บรรยายโดย อ.พงษ์ธร ดวงปัญญา
หัวข้อสัมมนา
1. เกณฑ์ในการเข้าตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
2. ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงิน และผู้ทำบัญชีต่อการจัดทำบัญชี
3. ข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับรายการทางการเงินที่พบได้บ่อยจากการตรวจสอบบัญชี
ที่นักบัญชีต้องระวัง
3.1. งบฐานะการเงิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชี ที่นักบัญชีต้องเตรียม
- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการประกอบกิจการ
- เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ ไม่น่าเชื่อถือ
- ไม่มีเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี เช่น รายการรับ-จ่าย เงินยืมกรรมการ
- นำค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการมาบันทึกบัญชี
- บันทึกรายการซื้อ/ขายเป็นเงินสด แต่ไม่มีหลักฐานการชำระเงิน
และใช้ใบส่งของเป็นหลักฐาน แทนใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
- ลูกหนี้การค้า ไม่มีตัวตน หรือมีตัวตนแต่มูลค่าไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ
และการคิดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไม่เหมาะสม
- สินค้าคงเหลือ แสดงมูลค่าราคาทุนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
- เงินลงทุน จัดประเภทไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การถือครองโดยฝ่ายจัดการ
และนำเสนอรายการในงบการเงินไม่ถูกต้อง
- เงินให้กู้ยืมระยะยาว ไม่สามารถตรวจสอบกับเอกสารหลักฐาน เงื่อนไขและระยะเวลาชำระคืน
หรืออัตราตอบแทนที่ชัดเจน
- ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ การตั้งราคาทุน การคำนวณค่าเสื่อมราคา และการคำนวณมูลค่าคงเหลือ
ของสินทรัพย์เมื่อหมดประโยชน์
การใช้งาน ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางการเงิน
- หนี้สิน จำแนกหนี้สินระยะสั้น และ หนี้สินระยะยาวไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
แสดงรายการหนี้สินไม่ครบถ้วน เช่น รายการค่าใช้จ่าย
ค้างจ่าย ประมาณการหนี้สินจากภาระผูกพันสัญญาประเภทต่างๆ ที่มีต่อบุคคลที่ 3
- ส่วนของเจ้าของ มีการแสดงรายการทุนจดทะเบียน กำไร(ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว
หรือยังไม่ได้จัดสรรให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง
- บันทึกรายการทางบัญชีไม่เป็นไปตามขั้นตอนการจัดทำบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
- องค์ประกอบอื่นในส่วนของเจ้าของ แสดงรายการไม่สมบูรณ์
- ยอดยกมาต้นงวดไม่ตรงกับยอดคงเหลือในงบการเงินปีก่อน
3.2 งบกำไรขาดทุน กับประเด็นที่นักบัญชีต้องพิจาราณา
- รายได้หลักของกิจการ แสดงรายได้ และองค์ประกอบของรายได้ สูงไปหรือต่ำไป
ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์คงค้าง และลักษณะของธุรกิจ
- ต้นทุนขาย แสดงสูงหรือต่ำไป อันเป็นผลจากการวัดมูลค่าต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
ไม่สอดคล้องกับการบริหารต้นทุนและการรวบรวมข้อมูลต้นทุน
- อัตรากำไรขั้นต้นเปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนทั้งที่ลักษณะธุรกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็น
สาระสำคัญ หรือกำไรขั้นต้นสูงหรือต่ำกว่าแผนงานที่กำหนด
- ค่าใช้จ่ายในการขาย และ บริหาร ไม่ได้รับการจัดประเภท หน้าที่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและค่าใช้จ่ายสูงหรือต่ำไป
3.3 หมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่นักบัญชีต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน
- หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วนตามมาตรฐาน
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณถูกนำเสนอไม่เพียงพอ
เพื่อการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน
4. แนวทางการบริหารความเสี่ยง เมื่อพบข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการจัดทำบัญชี
และรายงานทางการเงิน
5. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
|