เทคนิคการจัดทำเอกสารรายรับ-รายจ่ายทางบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

รหัสหลักสูตร : 21/2145

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,350 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 6,099 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เทคนิคการจัดทำเอกสารรายรับ-รายจ่ายทางบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

 

วิทยากรโดย ดร.ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์

หัวข้อสัมมนา
ความสำคัญที่นักบัญชีต้องทราบที่เกี่ยวข้องของค่าใช้จ่ายในธุรกิจรับเหมา

1. เข้าใจในลักษณะของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

2. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างคืออะไร

3. ปัญหาที่มักเกิดจากการใช้จ่ายในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

4. การจดทะเบียนสาขาจำเป็นหรือไม่อย่างไร สำหรับหน่วยงาน

ก่อสร้างหรือสำนักงานชั่วคราว

5. จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

งานเอกสารที่สำคัญที่นักบัญชีต้องแม่นยำและให้ความสำคัญต้องระมัดระวังต่างๆ

6. สัญญารับเหมาก่อสร้าง

7. สัญญาซื้อขายทั่วไป , สัญญาจ้าง Sub Contract

8. การติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

9. เอกสารเกี่ยวกับการสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์

10. เอกสารเกี่ยวกับการออกหนังสือคํ้าประกันสัญญา

11. เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินมัดจำตามสัญญา

12. เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่างวดตามสัญญา

13. เอกสารเกี่ยวกับเงินประกันผลงาน

14. เอกสารเกี่ยวกับการว่าจ้างให้ทำงานให้

15. เอกสารเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน

16. เอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนอื่นๆในหน่วยงานต่างๆ

17. เอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสำนักงานและหน่วยงาน

18. เอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคตามหน่วยงานต่าง ๆ

19. เอกสารที่ต้องจ่ายให้บุคคลภายนอกที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้

20. การจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ

21. เอกสารเกี่ยวกับการรายงานความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง

22. เอกสารเกี่ยวกับการตรวจรับงานและส่งมอบงาน

23. เอกสารเกี่ยวกับการเพิ่มเติมแก้ไขเงื่อนไขตามสัญญา

24. เอกสารเกี่ยวกับการรับเงินตามสัญญา

25. การจัดทำใบสำคัญต่างๆ และการจัดเก็บรักษา

26. การจัดทำเอกสารให้ตรงตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรมี อะไรบ้าง

เพื่อให้สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามประมวลรัษฎากร

27. ประเภทของใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

28. แบบพิมพ์ใบกำกับภาษีมีกี่รูปแบบ แนวปฏิบัติที่สำคัญ

29. ใบกำกับภาษีเต็มรูปตามหลักเกณฑ์ใหม่ด้านผู้ขาย ผู้ให้บริการหรือ ผู้ซื้อ

ผู้รับบริการจะต้องระบุเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีของผู้ซื้อหรือไม่

ตามหลักเกณฑ์ใหม่

30. สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ออกใบกำกับภาษี ตามหลักเกณฑ์ ใหม่มีผล

บังคับใช้อย่างไร

31. การค้างค่างวด ค่างวดผ่อนชำระ จ่ายไม่ครบไม่เป็นไปตามสัญญาจะ

บันทึกบัญชีอย่างไร

ปัญหาที่กระทบกับหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ประเด็นปัญหาค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

32. ปัญหาการคิดค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคาที่กระทบกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

33. ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ของพนักงานทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

34. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานที่เดินทางไปตรวจไซด์งานก่อสร้าง จะต้อง

ใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงินต้องมีบิลแนบหรือไม่ และค่าเบี้ยเลี้ยง

พนักงานถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่ หลักเกณฑ์มีอย่างไรบ้าง

35. ค่ารถแท็กซี่ ค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง กิจการควรใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน

36. ซื้อตั๋วเครื่องบินไปตรวจหน่วยงานก่อสร้างจะต้องใช้เอกสารใดประกอบจึงจะถูกต้อง

37. ออกตั๋วเครื่องบินและค่าที่พักให้ลูกค้าเดินทางมาติดต่อธุรกิจกับกิจการ

จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

38. คูปองทางด่วน บัตรเติมเงิน (Easy Pass) ต้องมีหลักฐานเอกสาร

แนบประกอบการเบิกจ่ายเงินหรือไม่

39. ค่ารถไฟ รถไฟฟ้า รถโดยสารต่างจังหวัด จะต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือ

ไม่ถ้าไม่มีถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

40. ค่าที่จอดรถ ใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชี

41. ค่านํ้ามันรถยนต์ส่วนตัวของพนักงานลงเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

42. ซื้อรถไว้ใช้งานในโครงการควรจะบันทึกอย่างไรต้องปันส่วนต้นทุน

หรือไม่

43. ค่านํ้ามันรถยนต์ต้องขอใบกำกับภาษีอย่างไร ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

44. บิลนํ้ามันต้องมีเลขทะเบียนรถหรือไม่ ถ้าไม่มีจะมีผลอย่างไร

45. ใบกำกับภาษีที่เป็นกระดาษความร้อน ต่อมาซีดจางลงอ่านไม่ออกจะ

ถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่และภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่

46. ส่งพัสดุไปรษณีย์จดหมายลงทะเบียน จดหมาย EMS อะไรคือ

หลักฐานการจ่ายเงิน

47. ซื้อแสตมป์ส่งจดหมายต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่

48. ค่ารับรองต่างๆของผู้บริหาร ผู้จัดการ จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้

หรือไม่ หรือถือเป็นเงินได้ของผู้บริหารผู้จัดการ

49. ค่าเลี้ยงรับรองของกิจการทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้โดย

ไม่ต้องบวกกลับ มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงินหรือไม่

50. กิจการเลี้ยงรับรองบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้า จะถือเป็นค่ารับรองได้

หรือไม่

51. ค่าตกแต่ง และค่าเปลี่ยนแปลงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

52. การให้สิ่งของกับลูกค้าต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาท มีหลักเกณฑ์

อย่างไรตามประมวลรัษฎากร

53. ค่ารับรองที่จะถือเป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 0.3% มีหลักเกณฑ์อย่างไร

54. บิลค่ารับรองที่ไม่ระบุชื่อ หรือ เขียนว่า “สด” กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน

จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

55. กิจการจ่ายค่าสมาชิกสโมสร สปอร์ตคลับ หรือนันทนาการต่างๆ ให้

กับผู้บริหาร จะถือเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด ต้องบวกกลับหรือไม่

56. รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือบริจาคต้องบวกกลับทุกรายการ

หรือไม่

57. จะบริจาคอย่างไรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

58. บริจาคเงินหรือทรัพย์สินจะต้องใช้เอกสารใดเพื่อให้สรรพากรยอมรับ

59. หากบริษัทมีผลประกอบการขาดทุน จะนำค่าการกุศลมาหัก

เป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ต้องบวกกลับหรือไม่

60. บริจาคอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นจากที่จ่ายจริง

61. ซื้อบัตรการกุศลจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ใช้เอกสารใด

ประกอบการจ่ายเงิน

62. การจ่ายค่านํ้า ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ของไซด์งาน ก่อสร้างหรือ

สำนักงานขาย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

63. พนักงานนำโทรศัพท์มือถือส่วนตัวมาใช้ในงานของกิจการบิลค่า

โทรศัพท์มือถือของพนักงานจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

64. ค่าขนส่งต้องมีเอกสารอะไรบ้าง

65. ความแตกต่างของค่าขนส่งทั่วไปกับค่าขนส่งสาธารณะ

66. มีวิธีพิจารณาอย่างไรถือเป็นค่าขนส่ง และค่าขนส่งมีภาษีมูลค่าเพิ่ม

หรือไม่

67. หลักการพิจารณากรณีใดถือเป็นค่าเช่า กรณีใดถือเป็นค่าขนส่ง

ระหว่างการเช่ารถกับค่าขนส่งแตกต่างกันอย่างไร

68. ค่าเช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร และเอกสารระบุ แยกหรือ

รวมบนบิลใบเดียวกัน แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

69. การขายวัสดุก่อสร้างพร้อมค่าขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือ

แยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

70. เช่านั่งร้านพร้อมขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือ แยกคนละ

บิลจะปฏิบัติ อย่างไรให้ถูกต้อง

71. เงินปรับจากการก่อสร้างล่าช้า และการส่งมอบล่าช้า จะบันทึกบัญชี

อย่างไร

72. ค่ารับรองที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขายต่างๆ

73. รายจ่ายจากการจ่ายดอกเบี้ยแทน และของแถมต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นปัญหาใบกำกับภาษี , ภาษีมูลค่าเพิ่ม

และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

74. ใบกำกับภาษีที่มีการขีดฆ่าแก้ไขขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่และถือเป็น

รายจ่ายได้หรือไม่ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่เกี่ยวข้อง กับ

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

75. การรับเหมาก่อสร้างให้ส่วนราชการ จะหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

76. ขายที่ดินพร้อมรับเหมาก่อสร้าง จะหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

77. ใบกำกับภาษีเขียนจำนวนเงินตัวอักษรผิดมีการขีดฆ่าและเซ็นต์ชื่อ

กำกับขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

78. “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขาย” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียน

ด้วยลายมือขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

79. “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อ” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียน

ด้วยลายมือขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

80. “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย” ไม่ใช่เลข 13 หลัก กิจการจะ

ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

81.“เล่มที่” “เลขที่” ของใบกำกับภาษีใช้มือเขียน ใช้ตรายางประทับไม่ได้

พิมพ์ จากโรงพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์ จะขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

82. ใบกำกับภาษีชื่อผู้ซื้อใช้ที่อยู่ของไซด์งานก่อสร้างหรือสำนักงานขายขอ

คืนได้หรือไม่

83. มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยส่วนราชการจะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้

หรือไม่ หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

84.มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยกิจการย้ายที่อยู่ ย้ายสำนักงาน จะใช้

ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

85. เขียนหรือพิมพ์ที่อยู่ของผู้ซื้อผิด หรือไม่ครบถ้วน ทำอย่างไรจึงจะขอ

ภาษีซื้อคืนได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

86. การยกเลิกใบกำกับภาษีแล้วออกใหม่ และการออกใบแทนใบกำกับภาษี

ต้องปฏิบัติอย่างไร

87. มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม

88. ใบกำกับภาษีอย่างย่อจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ทำอย่างไร

จึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

89. หลักเกณฑ์การออกใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ตามประมวลรัษฎากร

90. หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่ายของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

91. หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย

92. ปัญหาสัญญาก่อสร้างจะต้องหักภาษีอย่างไร

93. ประเด็นความผิดพลาดในการหักภาษี ณ ที่จ่าย

94. บิลเขียนคำว่า “สด” หรือ “เงินสด” โดยไม่ต้องมีชื่อที่อยู่ของผู้จ่ายเงิน

ได้หรือไม่ สรรพากรยอมรับหรือไม่

95. ผู้ขายไม่ออกบิลให้ใช้นามบัตรแทนได้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็น

รายจ่ายได้

96. กิจการมีเอกสารหลักฐานการจ่าย แต่ทำไมสรรพากรบอกเป็น

รายจ่ายต้องห้าม

97. เอกสารรายจ่ายที่มีการขีดฆ่าแก้ไขถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

98. การเตรียมตัวเมื่อถูกเรียกตรวจสอบโดยกรมสรรพากร

99. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

ดร.ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba