- ประเด็นการหัก ณ ที่จ่ายในระบบ e-Withholding Tax ที่พบในทางปฏิบัติมากที่สุดของทุกกิจการ
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ระบบ ต้องทำอย่างไร
วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์
หัวข้อสัมมนา
1. วิธีปฏิบัติตามหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
- ใครบ้างที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและใครเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- การใช้เกณฑ์ในการหัก ณ ที่จ่าย
- ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เงื่อนไขต่างๆ ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- สั่งจ่ายเช็คไว้แล้ว แต่ผู้รับไม่มารับเช็คจะต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
- การจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและยกเว้นไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
- การหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่ละครั้งต้องใช้อัตราใด
- การหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยเช็ค และตั๋วเงินที่ลงวันที่ล่วงหน้า และการจ่ายเงินด้วยเงินตราต่างประเทศ
- การหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่ 1,000 บาทตามสัญญาระยะยาวและการจ่ายเงินครั้งต่อครั้ง มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- แบบที่ใช้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้อง
- หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- รูปแบบของหนังสือรับรองที่ถูกต้อง
- ระยะเวลานำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- กรณีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แต่ไม่มีหลักฐานจะแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้อง
- กรณีถูกหักภาษีไว้ในอัตราที่เกิน จะขอคืนได้หรือไม่
- ความรับผิดชอบของผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- บทลงโทษต่างๆ กรณีหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ไม่ถูกต้อง
2. ประเด็นปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านระบบ e-Withholding Tax
- ผู้เกี่ยวข้องในระบบ e-Withholding Tax
- หน้าที่ผู้หักและผู้ถูกหักที่เปลี่ยนไปเมื่อใช้ระบบ e-Withholding Tax
- ข้อมูลที่ต้องแจ้งธนาคารเมื่อใช้ระบบ e-Withholding Tax
- ระยะเวลาที่ได้รับสิทธิหักณที่จ่ายอัตราใหม่ 2%
- อัตราการหักภาษีใหม่ 2% ใช้กับกรณีใดบ้าง
- แนวโน้มค่าธรรมเนียมการใช้บริการกับการลงรายจ่าย 2 เท่า
- ต้องเข้าระบบ e-Withholding ทุกกิจการหรือไม่หรือเลือกได้
- ผู้ที่รับผิดในทางภาษีอากรเมื่อหักภาษี ณ ที่จ่ายผิด
- กรณีใช้ระบบ e-Withholding Tax แล้วหักผิด/หักขาด/หักเกินแจ้งแก้ไขกับใครอย่างไร
- เมื่อเข้าระบบ e-Withholding Tax ยังต้องออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายและนําส่งภาษีหรือไม่
- เมื่อเข้าระบบ e-Withholding Tax แล้วต้องนําส่งแบบ ภ.ง.ด.1, 2, 3 และ 53 หรือไม่
- เมื่อเข้าระบบ e-Withholding Tax แล้วสิ้นปีต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ก, 2 ก และ 3 ก หรือไม่
- กิจการสามารถใช้ระบบ e-Withholding Tax ไปพร้อมกับการหัก ณ ที่จ่ายแบบเดิมได้หรือไม่ หัก ณ ที่จ่ายอัตราใด
- เอกสารและรูปแบบการจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษีณที่จ่ายในระบบ e-Withholding Tax
- การเตรียมพร้อมของนักบัญชีเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดเมื่อใช้ระบบ e-Withholding Tax
3. การจ่ายเงินในกรณีต่อไปนี้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร
- การจ่ายเงินซื้อสินค้าทั่วไป ที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจ
- การจ่ายเงินค่าบริการโรงแรม
- การจ่ายเงินให้ภัตตาคารหรือร้านอาหาร
- การจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต
- การจ่ายเงินค่าขนส่งสาธารณะ
- การจ่ายเงินค่าเช่าแบบลีสซิ่ง
4. หลักเกณฑ์เงื่อนไข การแก้ไขปัญหา และวิธีปฏิบัติที่มักหักภาษี ณ ที่จ่าย
4.1 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(2) รับจ้างทำงานให้
- การจ่ายค่านายหน้า ตัวแทน จากการขายสินค้าหรือให้บริการ
- การจ่ายค่านายหน้าให้แก่พนักงานของกิจการบุคคลภายนอก จะต้องหักภาษีในอัตราใด
- การจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลจะต้องหักภาษีอัตราใด
- หากเป็นนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราใด และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- ปัญหาความผิดพลาดในการยื่นแบบชำระภาษีของค่านายหน้าที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
- การจ่ายให้แก่ที่ปรึกษา ค่าวิทยากร มีหลักเกณฑ์การคำนวณอย่างไร
- การจ่ายค่าจ้าง Shipping ในการออกของจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
- การจ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ Shipping จะต้องหักภาษีหรือไม่
- การจ่ายเงินค่าบริการออกของให้ Shipping จะหักภาษีในอัตราใด
4.2 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(3) ค่าสิทธิ
- เมื่อกิจการจะต้องจ่ายเงินค่าสิทธิ ลิขสิทธิ์ Royalty Software จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
- ซื้อคอมพิวเตอร์พร้อมซอฟต์แวร์จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ หักอัตราใด
- ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ หักอัตราใด
- กรณีใดบ้างที่กิจการซื้อซอฟต์แวร์แล้วไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
4.3 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(4)(ก) ค่าดอกเบี้ย
- การจ่ายค่าดอกเบี้ยให้กับผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องหักภาษีหรือไม่
- การจ่ายค่าดอกเบี้ยให้กับผู้รับซึ่งเป็นนิติบุคคลจะหักภาษีอัตราใด
- การจ่ายค่าดอกเบี้ยให้กับมูลนิธิ สมาคม มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไร
- การจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยมีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- การให้กู้ยืมเงินของบริษัทในเครือจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และมีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
- การให้พนักงานกู้ยืมเงินไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่
4.4 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(4)(ข) เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร
- จ่ายเงินปันผลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราใด
- กรณีผู้รับเงินปันผลเป็นนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราใด และมีกรณีใดยกเว้น
ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- มีกรณีใดบ้างที่จ่ายเงินปันผลไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร และใครบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้รับมีใครบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี หรือได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่ง
4.5 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(5) ค่าเช่าทรัพย์สิน
- ปัญหาภาษีอากรการให้เช่าสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
- การจ่ายเงินกินเปล่า เงินล่วงหน้า เงินประกัน จะต้องถือเป็นรายได้และหักภาษีหรือไม่
- การจ่ายเงินค่างวดในแต่ละเดือนจะต้องหักภาษีอย่างไร
- กรณีจ่ายเงินค่าเช่าทรัพย์สิน แต่ผู้ให้เช่าไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องสรรพากรยอมรับ
- เช่าอาคารสำนักงาน ได้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า ทำประกันภัยอาคารที่เช่า ผู้ให้เช่ามีภาระภาษีอย่างไร จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- เช่าที่จอดรถในอาคารสำนักงานจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่มีหลักเกณฑ์อย่างไร การจ่ายเงินค่าเครื่องปรับอากาศของอาคารที่เช่าจะหักภาษีในอัตราใด
- เช่าอาคารสำนักงานต้องจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาจะต้องหักภาษีหรือไม่
- ผู้เช่าว่าจ้างให้เจ้าของอาคารจัดหาดอกไม้ ต้นไม้ รูปภาพ มาประดับในอาคารจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และหักในอัตราใด
- เช่าสถานที่ (บูธ) ในการจัดงานแสดงสินค้าจะต้องหักภาษีในอัตราใด มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร
- สัญญาเช่าต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่ ใครเป็นผู้เสีย
- การให้บริษัทในเครือใช้สถานที่ทำงานร่วมกันจะต้องคิดค่าเช่าหรือค่าบริการ
- การจ่ายค่าเช่าแบบลิสซิ่งจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และอย่างไรเรียกว่า ค่าเช่าแบบลิสซิ่งตามประมวลรัษฎากร
4.6 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(6) วิชาชีพอิสระ
- อย่างไรเรียกว่าวิชาชีพอิสระ และหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราใด
- การจ่ายเงินค่าจ้างทำบัญชีถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใดจะต้องหักอัตราใด
- การจ่ายเงินให้กับทนายความ สอบบัญชี รับจ้างทำบัญชี จะต้องปฏิบัติอย่างไรในการหักภาษี ณ ที่จ่าย
4.7 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(7) รับเหมาก่อสร้าง
- อย่างไรถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7) และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ผู้รับเหมาแยกค่าวัสดุและค่าแรงออกจากกันจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
- ผู้ว่าจ้างซื้อวัสดุก่อสร้างเอง แต่จ้างผู้รับเหมาเฉพาะค่าแรง จะหักภาษีในอัตราใด
4.8 การจ่ายเงินตามมาตรา 40(8) เงินได้ที่นอกเหนือจากมาตรา 40(1)-(7)
(1) การจ่ายรับจ้างทำของ
- อย่างไรเรียกว่ารับจ้างทำของที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- ข้อแตกต่างระหว่างรับจ้างทำของกับการขายสินค้า
- การขายสินค้าพร้อมติดตั้งจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- หากกิจการรับจ้างผลิต แต่ปกติผลิตขาย จะหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- การขายสีพร้อมทาถือเป็นการขายสินค้าหรือบริการ
- การขายเครื่องปรับอากาศพร้อมติดตั้ง การขายลิฟท์พร้อมติดตั้ง จะหักภาษีอย่างไร
- การแยกบิลค่าสินค้ากับค่าบริการหรือค่าแรงออกจากกันจะต้องหักภาษีหรือไม่
- การออกบิลใบเดียวแต่แยกรายการสินค้าและค่าแรงคนละบรรทัดจะต้องหักภาษีหรือไม่ และหักในอัตราใด
- การออกบิลค่าสินค้ากับค่าแรงรวมอยู่ในบิลใบเดียวกันจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
- ค่าซ่อมรถยนต์แยกค่าแรงออกจากค่าอะไหล่จะหักภาษีอย่างไร
- ซื้อยางรถยนต์และเปลี่ยนยางให้จะต้องหักภาษีหรือไม่
- กิจการผลิตถุงพลาสติกออกจำหน่าย ต่อมามีลูกค้ามาจ้างให้ผลิตถุงพลาสติก ค่าจ้างผลิต
จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- ค่าถ่ายเอกสาร ค่าโรเนียวเอกสาร จ้างพิมพ์บิล พิมพ์นามบัตร มีหลักเกณฑ์หักภาษีอย่างไร
- การจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราใดในการ
หักภาษี ณ ที่จ่าย
(2) การจ่ายเงินค่าโฆษณา
- การจ่ายเงินค่าโฆษณากรณีใดต้องหักภาษี และกรณีใดยกเว้นไม่ต้องหัก
- การจ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าบริการผ่านตัวแทนโฆษณาจะต้องหักภาษีในอัตราใด
- การจ่ายเงินค่าจ้างทำป้ายโฆษณา พร้อมติดตั้งจะหักภาษีเท่าใด
(3) การจ่ายเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
- ความแตกต่างของรางวัลเนื่องจากการส่งเสริมการขายกับรางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชค และอัตราภาษีที่ต้องหัก
- อย่างไรเรียกว่ารางวัลอันเนื่องจากส่งเสริมการขายและจะต้องหักภาษีในอัตราใด
- การให้รางวัลแก่พนักงาน ลูกค้าไปเที่ยวต่างประเทศมีภาระภาษีอย่างไร
- การให้ส่วนลดแก่ลูกค้าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- การพิจารณาว่าลูกค้าซื้อไปใช้กับลูกค้าซื้อไปขายต่อมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- กิจการออกใบกำกับภาษีไปแล้ว ต่อมาได้มีการให้ส่วนลดต้องหักภาษีหรือไม่
- การใช้คูปองส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไปจะต้องหักภาษีหรือไม่มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- การสะสมแสตมป์ส่วนลดหรือจำนวนเงินเพื่อใช้สิทธิในการซื้อสินค้าหรือบริการจะมีหลักเกณฑ์หักภาษีอย่างไรบ้าง
- การให้ส่วนลดทันทีกับการให้ส่วนลดเมื่อมีการชำระเงินจะต้องหักภาษีอย่างไรบ้าง
- ประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายหมายความว่าอย่างไร และมีเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
(4) การจ่ายเงินค่าเบี้ยประกัน
- ความแตกต่างของการประกันชีวิตกับการประกันวินาศภัย
- ประกันชนิดใดที่ยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าเบี้ยประกัน
(5) การจ่ายรางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชคจับฉลาก
- การจัดให้มีการชิงโชคจับฉลากจะต้องหักภาษีอัตราใด
- นอกจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วยังมีภาระภาษีอะไรอีกบ้าง
- การให้รางวัลชิงโชคเป็นบัตรกำนัล บัตรของขวัญ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- การแจกรางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชคจับฉลากจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อใด มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง
(6) การจ่ายค่าบริการต่าง ๆ
- อย่างไรเรียกว่าค่าบริการ
- การจ่ายเงินค่าบริการธนาคาร บริการโทรศัพท์มีหลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
- การจ่ายเงินค่าไฟฟ้าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- การจ่ายค่าธรรมเนียมโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การจ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านธนาคารมีหลักเกณฑ์ หักภาษีอย่างไร
(7) การจ่ายเงินค่าขนส่ง
- ความหมายของค่าขนส่ง และภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่ง
- ความแตกต่างของค่าขนส่งทั่วไปกับขนส่งสาธารณะ
- การขายสินค้าพร้อมขนส่งจะหักภาษีอย่างไร
- การให้บริการพร้อมขนส่งจะหักภาษีอย่างไร
- จ้างรถจักรยายนต์ให้ส่งจดหมาย ส่งเอกสารให้จะหักภาษี 3% หรือ 1%
- จ้างรถรับส่งพนักงานจะหักภาษี 1%, 3% หรือ 5%
- การจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินจะต้องหักภาษีหรือไม่
(8) การจ่ายเงินค่าจ้างนักแสดงสาธารณะ
- นักแสดงสาธารณะหมายถึงใครบ้าง และหักภาษีอัตราใด
- DJ, โฆษก ถือเป็นนักแสดงสาธารณะหรือไม่
- จ้างดารามาเป็นพิธีกรในงานแนะนำสินค้าจะหักภาษีเท่าใด
- ผู้จัดการนักแสดงเป็นเงินได้ประเภทใด หักภาษีอัตราใด
เงื่อนไขการเข้าอบรม 1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม
** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **
|