เคลียร์ชัด!! 5 จุความรับผิด (Tax Point) การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- Update นโยบายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้า หรือให้บริการ online
และการใช้บริการบน Platform อิเล็กทรอนิกส์
- การออกและรับใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้
สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระวัง
- การตรวจสอบการขอคืนภาษีซื้อและภาษีซื้อต้องห้าม
- การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
วิทยากรโดย อาจารย์วิชัย จึงรักเกียรติ
หัวข้อสัมมนา
1. Update หลักเกณฑ์ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม • ผู้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ • การคิดมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าและให้บริการ • การคิดมูลค่าของฐานภาษีสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก • การให้ค่าลดหย่อน ค่าชดเชย ค่าเสียหาย ค่าตอบแทน ให้ส่วนลด
4. หลักเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม • ความหมายของสถานประกอบการ และสถานประกอบการชั่วคราว เมื่อใดที่ต้องจดทะเบียน เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม • ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนแต่มีหน้าที่ต้องเสีย VAT • การเปิดสาขาต้องจดทะเบียนหรือไม่ • การเปลี่ยนชื่อ การเพิ่มเติมและย้ายสถานที่ประกอบการ เลิกกิจการ ต้องแจ้งภายในกี่วัน • การฝากสินค้าไว้ที่ลูกค้าต้องจดเป็นสถานประกอบการด้วยหรือไม่ • การขอออกจากระบบ VAT ทำได้หรือไม่ และต้องมีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอย่างไร
5. ที่มาของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม : อัตรา 10%, 7% และ 0% • กรณีกฎหมายประกาศใช้อัตรา 6.3% และ 9% หมายความว่าอย่างไร
6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
7. อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ การลงรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย
8. จุดแห่งความรับผิด (Tax Point) และฐานภาษีในการเสีย VAT • การขายสินค้า การให้บริการ • การนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ • การขายสินค้าให้กิจการ BOI หรือ เขตปลอดอากร
9. การจัดทำใบกำกับภาษีในประเภทต่างๆ ใบลดหนี้-เพิ่มหนี้ เอกสารออกเป็นชุด ใบแทนใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร • การระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และคำว่า “สำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่...” มีหลักเกณฑ์อย่างไร • การลงวันที่ในใบกำกับภาษีแตกต่างกันอย่างไร - เงินสด - เช็ค - โอนเงินผ่านธนาคาร - การหักกลบลบหนี้ • การแก้ไขและการยกเลิกใบกำกับภาษีจะต้องให้เหตุผลในการออกด้วยหรือไม่ • อย่างไรถือเป็นใบกำกับภาษีปลอม • ในกรณีได้ออกใบกำกับภาษีในช่วง 10% ภายหลังจะออกใบลดหนี้ในช่วง VAT 7% จะใช้ VAT อัตราเปอร์เซ็นต์ใด • การออกใบกำกับภาษีกรณีย้ายสถานประกอบการ จะต้องใช้ที่อยู่ใดในการออกใบกำกับภาษี และพิจารณาวันที่แจ้งย้ายอย่างไร
10. กรณีลูกค้าไม่ต้องการใบกำกับภาษี ผู้ขายจะปฏิบัติอย่างไร และสรรพากร จะสอบย้อนผู้ซื้อหรือไม่
11. ภาษีซื้อต้องห้ามและการเฉลี่ยภาษีซื้อ • ภาษีซื้อต้องห้ามตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม • ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรอง • ภาษีซื้อค่าน้ำมันรถของบริษัท และค่าน้ำมันรถเช่า ขอคืนได้หรือไม่ • ภาษีซื้อค่า พ.ร.บ.รถ, ค่าซ่อมรถ จะขอคืนได้หรือไม่ • ภาษีซื้อที่ใช้ในกิจการ VAT และ NON VAT • ทำไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ • วิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ • กรณีที่เฉลี่ยภาษีซื้อผิดจะมีผลอย่างไร และจะยื่นแบบปรับปรุงได้หรือไม่
12. การจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ • การจัดทำรายงานตามหลักเกณฑ์ใหม่ของสรรพากร • เมื่อมีการออก/รับใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ จะลงรายงานอย่างไร • ธุรกิจให้บริการต้องทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่ • ขายสินค้าแต่ไม่มีคลังสินค้าสำหรับเก็บสินค้าต้องทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่
13. การยื่นแบบและชำระภาษี • วิธีการยื่นแบบ และการยื่นเพิ่มเติม • กรณีขออนุมัติยื่นรวมจะนำภาษีซื้อของสาขากับสำนักงานใหญ่มารวมกันได้หรือไม่
14. การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้องและไม่ถูกตรวจสอบ • สำนักงานใหญ่จะใช้เครดิตของสาขาได้หรือไม่ • การขอคืนภาษีของกิจการ BOI • กิจการที่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ
15. กรณีที่ต้องเสียเบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม และการขอลดหรืองดเบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม
|