เทคนิคการสัมภาษณ์แบบสืบค้น Probing Interview Technique

รหัสหลักสูตร : 21/7122

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,173 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,922 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



เทคนิคการสัมภาษณ์แบบสืบค้น Probing Interview Technique

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 

 

การสัมภาษณ์งาน คือ กระบวนการนำเข้า (Input) ในการคัดเลือกคนเข้าสู่การทำงาน ในตำแหน่งหน้าที่และ
ความรับผิดชอบ ดังนั้น การเลือกคนผิด ก็ย่อมส่งผลลัพธ์ (Output) ที่ไม่ตรง กับสิ่งที่องค์กรต้องการ
และเป็นต้นทุนขององค์กรที่จะต้องแบกภาระไป แล้ว “อะไร ?” คือตัวช่วยที่น่า จะทำให้กระบวนการคัดเลือก
คนให้ได้ “ตัวตนที่แท้จริง” ที่เหมาะสมกับสิ่งที่องค์กรต้องการ “คำตอบ” คือ เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
แบบสืบค้น (Probing Interview Technique) เพื่อช่วยกลั่นกรองคนที่มี ความสามารถหรือพฤติกรรม
ในการทำงานตามที่องค์กรนั้นๆ ต้องการ 
• คัดกรองผู้สมัครงานให้เหมาะสมกับภาระงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบได้แน่นอนยิ่งขึ้น
• ค้นหาต้นตอของความคิด ความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ด่วนสรุปจากเพียงคําตอบแรก
• รับฟรี !!! ตัวอย่างคําถามการสัมภาษณ์แบบสืบค้น ที่สามารถนํากลับไปใช้ได้จริง

วิทยากรโดย อาจารย์พรเทพ ฉันทนาวี

หัวข้อสัมมนา

1. รูปแบบของการสัมภาษณ์งาน
1.1 การสัมภาษณ์งานแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured Interview Platform)
1.2 การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง (Structured Interview Platform)

2. ข้อดี – ข้อเสียของ 2 รูปแบบการสัมภาษณ์งาน อย่างไรจะได้ผลดีมากกว่ากัน

3. หลักการวิเคราะห์และคัดเลือกผู้สมัครงาน โดยพิจารณาข้อมูลจากใบสมัครงาน เช่น
3.1 Bio data ข้อพึงระวัง 20 ประการ
3.2 มูลเหตุของการเปลี่ยนงาน
3.3 อะไรคือตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครงาน - ฯลฯ

4. “4 มิติเชิงลึก” หลักการสัมภาษณ์โดยใช้การถามสืบค้น ที่ผู้สัมภาษณ์ และคณะกรรมการสัมภาษณ์ต้องรู้
4.1 รู้ให้ลึก “ผู้สมัครงานคือใคร”
4.2 ลงรายละเอียด “ผู้สมัครงานมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง”
4.3 สอบถึงต้นตอ “ผู้สมัครงานเคยทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง”
4.4 คัดกรอง “ผู้สมัครงานคือคนที่ใช่และเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่”

5. “4 ขั้นตอน” การกำหนดขอบเขตโครงสร้างคำถามแบบสืบค้น
5.1 คำถามประเภท “อุ่นเครื่อง” เพื่อวิเคราะห์บุคลิภาพ ทัศนคติ พฤติกรรมของผู้สมัครงานโดยรวมเบื้องต้น
5.2 คำถามประเภท “คัดตัว” เพื่อค้นหาความสามารถจากผลลัพธ์เชิงพฤติกรรมของผู้สมัครงาน
5.3 คำถามประเภท “ขุดคุ้ย” เพื่อประเมินผลงานที่ผ่านมาในอดีตและเทียบเคียบกับความสามารถ การเรียนรู้ของ
ประสบการณ์เพื่อวิเคราะห์ “ความเป็นไปได้” “ความพอดี” กับงานในตำแหน่งนั้นๆ
5.4 คำถามประเภท “เข้าชิง” เพื่อคัดเลือกให้ผู้สมัครงานไป “เปรียบเทียบ” กับผู้สมัครงาน “รายอื่นๆ” ก่อนตัดสินใจ
รับเข้าทำงานหรือตัดสินใจรับผู้สมัครงานคนนี้ได้เลยหรือไม่

6. เทคนิคการถามต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบเพียง "หลักการ" หรือ "ตอบภาพรวม"
และผู้สัมภาษณ์ต้องการ "เจาะลึก" ให้ทราบว่าคำตอบนั้น ๆ ผู้ถูกสัมภาษณ์เป็น "ตัวจริง" หรือ "ตัวลวง"

7. ตัวอย่างคำถามการสัมภาษณ์แบบสืบค้น ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้จริง

8. จิตวิทยาการสังเกตและอ่านภาษากาย ที่บ่งบอกถึง "ทัศนคติ" "ความเชื่อ" "กระบวนการคิด" และ
"การแก้ปัญหาและตัดสินใจ" ฯลฯ ของผู้สมัครงานที่สะท้อนให้เห็นระหว่างการสัมภาษณ์

9. จิตวิทยาจับพิรุธ จับโกหกในเรื่องที่ผู้สมัครงาน "สร้างเรื่อง" หรือ "พูดเกินจริง"

10. ข้อพึงปฏิบัติและพึงละเว้นในการสัมภาษณ์งาน

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์พรเทพ ฉันทนาวี

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
1 ถนนรัชดาภิเษก Fortune Town เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-641-1500
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba