รู้เท่าทันการจ่ายเงินตามสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจ ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีสำหรับผู้ทำบัญชี นักบัญชี (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM)

รหัสหลักสูตร : 21/1851Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 3,745 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,280 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 

รู้เท่าทันการจ่ายเงินตามสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจ ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีสำหรับผู้ทำบัญชี นักบัญชี

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 
CPD
ผู้ทำบัญชี

อื่นๆ 6 ชม.

ผู้สอบบัญชี

อื่นๆ 6 ชม.

ข้อแตกต่างระหว่างการทำสัญญา

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ - คณะบุคคล
  • ซื้อขาย + กิจการต่อเนื่อง
  • กิจการร่วมค้า - การร่วมค้า (Consortium)
  • ขนส่งพร้อมคนขับ - เช่ารถแยกสัญญารถกับคนขับ
  • ลดข้อโต้แย้ง การหักภาษี ณ ที่จ่ายกับคู่ค้าตามข้อตกลงตามสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจ
  • Update ที่เกี่ยวกับรายการที่ต้องเพิ่มในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ตามหลักเกณฑ์ใหม่
  • ให้เช่าพื้นที่ - ให้ใช้พื้นที่
  • จ้างแรงงาน - กับรับจ้าง
  • ซื้อขาย + รับจ้างบริการ (แยกสัญญา)


วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย

หัวข้อสัมมนา

1.ความรู้เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจสำหรับผู้ทำบัญชี นักบัญชี

2.ข้อควรระวังในการทำสัญญาทางธุรกิจและข้อตกลงทางธุรกิจ ผู้ทำบัญชี
และนักบัญชีต้องทราบ

3.การวางแผนภาษีอย่างมืออาชีพก่อนทำสัญญาโดยไม่ต้องจ้างนิติกร, ทนายความ

  • หลักเกณฑ์ในการตรวจร่างสัญญาทางธุรกิจของคู่สัญญา

4.วิธีการออกใบกำกับภาษีของสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจแต่ละประเภท

5.ปัญหาภาษีของสัญญาให้บริการ

  • การวางแผนสัญญาแยกค่าแรงออกจากค่าของทำให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายน้อยลง จริงหรือไม่
  • กรณีแยกบิลค่าแรงออกจากค่าของคนละใบ ค่าของไม่ต้องถูก หักภาษี ณ ที่จ่ายใช่หรือไม่

6.การวางแผนภาษีสัญญาซื้อขายสินค้า

  • ขายพร้อมติดตั้งต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
  • ขายพร้อมขนส่งมีภาระภาษีอย่างไร
  • การขายสินค้าพร้อมให้บริการติดตั้ง สามารถออกใบกำกับภาษีรวมกันได้ หรือไม่

7.การเปรียบเทียบสัญญาซื้อขายพร้อมติดตั้งกับสัญญาให้บริการพร้อมค่าอะไหล่
ข้อโต้เถียงในการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

8.เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานกับสัญญารับเหมา
แรงงานกับภาระภาษีเงินได้

  • ความแตกต่างระหว่างสัญญาทั้ง 2 ประเภท
  • หากนำส่งไม่ถูกต้องและผิดแบบจะมีทางแก้ไขอย่างไร
  • การจ้างพนักงานรายวันจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร ต้องนำส่งด้วย ภ.ง.ด. 1 หรือ ภ.ง.ด.3 ในอัตราเท่าใด

9.สัญญารับจ้างทำของกับการผลิตเพื่อขายมีหลักพิจารณาอย่างไร

  • การผลิตสินค้าขายและทำตาม Order เป็นขายหรือรับจ้าง จะต้อง หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

10.สารพันปัญหาสัญญาเช่าซื้อกับลิสซิ่ง

  • สัญญาเช่าซื้อกับลิสซิ่ง มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มต่างกันหรือไม่
  • เงื่อนไขในการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายใหม่

11.ปัญหาภาษีสัญญาให้เช่าอาคาร

  • อย่างไรจึงจะถือว่าเป็นการให้เช่า
  • การออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้ให้เช่าลงเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
  • จ่ายค่าเช่าให้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
  • ผู้ให้เช่าไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายจะมีวิธีการอย่างไร ไม่ให้ถูกสรรพากรประเมิน
  • ปัญหาเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีมีเงินประกัน เงินมัดจำ
    หรือเงินจองจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์

12.วางแผนสัญญาบริการให้ใช้พื้นที่ในอาคาร

  • การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัญญาให้เช่าพื้นที่กับให้บริการพื้นที่
  • กรณีทำสัญญาให้เช่าพื้นที่แต่ข้อเท็จจริงเป็นบริการจะมีภาระภาษีและ ความรับผิดอย่างไรบ้าง

13.ความแตกต่างของสัญญารับจ้าง, เช่ารถ, ขนส่งมีหลักพิจารณาอย่างไร จะคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

  • จ้างรถตู้ไปต่างจังหวัดเป็นสัญญาประเภทใด และมีภาระภาษีอย่างไร
  • รถรับส่งพนักงานที่จ้างมาเป็นรายเดือนเป็นสัญญาอะไร ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราเท่าใด
  • จ้างรถส่งของโดยที่รถไม่ใช่ของผู้รับจ้างจะถือเป็นขนส่งหรือไม่

14.ปัญหาเกี่ยวกับสัญญาขายสินค้าพร้อมขนส่ง

  • ค่าขนส่งจะต้องรวมเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
  • ผู้ซื้อมีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้ขายสินค้าหรือไม่

15.การวางแผนสัญญาให้เช่าที่ดินในการก่อสร้างอาคารทั้งแง่มุมของผู้ให้เช่า และผู้เช่า

  • กรณีให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที มีภาระภาษี อย่างไร
  • กรณีให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า มีภาระภาษีอย่างไร

16.วางแผนสัญญาขายฝาก, ฝากขาย

  • อย่างไรจึงจะถือเป็นการขายฝาก
  • ขายฝากกับฝากขายเหมือนกันหรือไม่จะต้องรับรู้รายได้อย่างไร
  • ขายฝากอย่างไรไม่ถูกสรรพากรประเมินราคาที่ตั้งขาย
  • กรณีไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก ผู้ซื้อฝากต้องรับรู้รายได้หรือไม่ อย่างไร
  • สินค้าฝากขายต้องออกใบกำกับภาษีอย่างไร
  • ขายคืนทรัพย์ที่ขายฝากต้องมี VAT หรือไม่

17.จ่ายค่าจ้างให้หุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคล ต้องหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
และต้องอยู่ในระบบ VAT หรือไม่

  • ความแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญกับคณะบุคคล
  • การเสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญกับคณะบุคคลเหมือนกันหรือไม่ และมีผลกระทบต่อภาระภาษีบุคคลธรรมดาหรือไม่

18.ประเด็นที่สรรพากรตรวจสอบภาษีจากการทำสัญญา

  • ข้อพิจารณาในการทำสัญญากับประเภทเงินได้พึงประเมิน ประเด็นในการ
    ตรวจสอบภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • สรรพากรจะประเมินภาษีโดยดูสัญญาเป็นหลักหรือไม่
  • กรณีที่สรรพากรไม่ยอมรับสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาจะยังมีผลบังคับหรือไม่

ภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง เนื่องจากการตีความสัญญาผิดประเภท

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม

หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม
เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี

** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี นับชั่วโมงได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba