บรรยายโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
หัวข้อสัมมนา
1. เอกสารต่อไปนี้ HR ต้องกำหนดวัตถุประสงค์อย่างไร? ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และต้องขอความยินยอม หรือไม่ ต้องใช้ฐานกฎหมาย(Lawful Basis) อะไร? ตาม PDPA ถึงจะทำให้ HR พ้นจากความรับผิด - Resume, Portfolio, CV - ใบสมัครงาน - ผลการประเมินช่วงทดลองงานและระหว่างปฏิบัติงาน - สลิปเงินเดือน - ข้อมูลของผู้สมัครเกี่ยวกับพฤติกรรม ประวัติทางวินัย - หนังสือเลิกจ้าง - สัญญาจ้าง - ฯลฯ
2. วิธีการแจ้ง HR Privacy Policy ให้พนักงานทราบ กรณีต่อไปนี้ มีความเสี่ยงและข้อควรระวังอย่างไรบ้าง และควรจะใช้วิธีการใด? เพื่อใช้ในการปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมที่สุด - ส่งอีเมล E-mail หาพนักงาน - ปิดประกาศ HR Privacy Policy ในบริษัท - ผนวกรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาจ้างงาน
3. การขอความยินยอมตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA - กรณีที่ขัดกับกฎหมายแรงงาน จะยึดการปฏิบัติตามกฎหมายใด? - การจัดเก็บหรือใช้ข้อมูลของผู้สมัครงานตาม PDPA มีกระบวนการใดบ้าง ต้องขอความยินยอม และกระบวนการใด ไม่ต้องขอความยินยอม
4. สิทธิของพนักงานในองค์กร ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีขอบเขตการใช้สิทธิ อย่างไร? และมีมาตรการเชิงป้องกันอย่างไรมิให้ทำ ผิดกฎหมายซึ่งมีโทษปรับทางแพ่ง ทางปกครองและอาญา - การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล - การขอทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
5. Pain Point การเก็บ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน HR ของพนักงาน HR จะต้องบริหารจัดการอย่างไร? - ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เพื่อใช้ในการยื่นภาษีและประกันสังคม มีข้อควรระวังอย่างไร - ชื่อ และบัญชีธนาคาร เพื่อใช้ในการจ่ายเงินเดือน เมื่อต้องโอนข้อมูลค่าจ้าง ค่าตอบแทน ให้ธนาคารและหน่วยงานรับทำ Payroll - การจัดเก็บ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า เพื่อสแกนเวลาเข้าทำงาน จะมีระบบจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้ปลอดภัยตามมาตรฐานได้อย่างไร คำนึ่งถึงอะไรบ้าง - ข้อมูลสุขภาพ การตรวจสุขภาพพนักงานและใบรับรองแพทย์ มีอะไรบ้าง? ที่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอ่อนไหว - ประวัติอาชญากรและประวัติทางการกระทำความผิด มีความเสี่ยงต่อการนำมาประมวลผล อย่างไรบ้าง - ประวัติครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้อง HR สามารถขอ เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยได้แต่ไหน กำหนดขอบเขตอย่างไร
6. การประเมินผลทดลองงานและประเมินผลงานตามแต่ละวัตถุประสงค์ ที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จะมีวิธีแจ้งผลการประเมินอย่างไรตามแนว คำพิพากษาศาลแรงงานจึงจะชอบด้วยกฎหมายอย่าง แท้จริง
7. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเพื่อในการทำงาน เพื่อประเมินศักยภาพ และความเหมาะสม ในการจ้างงานมีแนวปฏิบัติอย่างไร
8. ฝ่าย HR ต้องดำเนินการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับมาอย่างไร? และจัดทำ RoPa (Record of Processing Activity) ทางฝ่าย HR ต้องดำเนินการอย่างไร? - แยกประเภท และระบุได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละประเภท - Lawful Basis for processing ฐานทางกฎหมายสำหรับประมวลผล - สถานที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล - ใครดูแล หรือมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
9. การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ข้อมูล ของพนักงานภายใน ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหล ของข้อมูลส่วนบุคคล และเข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA - การแจ้งผู้สมัครงาน (เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้าง) เกี่ยวกับการเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน - การเก็บใบสมัครของผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกไว้โดยไม่ยอมทำลายเอกสารนั้น ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเลินเล่อ และนำไปรีไซเคิล - การลบข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานลูกจ้าง เมื่อพ้นสภาพการจ้าง - ระยะเวลาที่เหมาะสมในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
10.ข้อควรระวัง กรณีนำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือลูกจ้าง ไปให้บุคคลอื่น หรือบุคคลที่สามเพื่อนำไปประมวลผล - การโอนข้อมูลพนักงานให้กับบุคคลอื่น การควบรวมกิจการ - การใช้ข้อมูลพนักงานลูกจ้างร่วมกันกับบริษัทในเครือซึ่งอยู่ หรือมีสำนักงานในต่างประเทศมีข้อจำกัดอย่างไร
11. ในการจัดให้มีข้อตกลงระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในงาน HR ที่เรียกว่า DPA (Data Processing Agreement) คืออะไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
12. HR ต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO) ของบริษัทนายจ้างอย่างไร
13. กระบวนการฝึกอบรมดูงานทั้งในและต่างประเทศมีข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นความเสี่ยง ทั้งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปและข้อมูลส่วนบุคคล ประเภทอ่อนไหวมีข้อควรพิจารณา คำนึงถึงอย่างไร
14. การใช้ข้อมูลของแรงงานต่างด้าวในกิจการของนายจ้าง มีข้อพิจารณาอย่างไรบ้าง
15. ข้อมูลเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สมาชิกของสหภาพแรงงาน กับการนำและล่วงรู้ข้อมูล ส่วนบุคคลของลูกจ้างที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงานมาดำเนินการ มีข้อควรระมัดระวัง มีความเสี่ยงและอันตรายอย่างไร?
16. กิจกรรมในการสอบสวน การใช้มาตรการทางวินัยการลงโทษการ เลิกจ้างมีข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวข้อง จะต้องระมัดระวังเรื่องใดบ้าง?
17. การแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้าง HR ควรทำอย่างไร - เหตุละเมิดที่เป็นความเสี่ยงสูงที่ต้องแจ้งภายใน 72 ชั่วโมง มาตรการเยียวยาลูกจ้าง จะต้องทำอย่างไร
18. HR กับการต้องรับโทษทางอาญา โทษทางแพ่งอันเกิดจาก การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ของลูกจ้าง โทษทางแพ่งและโทษปรับ ทางปกครองมีอะไรบ้าง อย่างไร
19. ถาม-ตอบประเด็นปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
|