การวางแผนการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน ขั้นสูงและสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับนักบัญชี ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี

รหัสหลักสูตร : 21/1352

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



การวางแผนการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน ขั้นสูง
และสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับนักบัญชี ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.


ทราบหรือไม่!!! อยากเสียภาษีน้อยต้องวางแผนการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ
• Update ประเด็นการหักค่าเสื่อมทรัพย์สินใหม่
  ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
• ทราบหรือไม่? ถ้าค่าเสื่อมทางบัญชีคิดมากกว่าทางภาษีต้องปรับปรุง ในทางกลับกันถ้าค่าเสื่อม
   ทางบัญชีน้อยกว่าก็ให้หักตามหลักบัญชี
• ทราบหรือไม่? มีทรัพย์สินบางประเภทสามารถหักค่าเสื่อมได้เพิ่มขึ้น
• ทราบหรือไม่? การคิดค่าเสื่อมกับการลงรายจ่ายต่างกันอย่างไร
• ความแตกต่างระหว่าง “ซ่อมแซม” กับ “การลงทุน เปลี่ยนแปลงทำให้ดีขึ้น” พิจารณาอย่างไร
• ทราบหรือไม่? การใช้สิทธิประโยชน์การหักค่าเสื่อมทางภาษีจะประหยัดภาษีมากกว่าครึ่ง
• เคยหรือไม่? จัดทำกระดาษทำการเปรียบเทียบการหักค่าเสื่อมทางบัญชีกับทางภาษีอากร

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

  1. หลักเกณฑ์การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร ที่นักบัญชีพลาดไม่ได้

- ความแตกต่างระหว่างสินทรัพย์ กับค่าใช้จ่าย
- หลักเกณฑ์สำคัญการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน
- ประเภททรัพย์สินที่ต้องพิจารณา
- “ซ่อมแซม” กับ “การลงทุน เปลี่ยนแปลง การขยายออก หรือทำให้ดีขึ้น” พิจารณาอย่างไร

  1. การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรออาคารถาวร อาคารชั่วคราว
  2. การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนา

- กรณีได้สิทธิหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอเบื้องต้นอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุนจะเฉลี่ยตามวันได้  หรือไม่
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาต้องมีลักษณะอย่างไร

  1. การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินของอาคารโรงงานและทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรของธุรกิจ SMEs
  2. การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินราคาของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
  3. การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอประเภทเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
  4. ปัญหาการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ของคอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  5. การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ทรัพย์สินอย่างอื่นพิจารณาอย่างไร

- อุปกรณ์เครื่องเขียนที่มีมูลค่าไม่มากจะลงรายจ่ายได้หรือไม่หรือต้องคิดค่าเสื่อม
- ทรัพย์สินที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำ ที่ซื้อมาหลายๆ ใบจะหักค่าเสื่อมเป็นกลุ่มได้หรือไม่

  1. การวางแผนภาษีจากการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ทรัพย์สินของกิจการ

- ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ, ลิสซิ่ง จะวางแผนอย่างไร
- รอบระยะเวลาบัญชีและงบกำไรขาดทุน มีผลอย่างไร
- วางแผนการรับมอบงาน หรือทรัพย์สิน
- การหักค่าเสื่อมโดยใช้ Double declining balance method ต้องปรับปรุงทางภาษีหรือไม่ อย่างไร

  1. การวางแผนภาษีจากสิทธิประโยชน์ของทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อมได้เพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของกิจการ

- ทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอได้อย่างเดียว กับทรัพย์สินที่สามารลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อทรัพย์สินมาใช้ในระบบอิเล็กทรินิกส์ทางภาษีมีอะไรบ้าง

  1. การหักค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคากรณีตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือต่ำลงจะหักค่าเสื่อมต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินต่างๆ

- แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ                                           
- การได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
- การได้มาซึ่งสิทธิ สูตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น

  1. ปัญหาที่เกิดจากดอกเบี้ยกู้ยืม

- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะถือเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย
- กรณีกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อซื้อทรัพย์สิน กำไร-ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือไม่
- กรณีทำสัญญากู้ยืมเพื่อก่อสร้างอาคารดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นต้องถือเป็นต้นทุนคิดค่าเสื่อมหรือไม่
- ทำสัญญากู้ยืมแยกเป็น 2 สัญญา สัญญาหนึ่งกู้เพื่อซื้อที่ดินอีกสัญญาหนึ่งกู้เพื่อก่อสร้างอาคารคิดค่าเสื่อมอย่างไร
- กรณีกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สินหลายประเภทแล้วไม่สามารถแยกดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร
- กรณีกู้ยืมเพื่อใช้ในการประกอบกิจการและซื้อด้วยจะคิดค่าเสื่อมอย่างไร

  1.  วิธีการเฉลี่ยตามส่วนกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาไม่เต็ม 12 เดือนจะเฉลี่ยอย่างไร
  2. มูลค่าซากทางบัญชี ภาษียอมรับหรือไม่
  3. ถ้าค่าเสื่อมทางบัญชีให้หักค่าเสื่อมได้มากกว่าทางภาษีต้องปรับปรุงหรือไม่
  4. การทำลายทรัพย์สินที่ไม่สามารถใช้งานได้ต้องปฏิบัติอย่างไร

- ต้องแจ้งสรรพากรหรือไม่
- ถ้าทรัพย์สินนั้นยังขายได้แต่บริษัทเลือกที่จะทำลาย สรรพากรยอมให้ทำลายหรือไม่

  1. กรณีจะตัดทรัพย์สินออกจากบัญชีทรัพย์สินปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

- ขาย
- ทำลาย
- บริจาค
- ถ้าขายจะขายในราคา Book Value ได้หรือไม่ (สมมุติเหลือ 1 บาท)

  1. จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำกระดาษทำการเพื่อเปรียบเทียบ การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน ทางบัญชีกับทางภาษีอากร
  2. จะต้องหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินอีกหรือไม่ ถ้า..

- เลิกใช้งาน
- ชำรุด
- เลิกผลิต
- เสื่อมคุณภาพ
- หมดสัมปทาน
- หมด Line sense
- ถูกบังคับคดีแล้ว ซื้อคืนได้จากการขายทอดตลาด

  1. การเปลี่ยนวิธีการหรืออัตราในการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน สามารถทำได้หรือไม่

 

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba