ผลกระทบ...พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับการบริหารงาน HR

รหัสหลักสูตร : 21/3527

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


 



ผลกระทบ...พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

กับการบริหารงาน HR 

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 

 

วิทยากรโดย อาจารย์สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา 

หัวข้อสัมมนา

1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ที่เกี่ยวข้องกับงาน HR
- อย่างไรที่ถือเป็นข้อมูลของลูกจ้างในทางกฎหมาย
- พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวข้องกับงาน HR อย่างไร?
- นายจ้างและฝ่าย HR ในฐานะ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” จะต้องปฏิบัติอย่างไร?
- สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างในการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกจ้าง
- เอกสารประเภทใด ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

2. สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายผู้ที่เกี่ยวข้อง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
- ตัวแทนผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

3. ข้อมูลที่ฝ่ายบุคคลเก็บรวบรวมไว้ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่และ
การจัดเก็บจะต้องปฏิบัติอย่างไร?และจะต้องขอความยินยอมอย่างไร?
- ข้อมูลส่วนบุคลประเภทใดสามารถเก็บได้และห้ามเก็บรวบรวม
- การได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล ทำอย่างไร? ไม่ผิด พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล
- ข้อมูลแต่ละประเภทของลูกจ้าง เช่น ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะ มีลักษณะอย่างไร
- ข้อมูลที่เก็บมาก่อน พระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับใช้ จะต้องทำอย่างไร?
- ข้อมูลชีวภาพต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริหารงานบุคคล เช่น การสแกนลายนิ้วมือ
การสแกนม่านตา ภาพจำลองใบหน้า

4. การขอความยินยอมในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่าย HR จะต้องทำอย่างไร?
- ความต้องการ (Requirement)
- บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
- ข้อมูลที่ไม่ต้องขอความยินยอมมีลักษณะอย่างไร
- การถอนความยินยอม มีหลักเกณฑ์อย่างไร?

5. การเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ฝ่ายHRจะต้องปฏิบัติอย่างไร?
- ข้อมูลประเภท “ข้อมูลห้ามจัดเก็บ”เช่น เชื้อชาติ ประวัติอาชญากรรม
  ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลชีวภาพฯลฯ (ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดเก็บโดยฝ่าย HR)
- ข้อยกเว้นในการเก็บข้อมูลห้ามจัดเก็บมีกรณีใดบ้าง
- การแจ้งขอเก็บรวบรวมข้อมูล ควรจะแจ้งเมื่อไหร่? และแจ้งอย่างไร?
  (สามารถแจ้งด้วยวาจาได้หรือไม่)
- ความสำคัญของการแจ้งวัตถุประสงค์ให้เจ้าของข้อมูลทราบ
- เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลตนเองอย่างไร?
- การแจ้งแก่เจ้าของข้อมูลจะต้องดำเนินการภายในกี่วัน
- แนวทางการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ผิด พ.ร.บ.
- ส่งข้อมูลหรือโอนข้อมูลไปยังบริษัทในเครือหรือต่างประเทศ
- การบันทึกการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล ตามมาตรา 39

6. การจัดทำ“หนังสือแบบขอความยินยอมพนักงาน” ในการขอเก็บรวม/ใช้/เปิดเผย
  ข้อมูลส่วนบุคค
- แนวทางการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ผิด พ.ร.บ.
- รายละเอียดสำคัญในหนังสือแบบขอความยินยอมพนักงาน
- หากนายจ้างต้อง เก็บรวม/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของลูกจ้าง
  นายจ้างจำเป็นต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างทุกครั้งหรือไม่
- การขอความยินยอมจากลูกจ้างในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไร
  เมื่อไหร่ต้องชี้แจงอะไรบ้าง
- โทษปรับหากไม่แจ้งของความยินยอม

7. แนวทางการแก้ไขเอกสารในฝ่ายบุคคล ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  และการจัดทำหนังสือ ขอความยินยอมผู้สมัครงาน
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน HR
- ใบสมัครงาน (Application Form)
- สัญญาจ้างแรงงาน (Employment Contract)
- ข้อมูลประกันสังคม
- ทะเบียนประวัติลูกจ้าง
- ใบขอเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ พนักงาน
- ใบอนุญาตผ่านเข้า-ออก ของบุคคลภายนอก เป็นต้น
- การจัดทำหนังสือขอความยินยอม
- ระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสาร และการทำลายเอกสาร

8. บทโทษทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครอง ที่นายจ้าง กรรมการ ผู้บริหาร ฝ่ายบุคคล
  ต้องระวังหากเก็บรวม/ใช้ /ปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้าง
- การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
- โทษจำคุก และปรับ(โทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท)
- กรณีใดบ้างได้รับยกเว้นไม่ถือเป็นความผิด

9. ถาม-ตอบ

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba