว ต้องจ่ายเงินให้ผู้ถือหุ้นภายในกี่วัน
1.4 การจ่ายเงินปันผลที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายกรรมการต้องรับผิดอย่างไร
- ต่อเจ้าหนี้
- ผู้ถือหุ้น
1.5 จ่ายเงินปันผลปีละหลายๆ ครั้งได้หรือไม่
1.6 ถ้ามีการอนุมัติจ่ายเงินปันผลแล้ว ภายหลังจะยกเลิกการจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- กรณียังไม่ได้จ่ายเงินปันผล
- กรณีจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นแล้ว
2. ใครคือผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผล คณะบุคคลสามารถรับเงินปันผลได้หรือไม่
3. การจ่ายเงินปันผล สามารถจ่ายเป็นทรัพย์สิน หุ้น หรือทรัพย์สินอื่นๆ นอกจากเงินได้หรือไม่
4. บริษัทต้องตั้งสำรองการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไร
- กิจการร่วมค้าต้องตั้งสำรองด้วยหรือไม่
5. การจ่ายเงินปันผลของบริษัททั่วไป กับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
6. การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลต้องทำอย่างไร
7.การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม
อัตราภาษีที่เสียในแต่ละปีจากกำไรสะสมที่จ่าย
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการใช้เครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องดูอย่างไร
8. ธุรกิจมีขาดทุนอยู่แต่จะจ่ายเงินปันผลทำได้หรือไม่ต้องทำอย่างไร
- การลดทุนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมทำได้หรือไม่
- มีขาดทุนสะสมแต่ปีปัจจุบันมีกำไรจะจ่ายเงินปันผลได้ หรือไม่
- มีกำไรสะสมแต่ปีปัจจุบันขาดทุน
- มีขาดทุนสะสมแต่มีการเพิ่มทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมจะจ่ายเงินปัน ผลได้หรือไม่
- บริษัทมีกำไรแต่ไม่มีเงินสด จะจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นแทนได้หรือไม่
- บริษัทขาดทุนสะสมและมีการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในกิจการและนำมาจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อนำมาจ่ายเงินปันผลจะลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
9. การรับรู้รายได้และรายจ่ายสำหรับผู้รับเงินปันผลและผู้จ่ายเงินปันผลทั้งบริษัทในและนอกตลาดหลักทรัพย์
- ผู้รับเงินปันผลจะรับรู้รายได้เมื่อใด
- ในกรณีที่ไม่ทราบวันที่ปิดสมุดทะเบียนต้องปฏิบัติอย่างไร
10.การวางแผนการจ่ายเงินปันผลเพื่อประโยชน์ทางภาษีของบริษัทและผู้ถือหุ้น
- สิ่งที่ต้องระวังเมื่อบริษัทมีกำไร ผลทางภาษีต่างกันอย่างไร ระหว่าง “คืนทุน” กับ “จ่ายเงินปันผล”
- บริษัทมีกำไรแต่ไม่จ่ายเพราะนำเงินไปขยายกิจการต่อมากู้เงินมาจ่ายปันผลทำได้หรือไม่
- การลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเมื่อได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไร
11.การจ่ายเงินปันผลของกิจการ BOI และ Non BOI มีวิธีการจ่ายอย่างไร
- กรณี BOI มีกำไรแต่ Non BOI ขาดทุนจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
- ผู้ได้รับเงินปันผลจาก BOI ต้องถือเงินปันผลไว้หน้า 3 หลัง 3 หรือไม่จึงจะได้รับยกเว้น
- ผู้ที่ได้รับเงินปันผลจาก BOI นำเงินปันผลไปจ่ายต่อกันเป็นทอด ๆ จะยังได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
- Trick ในการจ่ายเงินปันผลของกิจการ BOI
12.การยกเว้นภาษีเงินปันผลตามมาตรา 65 ทวิ(10)
- การจ่ายเงินปันผลของบริษัท Holding Company มีเงื่อนไขอย่างไร
- การนับระยะเวลาการถือหุ้น หน้า 3 หลัง 3 นับอย่างไร
- การยกเว้น 100% , การยกเว้นกึ่งหนึ่ง
13.ปัญหาการจ่ายเงินปันผล กรณีมีการควบ โอนกิจการ
- การนับระยะเวลาการถือหุ้นเริ่มนับอย่างไร
- การควบ โอนกิจการทำอย่างไรจึงจะได้รับยกเว้นภาษีจากการจ่ายเงินปันผล
14.ภาระภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินปันผลจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์
15.ปัญหาภาษีกรณีการจ่ายเงินปันผลผ่านจากกำไรหลายชั้น
16.หลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีที่ได้รับจากบริษัทต่างประเทศมีเงื่อนไขอย่างไร
- เงินปันผลที่ได้รับยกเว้น
- เอกสารและวิธีการยกเว้น
- ระยะเวลาการถือหุ้น
- อัตราภาษีที่บริษัทต่างประเทศได้เสียภาษีจากเงินปันผล
- Holding Company ในบริษัทต่างประเทศจะได้รับยกเว้นหรือไม่
17. หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย จากการจ่ายเงินปัน ส่วนแบ่งกำไร
- เงินปันผลที่ต้องหัก และไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

 

 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์วิชัย จึงรักเกียรติ

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba