รวมประเด็นภาษีเพื่อการปิดบัญชีอย่างถูกต้อง

Course Code : 21/1952

Course Schedule

Course Price

Members Magazine : 4,280 Thai Baht ( Include VAT )
Non Members : 5,029 Thai Baht ( Include VAT )

Course Detail



รวมประเด็นภาษีเพื่อการปิดบัญชีอย่างถูกต้อง (105 ประเด็น)

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

• ปิดบัญชี และปิดความเสี่ยงการถูกตรวจสอบจากสรรพากร
• ต้องจัดทำรายงานอะไรบ้างเมื่อสิ้นรอบบัญชี
• เผยวิธีจัดการกับสินค่าชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ ล้าสมัย ให้ถูกต้องและสรรพากรยอมรับ
• รู้ถึงหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรในการพิจารณาสินทรัพย์ถาวรกับค่าใช้จ่าย
• เข้าใจการรับรู้รายได้ทางบัญชีกับทางภาษี พร้อมเคลียร์ประเด็นปัญหารายจ่ายของกิจการเมื่อปิดบัญชี

 

วิทยากรโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านบัญชีและการตรวจสอบภาษี

หัวข้อสัมมนา

1. การจัดทำงบการเงิน กับ ภ.ง.ด.50 ความเหมือนที่แตกต่าง

2. งบการเงิน ณ วันปิดบัญชี ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง

3. จุดสังเกตความผิดปกติของรายการในงบการเงินที่มักถูกตรวจสอบ

4. สินทรัพย์หมุนเวียนจะต้องตรวจสอบรายการใดบ้างที่มักมีประเด็นความผิดพลาด

5. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะต้องตรวจสอบรายการใดบ้างที่มักมีประเด็นความผิดพลาด

6. การนำรายการสินทรัพย์หมุนเวียนไปไว้ในรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน จะมีผลกระทบทางภาษีอากรหรือไม่

7. ลูกหนี้การค้า กับ ลูกหนี้อื่น ความแตกต่างทางภาษีอากร

8. ลูกหนี้จากการขายสินค้า กับ ลูกหนี้จากการให้บริการ ความแตกต่างใน ภาระภาษีอากรที่ต้องระมัดระวัง

9. วันปิดบัญชีกิจการควรตรวจสอบยันยอดลูกหนี้รายตัว กับ บัญชีคุมยอดลูกหนี้ หรือไม่หากไม่ตรงกันต้องปฏิบัติอย่างไร

10. ลูกหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว ไม่สามารถชำระหนี้ได้กิจการจะตัดหนี้สูญอย่างไรให้ถูกต้อง

11. หนี้สงสัยจะสูญจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

12. การตัดบัญชีลูกหนี้เป็นหนี้สูญถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องรอจนกว่าคดีถึงที่สุดทุกกรณีหรือไม่

13. อย่างไรถือเป็นสินค้าคงเหลือต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบทุกประเภทหรือไม่

14. ภาชนะบุรรจุสินค้า วัสดุสิ้นเปลืองต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่

15. เมื่อสิ้นรอบบัญชีต้องมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือต้องจัดทำรายงานอะไรบ้าง จึงจะครบถ้วนถูกต้อง

16. การตีราคาสินค้าคงเหลือควรปฏิบัติอย่างไรให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากร

17. เมื่อมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือหากพบว่า สินค้าชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ ล้าสมัย จะต้องจัดทำรายงานอย่างไร
ให้สรรพากรยอมรับ

18. การจำหน่ายสินค้าชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ ล้าสมัย หากขายต่ำกว่าราคาตลาดทำได้ หรือไม่ แนวปฏิบัติที่สำคัญ

19. แนวปฏิบัติของวัตถุดิบเสียหายต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

20. แนวปฏิบัติของงานระหว่างทำเสียหายต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

21. แนวปฏิบัติของสินค้าสำเร็จรูปเสียหายต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

22. การตัดบัญชีของสินค้าเสียหายมีวิธีใดบ้างที่สรรพากรยอมรับ

23. หากสินค้าของกิจการสูญหายจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ แนวปฏิบัติที่สำคัญ

24. เมื่อมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือพบว่า “ สินค้าขาด หรือ เกิน” จากรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ ต้องปฏิบัติอย่างไร
และรายงานอะไรบ้างที่ต้องจัดทำ

25. หากกิจการต้องการทำลายสินค้าและวัตถุดิบต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

26. กิจการแจ้งการทำลายสินค้าและวัตถุดิบกับสรรพากรแล้ว แต่ไม่ได้ ทำลายจริง กลับนำไปขายต่อ ทำได้หรือไม่

27. ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง ณ วันปิดบัญชีของรายจ่ายล่วงหน้า และรายได้ค้างรับ

28. ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง ณ วันปิดบัญชีของรายจ่ายค้างจ่าย และรายได้รับล่วงหน้า

29. เงินกู้ยืมกรรมการ พนักงาน หรือ บริษัทในเครือไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่

30. หากเงินกู้ยืมต้องคิดดอกเบี้ยมีภาระภาษีอะไรบ้าง

31. การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยท้องตลาดทำได้หรือไม่

32. การให้กู้ยืมเงินมีเหตุอันสมควรไม่คิดดอกเบี้ย และถูกประเมินหรือไม่

33. เกณฑ์การเสียภาษีของดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นอย่างไร

34. การพิจารณาระหว่างสินทรัพย์ถาวรกับค่าใช้จ่ายมีหลักเกณฑ์อย่างไร ในทางภาษีอากร

35. การกำหนดจำนวนเงินให้ถือเป็นสินทรัพย์ สรรพากรยอมรับหรือไม่

36. กู้เงินมาซื้อสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินกู้จะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ หรือค่าใช้จ่าย

37. อย่างไรถือเป็น “ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์”

38. ซื้อสินทรัพย์เข้ามาใช้งาน แต่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในรอบบัญชีนั้น ทำได้หรือไม่ เนื่องจากจำนวนเงินเล็กน้อย

39. รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้น จะถือเป็น สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย

40. อย่างไรถือเป็นค่าซ่อมแซมที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

41. วันปิดบัญชีหากกิจการบันทึกสินทรัพย์คาดเคลื่อนจะมีผลทางภาษีอากรอย่างไร

42. หลักเกณฑ์การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์

43. วันปิดบัญชีกิจการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ต่ำกว่าอัตราที่ ประมวลรัษฎากรกำหนดทำได้หรือไม่

44. ทางบัญชีหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมต่ำกว่าทางภาษีอากร เมื่อกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 จะใช้สิทธิอัตราทางภาษีอากรได้หรือไม่

45. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาวิธีลดยอดทวีคูณ ในทางภาษีอากรต้องบวกกลับหรือไม่

46. สินทรัพย์บางประเภทหักค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง บางประเภทหักวิธีลดยอดทวีคูณทำได้หรือไม่

47. ซื้อสินทรัพย์ประเภทเดียวกันหลายชิ้น จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอัตราไม่เท่ากันได้หรือไม่

48. ซื้อสินทรัพย์มา แต่หลงลืมหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ปีถัดไปจะใช้สิทธิหักได้หรือไม่

49. ซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์กิจการจะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 20% ได้หรือไม่ หรือต้องหัก 3 ปี

50. ซื้อเครื่องบันทึกการเก็บเงินกิจการเลือกหักค่าเสื่อมราคา 20% หรือ 100% หรือมีวิธีอื่น

51. ณ วันปิดบัญชีกิจการจะต้องพิจารณาสินทรัพย์ด้อยค่า ผลขาดทุนจากการ ด้อยค่าสินทรัพย์จะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

52. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่กิจการมีสิทธิขอคืน แต่ไม่เอาคืนจะต้องปฏิบัติอย่างไร

53. รายจ่ายค้างจ่ายกิจการควรระมัดระวังอะไรบ้าง ณ วันปิดบัญชี

54. เจ้าหนี้รายตัว กับ บัญชีคุมเจ้าหนี้ กิจการควรปฏิบัติอย่างไร ณ วันปิดบัญชี

55. ยอดเจ้าหนี้คงเหลือ ณ วันปิดบัญชีมียอดติดลบได้หรือไม่

56. ณ วันปิดบัญชีกิจการจะต้องมีการตั้งประมาณการหนี้สินทางบัญชีในทางภาษีอากรยอมรับหรือไม่

57. กิจการมีลูกหนี้ค่าหุ้น กิจการมีภาระภาษีอะไรบ้าง

58. ขาดทุนสะสมไม่เกิน 5 ปี มีหลักเกณฑ์การใช้สิทธิอย่างไรในทางภาษีอากร

59. การเลือกหักขาดทุนสะสมบางปีทำได้หรือไม่

60. ความแตกต่างของรายได้ทางบัญชีกับรายได้ทางภาษีที่ต้องระมัดระวัง

61. การรับรู้รายได้ทางบัญชีกับการรับรู้รายได้ทางภาษี ความเหมือนที่แตกต่างกัน อย่างไร

62. บัญชีรับรู้เกณฑ์คงค้าง แต่ภาษีรับรู้เกณฑ์สิทธิ แตกต่างกันหรือไม่

63. มีรายได้อะไรบ้างที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่ในทางภาษีต้องนำมาถือเป็นรายได้

64. มีรายได้อะไรบ้างที่ทางบัญชีถือเป็นรายได้ แต่ในทางภาษียกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

65. ส่งของตัวอย่างไปให้ลูกค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และถือเป็นรายได้ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

66. ยอดรายได้ที่ปีปัจจุบันต่ำกว่าปีก่อนจะถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่หรือไม่

67. รายได้จากการขายและการให้บริการความแตกต่างในภาระภาษีที่ต้อง ระมัดระวังเมื่อปิดบัญชี

68. กิจการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องนำมาถือเป็นรายได้หรือไม่

69. หากกิจการมีขาดทุนขั้นต้น มีประเด็นภาษีที่ต้องระมัดระวังหรือไม่

70. ภาระภาษีของรายได้จากการขายเศษวัสดุมีอะไรบ้าง

71. มีรายได้อะไรบ้างที่มักจะเสียภาษีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง

72. ได้รับรางวัลจากการขายได้ตามเป้า จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

73. รายได้อื่นมีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง ณ วันปิดบัญชี

74. กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในทางภาษีอากร ณ วันปิดบัญชี จะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนใด้

75. กิจการจะต้องจัดทำรายงานอะไรบ้างเพื่อควบคุมรายได้ให้ถูกต้องไม่เสียภาษี ผิดพลาด

76. ค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมีอะไรบ้าง

77. วิธีพิจารณาว่า อย่างไรจึงจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ทางภาษีอากรได้

78. หลักเกณฑ์ 4 ข้อในการพิจารณา “ บิล ” อย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

79. ค่าใช้จ่ายจะต้องมี “ บิล ” ทุกรายการหรือไม่ หากไม่มี “ บิล ” ต้องปฏิบัติ อย่างไร

80. ซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีบิล ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

81. ซื้อของได้รับบิลที่มีข้อความไม่ครบถ้วน แต่ใช้นามบัตรแนบกับบิลได้หรือไม่

82. ซื้อของไม่มีบิลทำใบรับเงินให้เซ็นรับ ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนเสมอไปหรือไม่

83. มีรายจ่ายต้องห้ามอะไรบ้างที่กิจการจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ณ วันปิดบัญชี

84. รายจ่ายต้องห้ามต้องบวกกลับทุกรายการหรือไม่

85. อย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หาที่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

86. บริจาคอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

87. กิจการขาดทุนแต่มีรายการบริจาคในระหว่างปี จะนำมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

88. รายจ่ายการกุศลสาธารณะต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิเป็นอย่างไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร

89. รายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬาต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิเป็นอย่างไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร

90. ซื้อบัตรการกุศลจะถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

91. ค่ารับรองต้องไม่เกินรายละ 2,000 บาท หมายความว่าอย่างไร

92. สิ้นรอบบัญชีค่ารับรองต้องไม่เกิน 0.3% ต้องคำนวณอย่างไร และหากเกินต้องบวกกลับในแบบ ภ.ง.ด.50 หรือไม่

93. อย่างไรถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

94. อย่างไรถือเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้จ่ายจริง

95. ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ หมายความว่าอย่างไร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

96. เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญาอย่างไรที่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

97. ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิขอคืนหรือเครดิตภาษีขายได้ แต่กิจการไม่ต้องการขอคืนจะนำมาถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

98. ภาษีขายจ่ายแทนลูกค้าได้หรือไม่

99. การอบรมสัมมนาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรต้องขออนุญาตกรมพัฒนาฝีมือแรงงานทุกกรณีหรือไม่

100. การใช้สิทธิในการอบรมสัมมนาเมืองรองทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นอีก 100%

101. บริจาคอย่างไรจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

102. ค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้จะถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นมีหลักเกณฑ์อย่างไร

103. ประเด็นการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิทางภาษีอากร (บวกกลับ) มีอะไรบ้าง

104. ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นในการบวกกลับไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง

105. กิจการควรจะวางระบบการตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอมอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นกับกิจการ

106. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

Promotion เข้าอบรมเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2562
1. ฟรี! DHARMNITI Planner 2020
2. รับฟรี! Coupon ส่วนลด 1,000 บาท
มูลค่า 500 บาท 2 ใบ ใช้ได้ 1 ใบ/ 1 หลักสูตร / 1 ที่นั่ง (เงื่อนไขตามที่ระบุในคูปอง) เพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าอบรมเดือน  ม.ค.-ก.พ. 2563 และจองอบรมก่อน 31 ธ.ค. 2562


Hours of CPD Hours of CPA
account other accountant other
0:0 6:0 0:0 6:0

Instructor

อาจารย์วราวรรณ กิจวิชา

Location

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
Phone :
02 656 0444
Website :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba