เทคนิคการเขียนแนวปฏิบัติสวัสดิการ สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

รหัสหลักสูตร : 21/3432

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 7,490 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 8,560 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เทคนิคการเขียนแนวปฏิบัติสวัสดิการ สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 

 

• เขียนสวัสดิการอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากการถูกปรับ คิดดอกเบี้ย เงินเพิ่มและรับโทษทางอาญาถึงจำคุก
• ประเด็นปัญหากรณี “สวัสดิการ” กลายเป็น “ค่าจ้าง” จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
• ในการฟ้องร้องคดีแรงงาน และเกี่ยวข้องอย่างไร? จะต้องนำไป คำนวณใช้เป็นฐานในการคำนวณ เงินสมทบต่างๆ
ของกฎหมายแรงงาน (คุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม เงินทดแทน)
• ศาสตร์และศิลป์ขั้นสูงในการถอดสมการและเขียน ลองฝึกเขียนจริง แบบเจาะลึก และแนะนําพยางค์ต่อพยางค์บรรทัดต่อบรรทัดจากวิทยากร

วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

หัวข้อสัมมนา

1. ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ “สวัสดิการ” ที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ
เป็นสภาพการจ้าง
หรือสิทธิฝ่ายจัดการ และบังคับด้วยกฎหมายอะไร? มาตราใดบัญญัติไว้

2. เทคนิคการเขียนคู่มือ แนวปฏิบัติ สวัสดิการ จะต้องมีเทคนิคอย่างไร?
ที่ไม่ให้ถูกกระทรวงแรงงานและศาลตัดสินว่าเป็น “ค่าจ้าง”
• รูปแบบการเขียนที่ต้องมี เรื่อง ที่มา ข้อเสนอ (วัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ หลักการ หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข อัตราการจ่าย การระงับหรือยกเลิกการให้/จ่าย) วันที่มีผลใช้บังคับ
และข้อสงวนสิทธิ์เป็นอย่างไร?
• การเขียนคู่มือสวัสดิการเป็นเรื่องๆ แยกสวัสดิการแต่ละประเภท ในลักษณะแนวปฏิบัติ
มีวิธีการและเทคนิคอย่างไร?
• องค์ประกอบของการตีความให้สวัสดิการที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็น “เงิน” เป็น “ค่าจ้าง”
มีอะไรบ้างหากทำสมการควรถอดสมการในองค์ประกอบใดทิ้ง จึงปลอดภัยที่สุด มีข้อแนะนำ
นัยซ่อนเร้นอย่างไรให้เป็นแนวทางและกุศโลบาย
• เคล็ด(ไม่)ลับ ในการเขียนสวัสดิการที่เป็นซึ่งจ่ายอยู่ในปัจจุบัน ให้ “ไม่เป็นค่าจ้าง” ทำอย่างไร?
จำเป็นต้องใช้เทคนิคและกลยุทธ์ขั้นสูงอย่างไร?

3. สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพ ค่ากะ ค่าอาหาร เบี้ยเลี้ยง เบี้ยขยัน
เงินประจำตำแหน่ง ค่าน้ำมันรถ ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น เป็นค่าจ้างหรือไม่ เขียนอย่างไร?
ไม่ให้เป็นค่าจ้าง

4. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ “สวัสดิการ” ที่มักถูกวินิจฉัยเป็น “ค่าจ้าง”
และทำให้ถูกนำไปเป็นฐานเพื่อคำนวณหรือต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา
และประเด็นปัญหาอื่นๆ 
ที่มักผิดพลาดพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อสามารถแก้ไขเพิ่มเติม
ยกเลิก เปลี่ยนแปลง
หลักเกณฑ์เงื่อนไขได้โดยไม่ผูกพันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
• สวัสดิการ “เงินค่ากะ” ผลกระทบกับประกันสังคมและการตีความ “ค่าจ้าง”
ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานและเป็นประเด็นการยื่นข้อเรียกร้องของสภาพแรงงานตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์
• สวัสดิการ “โบนัส” กรณีการให้โบนัสแบบตายตัว (Fit) กับโบนัสแบบยืดหยุ่นจะต้องทำอย่างไร?
ไม่กลายเป็น “ค่าจ้าง”
• สวัสดิการ “การขึ้นค่าจ้างประจำปี” จะต้องกำหนดให้มีหรือไม่? เป็นสวัสดิการประเภท
สิทธิการจัดการจะต้องสัมพันธ์กับอะไรบ้าง? ในการพิจารณา
• สวัสดิการ “การเลืNอนขั้น เลืNอนตำแหน่ง” จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทนอะไรบ้าง? โดยไม่ทำให้เป็นค่าจ้างและไม่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือยกเลิกได้)
• สวัสดิการ “ค่าครองชีพ” นั้นนับเป็น “ค่าจ้าง” แต่จะทำอย่างไร?
ให้สวัสดิการค่าครองชีพใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการอื่นๆ
• การนำไปคำนวณเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มขึ้น ในส่วนนายจ้างและลูกจ้าง
หากส่งไม่ครบจำนวน จะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าไหร่? และในส่วนของกองทุนเงินทดแทนจำนวนเท่าไหร่
• การนำไปคำนวณค่าล่วงเวลา 3 แบบ คือ ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ 1.5 แรง
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด 3 แรง ค่าทำงานในวันหยุด 1 แรง สำหรับลูกจ้างรายเดือน หรือ 2 แรง
สำหรับลูกจ้างรายวัน
• การนำไปคำนวณ ค่าชดเชยพิเศษ, ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว,
ค่าจ้าง 75% หยุดกิจการชั่วคราว,ค่าจ้างวันลาหยุดงานต่างๆ, ค่าจ้างเดินทางทำงานท้องที่อื่น ฯลฯ
• อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างจากการบริหารสวัสดิการไม่เป็น มีอายุความเท่าไหร่? ฯลฯ

5. เทคนิคการจัดการ สวัสดิการที่นายจ้างตั้งใจให้มากกว่ากฎหมาย เปลี่ยนจาก
“ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” เป็น “สิทธิฝ่ายจัดการ” เพื่อให้สามารถแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมในอนาคตได้

6. การเขียน แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล แล้วเก็บไว้ใช้งานภายในองค์กรเองมีประโยชน์อย่างไร นำมาใช้เมื่อใด จึงจะชนะคดี

7. การทำให้แนวปฏิบัติด้านสวัสดิการเพื่อใช้เป็นคู่มือบริหารงานบุคคล มีผลย้อนหลังในการบังคับกับลูกจ้างทำได้หรือไม่ อย่างไร?

8. ท่านถาม - อาจารย์ตอบ

 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
4 ถ.สุขุมวิท ซ.2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
02-656 7700
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4 (เดิน 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba