ลูกหนี้ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องดูแลบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ลูกหนี้สามารถแบ่งได้หลายประเภท หลายระดับ ซึ่งในหลักการบริหารจัดการที่ดีจะต้องมีแนวทางในการดูแล วิธีปฏิบัติที่เหมือนและแตกต่างควบคู่กัน โดยการจะปฏิบัติอย่างไรต่อลูกหนี้แต่ละรายนั้น เป็นองค์ความรู้และศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการหนี้ อาทิ กรณีของลูกหนี้ที่มีปัญหาและมีความเสี่ยง จำเป็นที่จะต้องดำเนินการที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มพิจารณาหนี้ ทวงหนี้ ติดตามหนี้ และเจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์และศิลปะ ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าสัมมนาจะได้ทราบแนวทางปฏิบัติในหลากหลายประเด็นดังกล่าวที่พร้อมจะสามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย ดร.ขวัญชัย เกิดอุบล
หัวข้อสัมมนา
1. สาเหตุของการเกิดหนี้เสียหรือหนี้ที่มีปัญหาจากกระบวนการให้เครดิต
2. สัญญาณเตือนภัย (Early Warning Sign) ที่บ่งชี้ว่า ลูกหนี้อาจมีปัญหาหรือกำลังประสบปัญหา
3. เทคนิคการประสานงาน และการบริหารงานระหว่าง ฝ่ายติดตามหนี้ - ฝ่ายเครดิตหรือสินเชื่อ ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชีและการเงินที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนระบบการติดตามหนี้
4. ขั้นตอนการจัดระดับลูกหนี้และจัดเก็บข้อมูลลูกหนี้เพื่อลดความเสี่ยงและดำเนินการติดตามหนี้ - การจัดระดับลูกหนี้ - การวิเคราะห์ลูกหนี้ - การจัดเก็บข้อมูลลูกหนี้
* ความแตกต่างและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ถูกต้องในการทวงหนี้ - ลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา - ลูกหนี้เป็นนิติบุคคล
5. การวางแผนกำหนดกลยุทธ์เพื่อติดตามหนี้ที่มีปัญหา
6. กระบวนการติดตามหนี้ตามระบบการเรียกเก็บหนี้
7. การเลือกใช้เครื่องมือในการติดตามหนี้ที่เหมาะสมกับลูกหนี้แต่ละราย และข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้น - การติดตามด้วยตนเอง - การใช้โทรศัพท์ทวงถาม - การไหว้วานบุคคลภายนอก - การส่งจดหมาย/หนังสือทวงถาม - การใช้กระบวนการทางการดำเนินคดี
8. หลักการและวิธีปฏิบัติรูปแบบต่างๆ ในการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา * ทวงหนี้อย่างไรถือว่าผิดกฎหมาย * ข้อควรระวังในการทวงหนี้ - ทวงหนี้เอง - จ้างบริษัททวงหนี้
9. เทคนิคและยุทธวิธีในการเจรจาต่อรอง - การเตรียมการเจรจาต่อรอง - การเสนอเงื่อนไขในการเจรจาต่อรอง - การให้ข้อเสนอในการยุติการเจรจา
10. ข้อควรปฏิบัติในการพัฒนาการติดตามหนี้ให้เกิดความต่อเนื่องและได้ผลสูงสุด
|