• ปัญหาการหัก ณ ที่จ่ายพนักงาน เมื่อเริ่มทำงานกลางปี/ ออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างระหว่างปี • ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ที่มีผลกระทบต่อการหัก ณ ที่จ่าย • เงินได้ประเภทใดบ้างที่สามารถเลือกไม่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีสิ้นปีได้ • สรรพากรขอตรวจเอกสารก่อนคืนเงินภาษี จะมีวิธีรับมือสรรพากรและพนักงานอย่างไร
วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย
หัวข้อสัมมนา
1. Update การหักลดหย่อน, การหักค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ใหม่ 2565-2566 ค่าฝากครรภ์/ค่าคลอดบุตร 60,000 บาทมีเงื่อนไขอย่างไร • กรณีที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด การใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าคลอดบุตร/ค่าฝากครรภ์ได้ทั้ง 2 คนหรือไม่ • กรณีตั้งครรภ์และเกิดภาวะแท้ง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการฝากครรภ์ก่อนหน้านั้นรวมถึง ค่ารักษาพยาบาล • นำมาลดหย่อนได้หรือไม่ • กรณีที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม การใช้สิทธิลดหย่อนจะต้องหักเงินช่วยเหลือประกันสังคมออกจากค่าลดหย่อน 60,000 หรือไม่ การหักลดหย่อนลูกคนที่ 2 • กรณีการลดหย่อนบุตรคนที่ 2 บุตรบุญธรรมใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ การยกเว้นภาษีเงินได้คนพิการต่างด้าว
2.Update ค่าลดหย่อนทางภาษีของบุคคลธรรมดา • หักลดหย่อนหรือใช้สิทธิทางภาษีตามหลักเกณฑ์ใหม่ • การหักลดหย่อนของพนักงานคำนวณอย่างไรไม่ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายขาดไป • สมรสระหว่างปี มีบุตรระหว่างปี จะหักลดหย่อนอย่างไร • กรณีหักลดหย่อนของสามีหรือภริยา ถ้าสามีหรือภริยาไม่มีเงินได้จะหักอย่างไร
3. สิ่งที่ฝ่ายบัญชีและฝ่ายบุคคลต้องวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับภาษีของพนักงาน ลูกจ้าง • Update กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • การวางแผนด้านรายได้พนักงาน • อัตราภาษี • การวางแผนด้านรายจ่ายบริษัท
4. ตัวอย่าง แบบฟอร์ม ลย.01 (แบบรายละเอียดค่าลดหย่อนของพนักงาน)
5. จ่ายเงินได้ให้พนักงานงานอย่างไรไม่ต้องหักภาษี
6. วิธีคิดเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง • การปรับเงินเดือนระหว่างปี • โบนัส/ค่าตอบแทนพิเศษ • ยื่นแบบสิ้นปีให้พนักงาน กรณีออกจากงานระหว่างปีคำนวณหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร แนวทางปฏิบัติในการหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าจ้างรายวัน วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/การหัก ณ ที่จ่ายสำหรับลูกจ้างชาวต่างชาติ
7. Update สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวกับพนักงานลูกจ้าง ทำอย่างไรไม่มีปัญหากับลูกจ้างและสรรพากร • ประเด็นการตรวจสอบสวัสดิการที่บริษัทให้พนักงานที่กรมสรรพากรมักตรวจสอบ
8. Update หลักเกณฑ์การนับระยะเวลาของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีออกของนายจ้างเดิม และเข้าทำงานใหม่กับนายจ้างใหม่ หรือทำงานต่อกับนายจ้างเดิม
9. ปัญหาภาษีในการหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการของพนักงาน • ค่าตอบแทนที่ต้องนำมารวมเพื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย พนักงาน ลูกจ้าง • ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่ายพนักงานเมื่อเริ่มทำงานกลางปี/ออกจากงานระหว่างปี • การหักภาษี ณ ที่จ่ายพนักงานเมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้างระหว่างปี • กรณีพนักงานมีเงินได้หลายที่จะคำนวณภาษีอย่างไร • ปัญหาการหักภาษี ณ ทื่จ่ายรายวัน, Part-Time, พนักงานโรงงาน • ประเด็นปัญหาการหักภาษีลูกจ้างที่เป็นคนต่างชาติและหลักเกณฑ์การหักลดหย่อน • จ่ายค่าจ้างให้กับคนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย 120 วันต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ • ส่งเสริมการขายให้กับพนักงานเมื่อทำยอดทะลุเป้าได้รับแพ็คเก็จทัวร์บริษัทต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ • การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าเช่ารถยนต์ส่วนตัวให้กับพนักงาน • กรณีจ่ายโบนัสเป็นทองคำถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่และบริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายพนักงานหรือไม่ • เบี้ยขยันหรือเงินที่จ่ายเป็นพิเศษนอกจากเงินเดือนพนักงานต้องหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร • การหัก ณ ที่จ่ายกรณีบริษัทจ้างรถตู้บุคคลธรรมดารับส่งพนักงานของบริษัทต้องถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่ • การจ้างนักเรียนนักศึกษาทำงานพิเศษในช่วงเวลาปิดภาคเรียนต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ • ส่งพนักงานไปเรียนต่อต่างประเทศแต่มีการจ่ายเงินเดือนให้ทุกเดือนจะต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ • กรณีจ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่พนักงานของบริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร • การหัก ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายค่าแรงเหมาจ่าย • การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีบริษัทจ่ายเงินค่าเขียนบทความให้กับพนักงานลูกจ้าง โดยไม่มอบสิทธิในการเขียน ให้กับบริษัท • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายออกเป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่ • จ้างบุคคล/บริษัท จากต่างประเทศเพื่อมาทำออแกไนซ์หัก ณ ที่จ่ายอย่างไร • การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับชาวต่างชาติที่อยู่ในไทยและไม่อยู่ในไทย • การวางแผนภาษีในการให้สวัสดิการพนักงานให้บริษัทลงเป็นรายจ่ายได้/พนักงานไม่ถือเป็นเงินได้ • นายจ้างออกภาษีให้ลูกจ้างพร้อมวิธีการคำนวณภาษีอย่างไร
10. สวัสดิการพนักงานและภาระภาษีที่เกี่ยวข้องสวัสดิการพนักงาน ทำอย่างไรบริษัทถึงจะปฏิบัติได้ถูกต้อง • ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ • ค่ารักษาพยาบาล • เครื่องแบบพนักงาน • ค่านายหน้า • เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพทั้งประกันเดี่ยวและกลุ่ม • ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ • ค่าคอมมิชชั่น • ค่าที่ปรึกษา • ค่าทำงานล่วงเวลา • ชุดยูนิฟอร์ม • เงินปันผลให้พนักงาน • เครื่องดื่ม ชา กาแฟที่ให้พนักงาน • ค่าโทรศัพท์ • กรณีบริษัทจัดงานเลี้ยงตามเทศกาลให้กับพนักงานถือเป็นสวัสดิการหรือไม่ • อาหารเลี้ยงระหว่างปฏิบัติงาน • เงินรางวัล ของรางวัลจากการทำงาน • บ้านพักฟรีหรือเช่าบ้านให้พนักงานอยู่อาศัย มีบ้านให้อยู่แต่เรียกเก็บค่าเช่าราคาถูก • สร้างบ้านให้พนักงานอยู่ ภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่และพนักงานต้องคำนวณเป็นเงินได้อย่างไร • ซื้อคอนโดให้กรรมการอยู่จะถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือเป็นเงินได้ของกรรมการทั้งจำนวน และต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร • ให้ทุนการศึกษากับลูกจ้างและบุตรของลูกจ้างจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร • ส่งลูกจ้างเรียนต่อปริญญาโท ต้องถือเป็นเงินได้ของลูกจ้างหรือไม่
11. การวางแผนรายจ่ายของกิจการ การใช้สิทธิประโยชน์ค่าใช้จ่าย 2 เท่าสำหรับการอบรมในประเทศ • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ • ค่าใช้จ่ายในการอบรมสัมมนาพนักงานอะไรบ้างที่สรรพากรกำหนดให้ลงรายจ่ายได้ • กรณีที่ขับรถพาพนักงานไปสัมมนา โดยไม่ใช้รถของบริษัททัวร์ ค่าน้ำมันที่บริษัทได้จ่ายไปเพื่อพาพนักงานไปสัมมนาลงค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
12. ประเด็นที่สรรพากรตรวจสอบให้เสียภาษีเพิ่มและวิธีการตรวจสอบ • การ Cross Check ของสรรพากร • การเตรียมข้อมูลและเอกสารในการตรวจสอบของสรรพากร เช่นหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03), หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04.1), ใบอนุโมทนา
13. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยเครื่องมือและวิธีการ RBA (Risk Based Audit System) รูปแบบใหม่ของสรรพากร • รายการค่าลดหย่อนที่แสดงไม่สัมพันธ์กับเงินได้ • หลักฐานแสดงค่าใช้จ่าย (กรณีหักค่าใช้จ่ายตามจริง) ไม่สัมพันธ์กับรายได้ที่ได้รับในปีนั้น
14. ความรับผิดกรณีนายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือน ค่าจ้างไม่ถูกต้อง • หักขาด • หักเกิน • หักแล้วไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ • ไม่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย • วันที่จ่ายเงินกับวันที่ออกหนังสือรับรองไม่ตรงกัน • นายจ้างออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แต่ไม่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย • ผลกระทบที่ฝ่ายบุคคล/ฝ่ายบัญชีคำนวณหัก ณ ที่จ่ายผิดพลาด • ใครมีอำนาจในการแก้ไขใบหัก ณ ที่จ่าย
เงื่อนไขการเข้าอบรม 1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม
** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **
|