• การบันทึกรายการรับ–จ่าย เป็นพื้นฐานขั้นต้นที่สําคัญเพื่อใช้ในการวางแผน และคํานวณการเสียภาษีให้ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดของกิจการ โดยการจัดทํารายงานรับ-จ่ายต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสรรพากรด้วย
• หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ...นักบัญชีมือใหม่, นักบัญชีที่เพิ่งเริ่มทำงานบัญชี หรือผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านบัญชีมาก่อน
• เตรียมพร้อม!! สำหรับนักบัญชีที่ต้องการเรียนรู้งานด้วยตนเอง เรียนรู้งานอย่างไร ให้เป็นงานไว
วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์
หัวข้อสัมมนา
การรับรู้รายได้ทางภาษี เอกสารประกอบการลงบัญชีที่นักบัญชีต้องรู้
1.หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี, ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้
2.การรับชำระเช็ค หรือสำเนาใบโอนเงินผ่านธนาคารหรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
3.การตรวจสอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีการทำรายงานฯ เพื่อขอคืนภาษีกับสรรพากร
4.การคำนวณยอดในใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย เพื่อบันทึกบัญชี
5.วิธีการจัดทำรายงานภาษีขาย พร้อมวิธีการนำส่งผ่าน e-Filing
รายจ่ายของกิจการ ลงรายจ่ายอย่างไรไม่ให้เป็นรายจ่ายต้องห้ามทั้งข้อกฎหมายและเอกสารที่สรรพากรยอมรับ
1.รายจ่ายของกิจการ มีอะไรบ้างที่นักบัญชีต้องรู้
- ทางภาษีลงได้เท่าทางบัญชี
- ทางภาษีลงได้น้อยกว่าทางบัญชี
- ทางภาษีลงได้มากกว่าทางบัญชี
- ทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย แต่สามารถลงเป็นรายจ่ายทางบัญชีได้
2.การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี กรณีกิจการมีการจ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ ทำอย่างไรให้ลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
- ใบขอซื้อ PR, ใบสั่งซื้อ PO, Memo ภายใน ต้องมีลายเซ็นผู้อนุมัติหรือไม่
- กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกหลักฐานการรับเงิน
- กรณีหลักฐานการรับเงินไม่สมบูรณ์
- ผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินและไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
3.กรณีจ่ายแบบมีใบกำกับภาษีหรือใบแจ้งหนี้แนบเป็นหลักฐาน ประเด็นภาษีที่ต้องทราบและบันทึกบัญชีอย่างไร
- ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินปรากฏเป็นชื่อผู้อื่น
- ได้รับใบกำกับภาษีมา แต่ที่อยู่ของผู้ออกไม่ตรงกับ ภ.พ.20
- ได้รับใบกำกับภาษีปลอม ต้องทำอย่างไร
4.ภาษีซื้อกับรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นักบัญชีต้องรู้!!
- รายจ่ายที่ยังไม่ถึงกำหนด ต้องบันทึกภาษีซื้อหรือไม่อย่างไร
- ขอคืนได้
- ภาษีซื้อต้องห้าม/ที่ไม่ขอคืน
5.วิธีการจัดทำรายงานภาษีซื้อ พร้อมวิธีการนำส่งผ่าน e-Filing
6.วิธีการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงิน พร้อมการนำส่งกรมสรรพากร