เทคนิคการเขียนและปรับปรุงระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน ให้สอดคล้องกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (รุ่นที่ 6) (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom)

รหัสหลักสูตร : 21/3490Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 7,490 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 8,560 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เทคนิคการเขียนและปรับปรุงระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
และสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน
ให้สอดคล้องกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (รุ่นที่ 6)

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 


• กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีความเกี่ยวข้องกับระเบียบข้อบังคับและสัญญาจ้าง
ในแง่มุมใดของกฎหมายแรงงาน และส่งผลกระทบอะไรบ้าง? หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง
• ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ สัญญาจ้าง นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับ
สถานประกอบกิจการ นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องจัดทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
• ในการเขียนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานย่อมต้องมีการระบุลงรายละเอียดตามที่
กฎหมายแรงงานบังคับไว้ และ หากพิจารณาความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันไปกับข้อมูล
ส่วนบุคคลของพนักงานและลูกจ้างแล้ว การบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานลูกจ้างมาใช้ในการบริหารจัดการ
ให้สอดคล้องและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน


บรรยายโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

หัวข้อสัมมนา

1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และสัญญา
จ้างแรงงานในบริบทของกฎหมายแรงงานและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

• กรณีไม่ต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ แรงงานตาม
กฎหมายใหม่(อันตราย!!! กรณีมีการตรวจสอบเกิดขึ้น)

2. ประเด็นสำคัญกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงกับระเบียบ
ข้อบังคับและสัญญาจ้างแรงงาน ในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์

• การเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
• บุคคลใดบ้าง? ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล
• บทลงโทษตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูล

3. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกี่ประเภท และมีข้อพิจารณาอย่างไร?
เชื่อมโยงการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเก็บ รวบรวม ใช้และเปิดเผยใน
การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง

• ประวัติพนักงาน ข้อมูลต่างๆ ที่นำมาจัดทำสัญญาจ้างแต่ละประเภท ชนิดการจ้าง
• ข้อมูลครอบครัวพนักงานในการให้สวัสดิการ
• ข้อมูลผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบอันเป็นสภาพการจ้างหนึ่ง
• สิทธิฝ่ายจัดการอะไรบ้างที่ข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอมหรือไม่ต้องขอ
ความยินยอมก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
• ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างประเภทต่างๆ
• ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างกำหนดขึ้นฝ่ายเดียว เช่น ข้อบังคับ
เกี่ยวกับการทำงาน สัญญาจ้าง ประกาศ คำสั่งต่างๆ หากมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแล้วจะมีวิธีในการเขียนอย่างไรให้มีผลบังคับใช้ได้จริง
เช่น ระเบียบให้ออกจากงานด้วยเหตุสุขภาพไม่ดี (ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอ่อนไหว)
คำสั่งแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอนพนักงานผู้ดำรงตำแหน่ง ข้อตกลง การขึ้นค่าจ้าง
เงินเดือนโดยนำข้อมูลส่วนบุคคลด้านสถิติการทำงาน ขาด ลา มาสาย ผลงานมา
ประมวลผล เป็นต้น

4. การเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการโอนย้าย (Transfer)
การโยกย้าย (Rotation) ลูกจ้าง 
การย้ายสถานประกอบการของนายจ้าง
(Move Location)

• ความแตกต่างที่ต้องกำหนดไว้ในข้อบังคับ หรือแนวทางปฏิบัติ
• รูปแบบและวิธีการเปลี่ยนตัวลูกจ้าง/เปลี่ยนตัวนายจ้าง
• รูปแบบและวิธีการการโยกย้ายและโอนย้าย

5. ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างจากการโอนย้าย (Transfer)
การโยกย้าย (Rotation) และการย้ายสถานประกอบการของนายจ้าง
(Move Location) จะต้องโอนย้ายตามไปด้วยหรือไม่เพียงใด และมีวิธี
การโอนข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรไม่ให้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
รวมถึงการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศต้องทำอย่างไร


6. การปรับปรุงระเบียบข้อบังคับการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน
และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


7. รายละเอียดสำคัญที่ต้องปรับปรุง เช่น การใส่หลักเกณฑ์ วิธีการใน
การนำข้อมูลส่วนบุคคลมาประมวลผลได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย การเลือกใช้
ฐานกฎหมายทั้งเจ็ด (7 Lawful Basis) และ ข้อดี-ข้อเสียในการปรับปรุง
ระเบียบข้อบังคับ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานและนโยบายบริษัท

• มีหลักเกณฑ์ ข้อพิจารณา ควรระวังและคำนึงถึงอะไรบ้างในกรณีที่มีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่มเติม ยกเลิกการนำระเบียบข้อบังคับการทำงานไปใช้ประมวลผล
• วันลาและหลักเกณฑ์วันลา ต้องมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลประเภทใดอย่างไรของ
ลูกจ้างไปใช้บ้า
• กรณีเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง จะต้องจ่ายค่าชดเชย อย่างไร? ข้อมูลอายุตัว
กับอายุงานเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องขอความยินยอมก่อนหรือไม่ หรือใช้ฐาน
กฎหมายอื่นๆ ได้ อย่างไร
• ขั้นตอนในการปรับปรุง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
* กรณีไม่มีสหภาพแรงงาน
* กรณีมีสหภาพแรงงาน

8. กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในการขอความยินยอมการเปลี่ยนแปลง ข้อบังคับ
การทำงานเพื่อป้องกันปัญหากับลูกจ้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


9. เกณฑ์การพิจารณาสำคัญ ในการจัดทำแนวปฏิบัติหรือแก้ไข แนวปฏิบัติ
เดิมที่ไม่จำเป็น และไม่ถูกต้องเฉพาะอย่างยิ่งแนวปฏิบัติที่มีการนำข้อมูล
ส่วนบุคคลเพื่อเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยนั้น จะมีมาตรการในการป้องกัน
มิให้เกิดการละเมิดหรือรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างนั้นอย่างไรบ้าง


10. ระเบียบการเกษียณอายุหรือ Early retirement ต้องทำข้อตกลง
การจ้างอย่างไร? อาศัยข้อมูลส่วนบุคคลกี่ชุดอะไรบ้างตามความจำเป็น
และเหมาะสม ค่าชดเชย มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำข้อมูลส่วนบุคคลประเภทใด
ของลูกจ้างมาใช้บ้าง

• เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุต้องจ่ายเงินอะไรบ้าง
• ไม่เคยมีแต่เป็นแนวปฏิบัติกันมายาวนาน
• เกษียณแต่ไม่จ่ายเงินชดเชย
• จ่ายแต่ไม่ครบตามกฎหมาย

11. ถาม-ตอบปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
• รายการที่น่าสนใจในการปรับใช้กับการเขียนระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ให้สอดคล้อง
ทั้งกฎหมายแรงงานและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
- ประเภทพนักงาน การจ้าง และการประทับบัตรบันทึกเวลา
- การจ้าง และการบรรจุพนักงาน
- สวัสดิการ และเงินช่วยเหลือ
- วินัยพนักงาน มาตรการ และบทกำหนดโทษทางวินัย

 

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องกรอกข้อมูล ผ่าน Google Forms
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ีระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
4. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
5. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand)หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
6. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายในวันถัดไปหลังเสร็จสิ้นการอบรม
*** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) ***



นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba