โครงการอบรมมาตรฐานการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงและบังคับใช้ปี 2562 (หลักสูตรใหม่ 2562)

รหัสหลักสูตร : 21/2415

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 23,540 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 25,680 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


โครงการอบรมมาตรฐานการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงและบังคับใช้ปี 2562

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี รอ ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี รอ ชม.

 

วิทยากรโดย ดร.มนตรี ช่วยชู ดร.วรกร แช่มเมืองปัก อาจารย์สุวิมล เที่ยงแท้ และดร.พรปรวีณ์ ชาญสุวรรณ

หัวข้อสัมมนา

Section 1 : ประเด็นปัญหาแนวปฏิบัติทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี การนำเสนองบการเงินและประมาณ
หนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น


1. นิยามการบัญชีที่มีความหมายสำหรับกิจการ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางของมาตรฐาน
2. สิ่งที่ผู้ทำบัญชีควรทำความเข้าใจก่อนจะปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี
- ลักษณะโครงสร้างของบริษัทมีผลอย่างไรต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน
- ลักษณะของการประกอบกิจการมีผลต่อการจัดทำบัญชีอย่างไร
- เอกสารหลักฐานที่สำคัญที่ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับข้อมูลเพื่อการจัดทำบัญชี
- จุดสำคัญที่ต้องวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการจัดทำบัญชี
3. การทบทวนประสิทธิภาพของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลสอดคล้องกับการจัดทำบัญชี
และการนำเสนองบการเงิน
4. ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่มีประโยชน์
- ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
- ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
- ความสามารถเปรียบเทียบได้
- ความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้
- ความทันเวลา
- ความสามารถเข้าใจได้
5. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน
6. จุดมุ่งหมายของงบการเงิน
- เพื่อให้ทราบฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ
- เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
- เพื่อแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร
7. งบการเงินฉบับสมบูรณ์และองค์ประกอบของงบการเงิน
- งบแสดงฐานะการเงิน
- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
- งบกระแสเงินสด
- หมายเหตุประกอบงบการเงิน
8. ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน
- การดำเนินงานต่อเนื่อง
- เกณฑ์คงค้าง
9. ข้อควรระวังในการรับรู้สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ที่กิจการกำลังดำเนินการตาม
กฎหมายซึ่งผลของคดียังไม่แน่นอน
10. ลักษณะของการเปิดเผยรายการหนี้สินตามมาตรฐานการบัญชี จุดที่ต้องระมัดระวัง
- อะไรคือหนี้สินที่ต้องรับรู้ไว้บนงบการเงิน
- อะไรคือประมาณการหนี้สิน ลักษณะและวิธีการที่กระทบต่อการจัดทำบัญชี
- อะไรคือหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น รูปแบบวิธีการที่ต้องปฏิบัติ
11. การแก้ไขปัญหาการจัดทำบัญชีที่แตกต่างจากภาษี จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง ให้ถูกต้อง และไม่กระทบ
ต่อการปฏิบัติงาน
12. ความแตกต่างที่ต้องปรับปรุงรายการบัญชี หรือปรับปรุงรายการภาษี  เพื่อให้การนำเสนองบการเงิน
และการนำส่งรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นไปอย่างถูกต้อง

Section 2 :ประเด็นปัญหาและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 เรื่อง
สินค้าคงเหลือ (TAS 2)


1. คำนิยามของสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2561)
2. ประเภทและการรับรู้ต้นทุนของสินค้าคงเหลือตามลักษณะการประกอบธุรกิจ
3. เกณฑ์ในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ
- ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
- ต้นทุนในการซื้อ
- ต้นทุนแปลงสภาพ
- ต้นทุนอื่น ๆ
4. หลักเกณฑ์และการบันทึกบัญชีการตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ
- การตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV)
- การตั้งค่าเผื่อสินค้าคงเหลือเสื่อมคุณภาพ (Provision)
5. วิธีปฏิบัติกรณีปรับปรุงบัญชีสินค้าคงเหลือให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดประเด็นกับสรรพากร
- สินค้าคงเหลือที่มีสภาพชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมคุณภาพ
- สินค้าขาดที่เกิดจากการตรวจนับ
- สินค้าเกินที่เกิดจากการตรวจนับ
- สินค้าสูญหายเนื่องจากถูกขโมย
6. รูปแบบรายงานสินค้าคงเหลือ (Stock card) ที่สรรพากรยอมรับ
7. กิจการเปลี่ยนวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือตามเกณฑ์ราคาทุนจากวิธีเข้าก่อน-ออกก่อนเป็นวิธีถัวเฉลี่ย
ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี กิจการจะทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
8. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือที่ผู้สอบบัญชี / สรรพากร เกิดข้อคำถาม
- ที่มาของการกำหนดเกณฑ์การตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ
- การตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือไม่สอดคล้องกับอายุของสินค้าคงเหลือ
- สินค้าขาด (เกิน) มีจำนวนเงินที่สูง และเกิดขึ้นเป็นประจำ
- ต้นทุนสินค้าสูงผิดปกติ
- ส่วนสูญเสียในการผลิตสูงเกินกว่าธุรกิจประเภทเดียวกัน
- บริษัทในเครือขายวัตถุดิบให้แก่กิจการในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด (Transfer Pricing)
- กิจการขายสินค้าให้แก่บริษัทในเครือในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด (Transfer Pricing)

Section 3 : ปัญหาและแนวทางปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน


1. หลักเกณฑ์ในการรับรู้ต้นทุนของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
2. การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์โดยใช้ราคาทุน
- ส่วนประกอบของราคาทุน
- การวัดมูลค่าของราคาทุน
3. การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ
- วิธีราคาทุน
- วิธีการตีราคาใหม่
4. หลักเกณฑ์ในการคิดค่าเสื่อมราคา
5. การประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ใดที่บ่งชี้ว่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เกิดการด้อยค่าหรือไม่ กิจการต้องพิจารณาถึง
ข้อบ่งชี้ต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
- แหล่งข้อมูลภายนอก
- แหล่งข้อมูลภายใน
6. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าผลขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
7. เงื่อนไขการตัดรายการมูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ออกจากบัญชี
8. การรับรู้รายการเมื่อตัดรายการมูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ออกจากบัญชี
- กรณีขายทรัพย์สินที่ยังหักค่าเสื่อมราคาไม่หมด และเกิดกำไร (ขาดทุน) จากการจำหน่าย
- กรณีขายทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว และเกิดกำไร (ขาดทุน) จากการจำหน่าย
- กรณีทรัพย์สินชำรุด เสียหาย และเลิกใช้
9. หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเมื่อมีการตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม
10. เทคนิคในการกำหนดอายุการใช้งาน และมูลค่าคงเหลือ เพื่อนำมาคำนวณค่าเสื่อมราคา
11. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ไม่ควรพลาด
- รายจ่ายต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างไรถึงจะถือเป็นทรัพย์สิน
- เงื่อนไขในการนำต้นทุนการกู้ยืมมารวมคำนวณเป็นทรัพย์สิน
- การคำนวณค่าเสื่อมราคาเริ่มเมื่อใด เมื่อทรัพย์สินอยู่ในสถานที่พร้อมใช้ หรือเมื่อเริ่มใช้งาน
- ทะเบียนทรัพย์สินระบุสถานที่ไม่ตรงกับสถานที่ใช้จริง
- ทรัพย์สินในทะเบียนมีรายการมากกว่าที่ตรวจนับจริง
12. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน นิยามความหมายและลักษณะการเปิดเผยรายการสำหรับกิจการ
13. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
14. ค่าความนิยมที่ได้จากการรวมกิจการ ลักษณะสำคัญของการจัดทำรายการบัญชี
15. อายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
16. การเลิกใช้และการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
17. การจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน
18. หลักเกณฑ์การรับรู้และการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นสินทรัพย์

Section 4 : ปัญหาและแนวทางปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
TFRS 15 และสัญญาเช่า TFRS 16


1. หลักการสำคัญ 5 ขั้นตอน (Five-step Model Framework) ของการรับรู้รายได้ตามมาตรฐาน
การรายงานทางการเงิน (TFRS 15)
- ขั้นตอนแรก: ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
- ขั้นที่สอง: ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา
- ขั้นที่สาม: กำหนดราคาของรายการ
- ขั้นที่สี่: ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา
- ขั้นที่ห้า: รับรู้รายได้เมื่อ (หรือขณะที่) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น
2. ประเด็นปัญหาการรับรู้รายได้ตาม TFRS 15 ที่กิจการยังเกิดความสับสนและปฏิบัติไม่ถูกต้อง
- กิจการนำสินค้าไปฝากขาย โดยสินค้าอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของผู้รับฝากขาย กิจการต้องบันทึก
รับรู้รายได้เมื่อไหร่
- กิจการขายเครื่องจักรให้กับลูกค้า ราคา 600,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระ 12 งวด ๆ ละ 50,000 บาท
(ไม่คิดดอกเบี้ย) กิจการจะรับรู้รายได้ตามเงินที่ได้รับชำระในแต่ละงวดหรือรับรู้เมื่อส่งมอบเครื่องจักร
- กิจการขายสินค้าให้ลูกค้าที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 31 ต.ค โดยใช้บริการรถขนส่ง สินค้าไปถึงลูกค้า
วันที่ 3 พ.ย กิจการต้องบันทึกรับรู้รายได้วันไหน
- กิจการก่อสร้างคอนโด ราคาขาย 3 ล้านบาท/ห้อง โดยเก็บเงินล่วงหน้าจากลูกค้าในวันทำสัญญา
100,000 บาท และให้ผ่อนชำระ 20 งวด ๆ ละ 10,000 บาท เงินที่เหลือ 2.7 ล้านบาท ชำระในวันโอน
กิจการต้องบันทึกรับรู้รายได้อย่างไร
- กิจการรับเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานสูง 10 ชั้น ในพื้นที่ดินของลูกค้า ราคารับเหมาก่อสร้าง 100 ล้านบาท
ระยะเวลาในการก่อสร้าง 2 ปี โดยแผนการก่อสร้างปีแรก 4 ชั้น ที่เหลือ 6 ชั้น สร้างเสร็จในปีที่ 2 กิจการ
ต้องบันทึกรับรู้รายได้อย่างไร
- กิจการจำหน่ายแอร์พร้อมติดตั้ง ราคา 40,000 บาท และล้างแอร์ฟรี 4 ครั้ง ใน 4 ปี กิจการต้องบันทึก
รับรู้รายได้อย่างไร
3. สาระสำคัญของสัญญาเช่า การจัดการงานด้านบัญชี การวัดมูลค่า และการรับรู้รายการสำหรับกิจการ
4. วิธีการของการรับรู้รายการสัญญาเช่าในส่วนของผู้เช่าและผู้ให้เช่า แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ และจะจำแนก
สัญญาอย่างไรให้ถูกต้องตามที่มาตรฐานกำหนด
5. การปฏิบัติเกี่ยวกับการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่า วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
6. การปฏิบัติงานที่สำคัญสำหรับเรื่องสัญญาเช่าสำหรับกิจการ และประเด็นภาษีเงินได้ ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์และ
หนี้สินของกิจการ

Section 5 : ประเด็นปัญหาและแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและ
มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง

* มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2561) เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศ
* มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและ
ข้อผิดพลาด (TAS 8)
* มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 10 เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน (TAS 10)

1. ประเด็นปัญหาและแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
- กิจการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายควรบันทึกบัญชีอย่างไร
- ทุกสิ้นเดือน / สิ้นปี จะต้องปรับปรุงรายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าอย่างไร
- กิจการจะบันทึกรับรู้ต้นทุนสินค้าเมื่อเข้าเงื่อนไขใดบ้าง และใช้อัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร
2. กิจการมีเจ้าหนี้การค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องบันทึกรับรู้รายการอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

- กิจการจะบันทึกรับรู้บัญชีเจ้าหนี้การค้าเมื่อใด และใช้อัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร
- ทุกสิ้นเดือน / สิ้นปี จะต้องปรับปรุงรายการเจ้าหนี้การค้าอย่างไร
- เมื่อกิจการจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า จะบันทึกบัญชีอย่างไรให้ถูกต้อง
3. กิจการมีลูกหนี้การค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องบันทึกรับรู้รายการอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
- กิจการจะบันทึกรับรู้บัญชีลูกหนี้การค้าเมื่อใด และใช้อัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร
- ทุกสิ้นเดือน / สิ้นปี จะต้องปรับปรุงรายการลูกหนี้การค้าอย่างไร
- เมื่อกิจการรับชำระหนี้จากลูกหนี้การค้า จะบันทึกบัญชีอย่างไรให้ถูกต้อง
4. แนวทางในการจัดทำรายงานภาษีขายสินค้าไปต่างประเทศให้ถูกต้องและสรรพากรยอมรับ
- ความรู้ความเข้าใจ Status ของใบขนสินค้าที่นำมาใช้ในรายงานภาษีขายที่ถูกต้อง
- ราคาหรือมูลค่าที่ใช้ในการบันทึกรายงานภาษีขาย
- อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการบันทึกรายงานภาษีขาย
5. แนวทางในการจัดทำรายงานภาษีซื้อสินค้าจากต่างประเทศให้ถูกต้องและสรรพากรยอมรับ
- ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มใช้อัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร
- ใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นใบกำกับภาษีได้หรือไม่
- ประเด็นใดบ้างที่กรมศุลกากรไม่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการ
6. ประเด็นปัญหาที่นักบัญชีมักสับสนว่าอะไรคือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณ
การทางการบัญชี และการเกิดข้อผิดพลาด
7. เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี จะต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เป็นประเด็นกับสรรพากร
8. นักบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร กรณีไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดจาก การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ
ย้อนหลังหรือปรับงบการเงินย้อนหลังได้
9. ประเด็นการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่กิจการต้องปรับงบย้อนหลัง
10. จะต้องแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อเกิดข้อผิดพลาดจากการทุจริตและส่งผลต่องบการเงิน
11. จะต้องแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อเกิดข้อผิดพลาดโดยขาดความรู้หรือผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจและส่งผลต่องบการเงิน
12. กิจการปฏิบัติถูกหรือไม่ กรณีที่เปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานทรัพย์สินถาวรจาก 5 ปี เป็น 10 ปี ทั้งทรัพย์สินเดิม
และที่ได้มาใหม่ โดยการคำนวณค่าเสื่อมย้อนหลังตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา พร้อมปรับปรุงงบย้อนหลัง
13. เตรียมพร้อมกับการเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบัญชี
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
14. กรณีศึกษา วันที่ 31 ต.ค 61 กิจการประสบปัญหาน้ำท่วมโรงงาน ทำให้เครื่องจักรเสียหายทั้งหมด โดย
เครื่องจักรมีราคาทุน 100 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 70 ล้านบาท  Book Value 30 ล้านบาท กิจการทำประกัน
เครื่องจักรไว้ 80 ล้านบาท กิจการจะต้องจัดการทางบัญชีอย่างไร (ณ 31 ธ.ค 61 ซึ่งเป็นวันปิดรอบบัญชี บริษัทประกัน
ยังอยู่ระหว่างการประเมิน)
- กิจการต้องบันทึกตัดบัญชีเครื่องจักร เพื่อรับรู้ขาดทุนในเหตุการณ์น้ำท่วมหรือไม่ถ้าบันทึกจะบันทึกเมื่อไหร่
- ระหว่างรอผลประเมินจากบริษัทประกัน กิจการสามารถบันทึกรับรู้เงินชดเชยตามสัญญาประกันได้เลยหรือไม่
- กิจการจะรับรู้เงินชดเชยจากการทำประกันในบัญชีได้เมื่อไหร่
- กิจการต้องประมาณการเงินชดเชยจากประกันหรือไม่อย่างไร
- กิจการจะต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างไร
- จากเหตุการณ์ข้างต้น มีเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานใดบ้างที่กระทบต่องบการเงิน ณ วันที่ 31 ธ.ค 61

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
30:0 0:0 30:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สุวิมล เที่ยงแท้
ดร.มนตรี ช่วยชู
ดร.วรกร แช่มเมืองปัก
ดร.พรปรวีณ์ ชาญสุวรรณ

สถานที่

โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพ
138 Sukhumvit Soi 4, Sukhumvit Road, Bangkok 10110
โทรศัพท์ :
02 254 0404
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีนานา ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba