Case การบันทึกบัญชีของ TAS16 ,TAS2 และ TAS 23ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
วิทยากรโดย : ดร.วิทยา อรุณศิริเพ็ชร
หัวข้อสัมมนา1. Case การบันทึกบัญชีของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดินอาคารและอุปกรณ์1.1 ด้านการรับรู้รายการและการวัดมูลค่า- เมื่อไหร่ที่กิจการต้องรับรู้รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ในงบการเงิน- ต้นทุนทั้งหมดของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ประกอบไปด้วยสิ่งใดบ้าง- การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ แตกต่างอย่างไรกับการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ1.2 การตีราคาใหม่- แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ณ วันที่ตีราคาใหม่- หากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ทำให้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น จะปฏิบัติอย่างไร- หากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ทำให้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นลดลง จะปฏิบัติอย่างไร1.3 ค่าเสื่อมราคา- ความจำเป็นในการแยกส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ก่อนการคิดค่าเสื่อมราคา- ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์- จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ต้องเป็นจำนวนเงินใด- กิจการควรเลือกใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาอย่างไร- จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการทบทวนอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ มูลค่าคงเหลือ และวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา2. Case การบันทึกบัญชีของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ2.1 การวัดมูลค่าสินคาคงเหลือ- แนวทางปฏิบัติในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า- ต้นทุนของสินค้าคงเหลือประกอบด้วยราคาใดบ้าง- เทคนิคการวัดมูลค่าต้นทุนสินค้าคงเหลือ เพื่อความสะดวกในการประมาณต้นทุนสินค้าคงเหลือให้ได้ผลใกล้เคียงกับต้นทุนสินค้าคงเหลือจริง- มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable value: NRV) มีลักษณะอย่างไร2.2 การคำนวณต้นทุนของสินค้าคงเหลือ- วิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือมีกี่วิธีตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี- การเลือกใช้วิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือที่มีลักษณะและการใช้คล้ายคลึงกัน และที่แตกต่างกัน- การรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงิน สำหรับการขายสินค้าคงเหลือ และการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ- แนวทางปฏิบัติเมื่อมีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ- แนวทางปฏิบัติเมื่อนำสินค้าคงเหลือบางส่วนไปใช้เป็นส่วนประกอบของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเอง2.3 การเปิดเผยข้อมูล- กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลใดบ้างเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ3. Case การบันทึกบัญชีของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม3.1 การรับรู้รายการ- แนวทางปฏิบัติในการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์- การคำนวณต้นทุนการกู้ยืมสำหรับเงินที่กู้มาโดยเฉพาะ เหมือนหรือแตกต่างกันกันการกู้ยืมสำหรับเงินกู้มาเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป- ถ้ากิจการมีทั้งต้นทุนการกู้ยืมสำหรับเงินที่มีวัตถุประสงค์ทั้งเฉพาะและทั่วไป จะมีวิธีปฏิบัติทางบัญชีอย่างไร- หากมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน จะมีวิธีปฏิบัติทางบัญชีอย่างไร3.2 ราคาทุนของสินทรัพย์- การเริ่มต้นการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์- การหยุดพักการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์- การสิ้นสุดการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์4. Case การบันทึกบัญชีของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์4.1 สินทรัพย์ที่อาจเกิดการด้อยค่า- ขั้นตอนการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์4.2 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของผลขาดทุนจากการด้อยค่า- การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์- การกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์4.3 การเปิดเผยข้อมูล- กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลใดบ้างเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์5. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
รถไฟฟ้า BTS สถานนีกรมป่าไม้ ทางออกที่ 2 (เดิน ห่างจากสถานี 600 เมตร )