ประเด็นปัญหาและการวางแผนภาษีอากรของธุรกิจท่องเที่ยว

รหัสหลักสูตร : 21/1659

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


ประเด็นปัญหาและการวางแผนภาษีอากรของธุรกิจท่องเที่ยว

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชั่วโมง
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชั่วโมง
• ผลกระทบของธุรกิจท่องเที่ยว จากสถานการณ์COVID จะมีผลทางภาษีอย่างไร
• จัดโปรไฟไหม้!!! ขายแพ็คเกจทัวร์ราคาถูกทำได้หรือไม่? เสี่ยงถูกสรรพากรตรวจสอบหรือไม่
• ค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตที่บริษัททัวร์รับภาระ ลงรายจ่ายได้หรือไม่
• ภาษีทั้งระบบ และ กลยุทธ์การวางแผนด้านภาษีของธุรกิจท่องเที่ยว ตัวแทนขายตั๋ว ตัวแทนช่วง
• ประเด็นการออกใบกำกับภาษี กรณีลูกค้าซื้อทัวร์ จองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ผ่าน Travelloka / expedia / klook

วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย

หัวข้อสัมมนา

1. ผลกระทบของธุรกิจท่องเที่ยว จากสถานการณ์COVID จะมีผลทางภาษีอย่างไร
• หยุดกิจการชั่วคราว
• หนี้สูญ
• ดอกเบี้ยที่เกิดจากผิดนัดชำระหนี้ที่ถูกเรียกเก็บ

2. ภาระภาษีต่างๆ ที่ธุรกิจท่องเที่ยวต้องทราบ ทั้งกรณี
• นำเที่ยวภายในประเทศ (In-bound)
• นำเที่ยวต่างประเทศ (Out-bound)
• นำเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Local & Worldwide Operator)
• ประกอบธุรกิจทั่วไปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (General Travel Agent) เช่น ธุรกิจโรงแรมและสถานที่พักแรม ธุรกิจร้านขายอาหารและเครื่องมือ ธุรกิจเกี่ยวกับขนส่ง

3. การทำสัญญามีความสำคัญอย่างไร
• สัญญาแบบเหมา (Package tour) กับ ไม่คิดเหมา
• การตกลงด้วยวาจาจะถือเป็นสัญญาได้หรือไม่
• การเป็นตัวแทนจองห้องพักโรงแรม ตัวแทนต้องมีสัญญาหรือไม่
• ขายตั๋ว, ขายแพ็คเก็จ ดำน้ำ , การแสดงต่างๆ
• สาระสำคัญในสัญญาที่มีผลบังคับได้ทางกฎหมาย
• สัญญาต้องติดอากรแสตมป์ด้วยหรือไม่

4. รายได้ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและประเด็นการรับรู้รายได้
• รายได้จากการให้บริการนำเที่ยวและบริการมัคคุเทศก์
• รายได้ธุรกิจให้บริการขนส่งเดินทางในประเทศและเข้าออกประเทศ
• การให้ดารานักแสดง เที่ยวฟรี เพื่อโปรโมท ต้องรับรู้เป็นรายได้หรือไม่ อย่างไร
• การรับรู้รายได้จากการขายแพ็คเกจที่ฝากขายผ่านแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ต่างๆ
• รายได้ค่าส่วนลด การซื้อตั๋วโดยสารได้ส่วนลดพิเศษ ซื้อที่พักได้ส่วนลดพิเศษ
• การรับรู้รายได้ จากโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน
• รายได้อื่นๆ เช่น ดอกเบี้ยรับรายได้ จากการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา
• ขายแพ็คเกจทัวร์พร้อมประกันชีวิต/ ประกันวินาศภัยต้องรับรู้รายได้อย่างไร
• รายได้ค่านายหน้า เช่น การสำรองที่พัก การจัดจำหน่ายบัตรชมการแสดง และ วีซ่า
• การรับรู้รายได้จากการจัดเตรียมเอกสาร วีซ่า ค่าเดินทาง
• กรณีเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยได้รับค่านายหน้า ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างราคาตั๋วที่ขายได้กับราคาที่สายการบินเรียกเก็บ ต้องรับรู้รายได้อย่างไร
• กรณีได้รับเงินมัดจำ เงินจอง เงินจ่ายล่วงหน้าต้องรับรู้รายได้อย่างไร
• ได้รับเงินมาล่วงหน้าแต่บริการเกิดข้ามปีต้องรับรู้รายได้อย่างไร
• เงิน Tip ที่พนักงานของบริษัทท่องเที่ยวได้รับจากสถานที่ที่พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวหรือไป Shoppingต้องรับรู้รายได้หรือไม่
• กรณีเจ้าของเรือยอร์ชประกอบกิจการให้เช่าเหมาลำ คำนวนรายได้ อย่างไร
• กรณีเรียกเก็บแบบเหมา (Package tour) ต้องรับรู้รายได้อย่างไรรับรู้เฉพาะค่าบริการได้หรือไม่
• กรณีได้รับเงินคืนต้องรับรู้เป็นรายได้หรือไม่
• ทำโปรโมชั่นกับโรงแรม ถ้าพานักท่องเที่ยวมาพักจะได้รับสิทธิพักที่โรงแรมฟรี ต้องรับรู้เป็นรายได้หรือไม่
• กรณีให้ลูกทัวร์ต่างประเทศเข้ามาเที่ยวฟรี โดยจะได้ค่าจอด(ค่าจอดซื้อสินค้า) กับค่าน้ำ (ค่าคอมมิชชั่น30% จากเงินที่ลูกทัวร์ซื้อสินค้าจากร้านค้า) ต้องรับรู้รายได้อย่างไร สรรพากรยอมรับหรือไม่

5. รายจ่ายของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและประเด็นรายจ่าย
• ค่าตอบแทนพนักงานในบริษัทประจำ หรือครั้งคราง เช่น ค่ามัคคุเทศก์
• ค่าส่งเสริมการตลาด บริการพิเศษ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
• ค่าโฆษณา เปิดบูท จ้างดาราโปรโมท จ้างรีวิวลงโซเชียล
• รายจ่ายจากการฝากขายผ่าน แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ต่างๆ เช่น Travelloka / Klook
• ค่าเช่าพาหนะ ให้กับลูกทัวร์ลงรายจ่ายได้หรือไม่
• กรณีให้ลูกค้าตัดค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมค่าธรรมเนียมที่บริษัททัวร์รับภาระให้ลงรายจ่ายได้หรือไม่
• อย่างไรเรียกเงินทดรองจ่าย และลงเป็นรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่
• รายจ่ายค่าผ่านด่านลงรายจ่ายได้หรือไม่
• จ่ายค่าตั๋วเข้าชมการแสดงลงรายจ่ายได้หรือไม่
• จ่ายค่ารถ ค่าเรือ ให้กับลูกทัวร์ลงรายจ่ายได้หรือไม่
• ซื้อเรือยอร์ชมาในใช้ในกิจการ สามารถลงรายจ่าย และขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่อย่างไร
• กรณีช่วง Low Season จะคิดค่าบริการต่ำกว่าการให้บริการปกติทำได้หรือไม่
• กรณีรายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน (ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน) กิจการสามารถลงรายจ่ายได้หรือไม่

6. เรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่าย
• จ่ายค่าบริการให้กับมัคคุเทศก์ต้องหัก ณ ที่จ่ายอัตราใด (3% หรือไม่)
• จ่ายค่าออกบูธ ค่าโปรโมทผ่านโซเชียล ค่าโฆษณาต่างๆ ต้องหัก ณ ที่จ่าย อัตราใด
• จ้างโปรโมท จ้างInfluencerรีวิวผ่านโซเชียล ต้องหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
• กรณีคิดค่าบริการเฉพาะค่านำเที่ยว โดยค่าตั๋วเครื่องบินแจ้งลูกค้าว่าเป็นการจ่ายแทนไปก่อนจะถูกหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
• ค่านายหน้าจากการเป็นตัวแทนขายตั๋วต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
• จ่ายค่าที่พักให้กับโรงแรม รีสอร์ท ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
• จ่ายค่าสปา ค่านวด ค่าบริการอื่นๆ แทนนักท่องเที่ยวหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
• จ่ายค่าอาหารให้กับภัตตาคาร ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
• จ่ายค่านำเที่ยวไปให้กับบริษัทนำเที่ยวที่ต่างประเทศต้องหักณ ที่จ่ายหรือไม่
• จองบริการผ่านระบบ online ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตรต้องหักณ ที่จ่ายอย่างไร
• ตั้งเคาน์เตอร์ที่โรงแรมเพื่อหาลูกค้าต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
• การจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศที่หาลูกค้าให้
• กรณีรัฐมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนที่รัฐออกแทนต้องคิดหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

7. ปัญหาการคิดฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบกำกับภาษี
• กิจการท่องเที่ยวต้องนำมูลค่าของฐานภาษีใดบ้างมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
• กรณีนำเที่ยวต่างประเทศ ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อัตราใด(7%, 0% หรือไม่ต้องเสีย)
• กรณีให้บริการจองห้องพักในต่างประเทศผ่าน Internet ให้กับลูกค้าคนไทยต้องนำส่ง VAT 7%หรือไม่
• ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าเดินทาง ค่าห้องพัก ค่าอาหารในการจัดทัวร์ให้ลูกค้านำมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่
• ประเด็นการออกใบกำกับภาษี กรณีลูกค้าซื้อทัวร์ จองที่พัก ตั๋วเครื่องบินผ่าน Travelloka / Expedia / Klook
• เก็บค่านำเที่ยวแบบเหมา (Package tour) โดยมีการแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบว่าต้องจ่ายอะไรบ้างเสีย VAT อย่างไร
• คิดค่าบริการเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการ โดยค่าตั๋ว ค่าที่พักค่าอาหาร จ่ายทดรองแทนไปก่อนแล้วเรียกเก็บคืนเท่ากับที่จ่ายไปฐานภาษีคิดจากราคาใด
• ปัญหาการออกใบกำกับภาษีที่เรียกเก็บกับผู้ใช้บริการ
• กรณีเหมาจ่าย (Package tour) ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างไรออกใบกำกับภาษีเฉพาะค่าบริการได้หรือไม่
• การฝากขายแพ็คเกจผ่านแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ต่างๆ ออกใบกำกับภาษีอย่างไร
• ได้รับเงินมัดจำค่านำเที่ยว แต่ยังไม่ได้มีการให้บริการต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
• ให้ลูกค้าจองผ่านบูธงานแสดงนิทรรศการการท่องเที่ยวไว้ก่อนแล้วให้ส่วนลดขณะจอง
• การออกใบกำกับภาษี กรณีให้ส่วนลด ของแจก ของแถม
• การออกใบกำกับภาษีกรณีเป็นตัวแทนขายตั๋ว
• กรณีลูกค้ารายย่อย ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่
• แจ้งลูกค้าว่าเป็นเงินทดรองจ่ายแต่ใบกำกับภาษีเป็นชื่อบริษัทนำเที่ยวจะขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่
• กรณีได้รับเงินคืนจากลูกค้าต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
• ได้รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อใด
• กรณีบริษัทไทยรับช่วงต่อมาจากต่างประเทศ (In-bound) ต้องออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บ VATจากบริษัทต่างประเทศหรือไม่ อัตราใด กรณีติดต่อบริษัทนำเที่ยวที่ต่างประเทศให้กับบริษัทนำเที่ยวในไทยโดยบริการเกิดนอกประเทศ บริษัทต้องเสีย VAT อัตราใด
• การคำนวนVAT หากมีเรือยอร์ชในการให้บริการ แต่มิได้เป็นเจ้าของธุรกิจให้เช่าเหมาลำ
• การจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย เมื่อไหร่

8. ปัญหาการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
• ได้รับเงินมัดจำค่าทัวร์เป็นเงินตราต่างประเทศต้องแปลงค่าอย่างไร
• การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
• บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

9. การจ่ายค่าตอบแทนให้กับไกด์ทั้งในไทยและต่างประเทศ
• เงินได้ของไกด์ อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี และอะไรบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษี
• การจ่ายค่าตอบแทนให้ไกด์ในต่างประเทศต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
• รายได้และสิ่งของต่างๆ ที่ไกด์ได้รับจากการพาลูกค้าไปซื้อสินค้าหรือบริการ ต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่
• รายได้ของไกด์จากการขายสินค้าให้ลูกค้าบนรถ ต้องเสียภาษีหรือไม่
• ค่าทิปที่เรียกเก็บจากลูกค้าเป็นรายคนและค่าทิปที่ลูกค้าให้เพิ่มเองต้องเสียภาษีหรือไม่
• ค่าปรับที่เรียกเก็บจากลูกค้าจากการยกเลิกการเดินทางต้องเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

10. ปัญหาภาษีเมื่อมีการยกเลิกทริปท่องเที่ยว
• ค่าทัวร์ที่ลูกค้าจ่ายล่วงหน้าต้องทำอย่างไร
• ลูกค้ายกเลิกการเดินทางเอง
• การริบเงินมัดจำการเดินทางมีภาระภาษีอย่างไร
• การจ่ายเงินค่าทัวร์คืนให้ลูกค้า
• กรณีลูกค้ายกเลิกทริปต้องออกใบลดหนี้ที่มี VAT หรือไม่
• กรณีหักค่าเสียหายจากการยกเลิกทริปต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
• จ่ายเงินคืนทั้งจำนวนออกใบลดหนี้ในระบบ VAT ได้หรือไม่

11. ปัญหาของเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายทางภาษี
• เอกสารที่ได้รับจากต่างประเทศลงรายจ่ายได้หรือไม่
• การจ่ายค่าใช้จ่ายในต่างประเทศหลักฐานที่จะลงรายจ่ายได้
• ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีบิลต้องทำอย่างไร
• ไม่มีหลักฐานการจ่าย
• ค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆจะลงรายจ่ายได้อย่างไร


12. จัด Promotion อย่างไรให้ถูกใจลูกค้าและไม่ผิดใจกับสรรพกร
• จัดโปรไฟไหม้!!!
  * ขายแพ็คเกจทัวร์ราคาถูกถือเป็นการขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่
  * เสี่ยงถูกสรรพากรตรวจสอบหรือไม่
• ช่วง Low Season คิดค่าบริการต่ำกว่าปกติ ถือเป็นเหตุอันสมควรได้หรือไม่
• จัดโปรโมชั่นข้ามปี (จองปีนี้ใช้ปีหน้า) ภาระภาษีคาบเกี่ยวระหว่างปี
• โปรโมชั่นจองตั๋วพร้อมที่พัก
• จัดโปรโมชั่นร่วมกับร้านอาหาร โรงแรม สปา เช่น ให้ส่วนลดในการใช้บริการสปา หรือส่วนลดร้านอาหาร

 

 

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba