บัญชีภาษีอากร เจาะกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบบัญชี สำหรับผู้สอบบัญชี (CPA)

รหัสหลักสูตร : 21/1728

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,243 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,992 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 

บัญชีภาษีอากร เจาะกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบบัญชี

สำหรับผู้สอบบัญชี (CPA)

   หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 7  ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 7  ชม.
  • เพิ่มคุณภาพการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีจากงานด้านภาษี กับประเด็นปัญหาที่พบ
    -  บอกข้อควรระวังได้
    -  ให้คำปรึกษาทางแก้ไขในวิธีที่ถูกต้อง
  • เทคนิคการโต้แย้งเมื่อสรรพากรใช้อำนาจประเมินจากการยื่นแบบฯ
    อีกขั้นสู่การเป็นผู้สอบบัญชีแบบให้คำปรึกษา!
  • Update กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีภาษีอากร
    (รายได้, รายจ่าย, สินทรัพย์ หนี้สิน, ส่วนของผู้ถือหุ้น, การตรวจนับสินค้าคงเหลือ, การขอคืน และการเครดิตภาษี)

 วิทยากรโดย อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์

หัวข้อสัมมนา

1. การตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39
    แห่งประมวลรัษฎากร

2. Update กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีภาษีอากร

3. กฎหมายภาษีอากรสำหรับการปฏิบัติงานตรวจสอบ จากการทดสอบการควบคุม
    และการตรวจสอบเนื้อหาสาระ

   
- งบการเงิน           

    - รายได้    

    - รายจ่าย

    - การผลิต        

    - การลงทุน            

    - การจัดหาเงิน 

    - การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติมเฉพาะธุรกิจ 

    - มองหาข้อผิดพลาดข้อมูลที่ผิด                           

    - รายงานข้อมูล

4.  เจาะกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบและจัดทำบัญชี

4.1 รายได้หลัก/ อื่นๆ ได้รับรู้รายได้ครบถ้วนหรือไม่

    - ที่ได้รับยกเว้นเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขหรือไม่

    - ของปีก่อนกระทบกับปีปัจจุบันถูกต้องหรือไม่

    - การให้กู้ยืมกระทบกับรายได้ดอกเบี้ยเสียภาษีครบถ้วนหรือไม่

4.2 รายจ่าย

    - เกี่ยวเนื่องกับกิจการและรายจ่ายต้องห้าม

    - การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่ลงได้เพิ่มขึ้น

    - ด้านสวัสดิการพนักงานเข้าเงื่อนไขประมวลรัษฎากรหรือไม่

    - การบริจาคเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

    - การใช้ขาดทุนสะสมยกมาถูกต้องหรือไม่

    - ค่ารับรองและการส่งเสริมการขาย

4.3 สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น/ผู้เป็นหุ้นส่วน บันทึกครบถ้วนหรือไม่

    - รายการสินทรัพย์ การแยกรายการ ระหว่างสินทรัพย์ กับค่าใช้จ่ายมีหลักเกณฑ์
      อย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

    - การตัดจำหน่ายหนี้สูญทางบัญชี

    - การคิดค่าเสื่อมทรัพย์สินวิธีการคำนวณ อัตรา ถูกต้องหรือไม่

4.4 การตรวจนับสินค้าคงเหลือ

    - ตรวจตามรอบ ตรวจนับสิ้นปี

    - สินค้าคงเหลือ ปัญหาในการตรวจนับ ขาด เกิน และเสื่อมสภาพ

    - การเป็นพยานในการทำลายสินค้า

    - การตรวจสอบเอกสาร และการลงลายมือชื่อในการทำลายสินค้า หรือทรัพย์สินเพื่อนำส่งสรรพากร

4.5 การขอคืนและการเครดิตภาษี

5.การตรวจสอบรายได้และรายจ่ายของกิจการ BOI กับบัตรส่งเสริมการลงทุน

    - กรณีกิจการ BOI มีหลายบัตรจะบันทึกบัญชีและคำนวณกำไรสุทธิแยกกันหรือไม

    - การตรวจสอบการเสียภาษีเมื่อพ้นอายุบัตรและการใช้สิทธิผลขาดทุนสะสมของ BOI

    - การใช้ขาดทุนสะสมของกิจการ BOI และ Non BOI ถูกต้องหรือไม่

6.การตรวจสอบเอกสารบัญชี-ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และ เอกสารที่ยื่นระบบ e-filling

7.สรุปประเด็นทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน

8.การเพิ่มคุณภาพการตรวจสอบจากงานด้านภาษี กับประเด็นปัญหาที่พบ บอกข้อควรระวังได้ ให้คำปรึกษา ทางแก้ไขในวิธีที่ถูกต้อง

    - จุดอันตรายที่สรรพากรมักเพ่งเล็งในงบการเงินเป็นอันดับแรก

    - กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนประเด็นที่ต้องระวัง

    - ประเด็นปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ในรายการ สินทรัพย์สูญหาย

    - เงินสดคงเหลือในมือมากเกินไปจะมีผลกระทบที่จะถูกตรวจสอบหรือไม่

    - บัญชี “เจ้าหนี้เงินยืมกรรมการ” ถ้าปรากฎในงบการเงินจะถูกสรรพากรเพ่งเล็งหรือไม่

    - บัญชี "ลูกหนี้ค่าหุ้น" เป็นประเด็นอะไรบ้างที่สรรพากรมักประเมินภาษี

    - หมายเหตุไว้ในงบการเงินว่าไม่คิดดอกเบี้ยที่เกิดจากการให้กรรมการกู้ยืมเงินจะมีผลอย่างไร

    - สรรพากรให้ปรับรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.50 งบการเงินต้องแก้ไขด้วยหรือไม่ จะบันทึกบัญชีปรับปรุงอย่างไรให้ถูกต้อง

    - การสอบยันหัก ณ ที่จ่ายกับการรับรู้รายได้ของผู้ถูกหัก

    - การสอบยันใบกำกับภาษีประเด็นอะไรที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

    - การตรวจสอบรายจ่ายกับเอกสารสรรพากรมีวิธีพิจารณาอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้และเป็นรายจ่ายต้องห้าม

9. การเป็นผู้สอบบัญชีและนักบัญชี แบบให้คำปรึกษา!  เทคนิคการโต้แย้งเมื่อสรรพากรใช้อำนาจประเมินจากการยื่นแบบ

    - ไม่ให้ใช้ขาดทุนสะสม       

    - ไม่ให้ขอคืนภาษี

    - ทำไมมีกำไรแต่ไม่จ่ายเงินปันผล

    - ทำขาดทุนแต่ยังขยายกิจการ                      

    - ขาดทุนสะสมสูงกว่าเงินทุน

    - ทำไม? ค่าใช้จ่ายเยอะ รายได้น้อยลง         

    - ไม่ให้ลงรายจ่าย

10. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 7:0 0:0 7:0

วิทยากร

อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พ้อยต์ เพลินจิต
100 ถ. วิทยุ แขวง ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 055 9000
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 5


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba