- Update!!! ค่าลดหย่อนทางภาษีของบุคคลธรรมดา, ค่าใช้จ่ายอัตราภาษีปี 2567
- รู้ทัน ช่องทางการตรวจสอบภาษีของสรรพากรว่าเสียภาษีครบหรือไม่ จากธุรกรรมทางการเงิน รับโอน-ฝากเงิน, ดอกเบี้ยเงินฝาก
- การจัดเตรียมเอกสารและแนวทางการชี้แจงเมื่อสรรพากรเรียกตรวจสอบจากการยื่นแบบทาง Internet
วิทยากรโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายภาษีอากร
หัวข้อสัมมนา
1. Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2567
• กรณีมีรายได้ทั้งในและนอกประเทศต้องคำนวณเสียภาษีอย่างไร มีข้อยกเว้นหรือไม่
2. การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2567 • มนุษย์เงินเดือนมีเงินได้เท่าไหร่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - สมรส - โสด • กรณีมีรายได้ขั้นต่ำต่อปีที่สรรพากรกำหนด (60,000 120,000 และ 220,000) ต่างกันอย่างไรและต้องมีรายได้เท่าไหรที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • อัตราเสียภาษี 7 ขั้นที่มนุษย์เงินเดือนต้องเสียภาษี • การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับคนต่างด้าวที่พิการ
3. หลักเกณฑ์ทางภาษีที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ผู้เสียภาษีต้องทราบ • อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • กรณีแยกยื่นของสามี-ภรรยา ยื่นอย่างไรให้ได้รับประโยชน์สูงสุด • มนุษย์เงินเดือน ต้องมีรายได้เท่าไหร่จึงจะต้องยื่นแบบเสียภาษี • ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วจะขอคืนภาษีได้อย่างไร
4. ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(1)-(8) เปรียบเทียบเงินได้ที่มักเข้าใจผิด • ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(7) งานรับเหมา กับ 40(8) งานรับจ้าง • ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(2) (6) และ (8) • เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) แตกต่างกันอย่างไร • เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์รวมทั้งประโยชน์เพิ่มอื่น ๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทใด • หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางพนักงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีกรณีการเดินทางในประเทศและต่างประเทศ 5. UPDATE ประเด็นปัญหาทางภาษีกรณีลูกจ้างเป็นคนต่างชาติ และหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อน • การเสียภาษีของคนต่างชาติที่ได้รับเงินได้จากประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ ถ้าไม่ได้เดินทางเข้ามาในไทย หรือมาอยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน • กรณีคนต่างชาติทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้จากต่างประเทศต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่ • การหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ของสามีภรรยา หรือบุตรของคนต่างชาติ 6. เจาะประเด็นวิธีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 8 ประเภท เงินได้แบบไหน มีวิธีหักอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางภาษี 7. 45 ประเด็นปัญหาค่าลดหย่อน พร้อม Update ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ควรพลาด 7.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว • กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล สามารถลดหย่อนส่วนตัว ได้ทุกคนหรือไม่ 7.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส • สมรสระหว่างปีสามารถนำคู่สมรสมาหักลดหย่อนในปีภาษีนั้นได้หรือไม่ • คู่สมรสมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและไม่ได้แยกยื่นแบบแสดงรายการสามารถใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่ • กรณีที่สามีและภรรยามีรายได้ทั้ง 2 ฝ่าย และยื่นรวมจะหักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่ 7.3 ค่าลดหย่อนบุตร ค่าฝากครรภ์ค่าคลอดบุตร • หลักฐานที่ต้องใช้เป็นหลักฐานเพื่อหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรมีอะไรบ้าง • กรณีได้รับเงินช่วยค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม 15,000 บาทสามารถใช้สิทธิหัก ค่าลดหย่อนได้เต็ม 60,000 บาทหรือไม่ • กรณีที่ตั้งครรภ์หัวปีท้ายปีจะใช้สิทธิได้ 60,000 บาทหรือ 120,000 บาท • กรณีลูกแฝดจะใช้สิทธิค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดได้ 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท • ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่แท้ง จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรได้หรือไม่ • กรณีอุ้มบุญใครมีสิทธิใช้ค่าลดหย่อน • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักลดหย่อนบุตร และจำนวนเงินที่มีสิทธิหักลดหย่อนบุตร • กรณีมีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่ • บุตรที่จบการศึกษาระหว่างปีและยังไม่ได้มีงานทำ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่ • บุตรของภรรยาหรือสามี (ลูกติดสามี/ภรรยา) สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่ 7.4 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา • บุตรบุญธรรมสามารถนำบิดามารดาที่รับอุปการะเลี้ยงดูมาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่ • กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีหรือก่อนการยื่นแบบใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่ • กรณีนำบิดามารดาไปลดหย่อนซ้ำกับพี่น้อง • กรณีมารดาไม่มีเงินได้บิดาใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนคู่สมรสไปแล้ว บุตรใช้สิทธิหักลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูมารดาได้อีกหรือไม่ • กรณีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว สามารถนำมาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้หรือไม่ 7.5 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ • เอกสารหลักฐานที่ต้องแนบตอนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • กรณีผู้ดูแลคนพิการมีหลายคนที่มีชื่อในบัตรประจำตัวคนพิการ แต่ละคนสามารถนำไปหักค่าอุปาการะเลี้ยงดูคนพิการได้อย่างไรบ้าง • กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการระหว่างปีนำสิทธิหักลดหย่อนมาใช้อย่างไร • กรณีภรรยาไม่มีเงินได้แต่มีชื่อเป็นคนดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ 7.6 ลดหย่อนประกันสังคม • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนประกันสังคม • กรณีสามีหรือภรรยาไม่มีเงินได้ แต่เป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม สามารถนำเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ชำระมารวมหักลดหย่อนภาษีเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ตนชำระด้วยได้หรือไม่ 7.7 ค่าลดหย่อนประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ • กรณีที่บริษัทซื้อประกันชีวิตให้พนักงานโดยเป็นไปตามระเบียบบริษัท พนักงานสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้หรือไม่ • กรณีซื้อประกันชีวิตให้บิดามารดาของคู่สมรส สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ • กรณีที่กรมธรรม์นั้นมีผู้จ่ายเบี้ยประกันหลายคน จะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร • หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ • กรณีที่ซื้อประกันชีวิตที่มีการคุ้มครองเกิน 10 ปีแต่ได้รับเงินคืนเกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตจะถือว่าผิดเงื่อนไขหรือไม่ นำมาลดหย่อนได้หรือไม่ • กรณีที่มีการนำเบี้ยประกันที่จ่ายไปมาลดหย่อน แต่มาทราบภายหลังว่าผิดเงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนดมีแนวทางแก้ไขอย่างไร 7.8 เงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุน RMF, SSF และการใช้สิทธิลดหย่อน • กรณีที่มีการลงทุนซื้อ RMF และมีการระงับการซื้อติดต่อกันเกิน 1 ปีจะมีผลอย่างไรหรือไม่กับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี • กำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน หากเกิน 15% ของเงินได้ต้องนำกำไรที่ได้นั้นไปคำนวนเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดาหรือไม่ • เงินปันผลที่ได้จากกองทุน/กำไรจากการขายกองทุนต้องเสียภาษีอย่างไร • กรณีขายก่อนครบกำหนด จะถูกตรวจสอบหรือไม่ สรรพากรจะทราบได้อย่างไร 7.9 ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย • กรณีสามีภรรยายื่นกู้ร่วมซื้อบ้าน ภรรยาไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็มจำนวนหรือไม่ 7.10 UPDATE การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนเงินบริจาค 1 เท่า, 2 เท่า ได้กรณีใดบ้าง • บริจาคให้กับวัด • บริจาคให้กับสถานศึกษา, กีฬา • บริจาคให้กับโรงพยาบาล 7.11 การยกเว้นภาษีเงินได้จากโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์เพิ่มจากภาครัฐ 8. เช็คให้ชัวร์ก่อนยื่น! เอกสารหลักฐานลดหย่อนภาษี • จุดต้องระวังในการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน • เอกสารรายการไม่ครบถ้วนจะใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ • ใบกำกับภาษีมีสินค้ารายการอื่นรวมอยู่ด้วยต้องทำอย่างไร จะนำมาใช้ได้หรือไม่ • รายการที่ต้องเช็ค! ก่อนใช้บิลเงินสดเป็นเอกสารหลักฐาน 9. ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่มีใบกำกับภาษีจะใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ ใช้อะไรเป็นเอกสารหลักฐาน 10.การตรวจสอบภาษีจากข้อมูลการรับ-โอนเงินและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการส่งข้อมูลรับโอน-ฝากเงิน นับอย่างไร? รวมทุกบัญชี-รายบัญชี? และกรณีใดไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร • จะทำอย่างไรหากไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากให้สรรพากร 11.การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบ Internet กรณีสรรพากรเรียกตรวจสอบจะต้องเตรียมเอกสารอย่างไรมีแนวทางการชี้แจงอย่างไร 12.กรณีที่คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรมดาแล้วไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ หากไม่ยื่นจะมีผลอย่างไร
เงื่อนไขการเข้าอบรม 1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม
** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **
|