100 เทคนิค 100 กลยุทธ์ แนวปฏิบัติการแก้ไขปัญหารายจ่ายต้องห้าม

รหัสหลักสูตร : 21/2426

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมกับ Update กฎหมายใหม่

2. ฐานภาษีและอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการทั่วไป และ SMEs

3. วิธีปฏิบัติในการปรับปรุงกำไรสุทธิ (รายการบวกกลับและหักออก) ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

4. เงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิและรอบระยะเวลาบัญชี

5. การรับรู้รายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหลักเกณฑ์ที่สำคัญ

6. รายจ่ายต้องห้ามในประมวลรัษฎากรที่สำคัญมีหลักเกณฑ์อย่างไร วิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

7. อย่างไรเรียกว่า “รายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา” มีวิธีพิจารณาอย่างไร และกิจการจะต้องระมัดระวังอะไรบ้าง

พร้อมทั้งปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร

8. รายจ่ายต่อไปนี้เป็นรายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา หรือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร จะทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายให้สรรพากรยอมรับ

- เงินช่วยเหลือค่าทำศพพนักงาน

- ของขวัญวันเกิด วันแต่งาน

- ซื้อการกุศล

- ดอกไม้เยี่ยมคนป่วย

- เงินช่วยเหลืองานบวช งานเลี้ยง

- เงินช่วยเหลืองานเปิดตัวผลิตภัณฑ์

- ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ

- ค่าสมาชิกสโมสร ค่าสมาชิกกอล์ฟ

- รถประจำตำแหน่ง

- ค่ากระเช้าแสดงความยินดีที่เลื่อนตำแหน่ง เปิดกิจการใหม่

9. ความแตกต่างระหว่างส่วนตัวกับสวัสดิการพนักงานมีวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นร่ายจ่ายได้ให้สรรพากรยอมรับ

10. ค่าใช้จ่ายสวัสดิการพนักงานต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้หรือไม่ และถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่มีวิธีพิจารณาอย่างไร

- ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

- ค่าพาหนะ ค่านํ้ามัน

- นายจ้างให้ลูกจ้างอยู่บ้านโดยไม่เสียค่าเช่า

- เครื่องแบบพนักงาน

- อาหารและเครื่องดื่มพนักงาน

- ค่ารักษาพยาบาล

- ออกภาษีให้พนักงาน

- ทำประกันภัยให้พนักงาน

- จัดเลี้ยงปีใหม่ จัดแข่งขันกีฬาประจำปี

- ให้รางวัลแก่พนักงาน

11. บริจาคหรือค่าการกุศลจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

12. ซื้อสิ่งของไปบริจาค กิจการมีสิทธิขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่ และเมื่อนำไปบริจาคต้องเสียภาษีขายหรือไม่

13. หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่ากุศลสาธารณะ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬาที่ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 2ของกำไรสุทธิ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

14. บริจาคอย่างไร บริจาคให้ใคร จึงจะได้สิทธิประโยชน์ ถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นอีก 100 %

15. บริจาคหุ้นให้กับองค์กรสาธารณะกุศลถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

16. ค่ารับรองหรือบริการที่กิจการจ่ายไปมีหลักเกณฑ์อย่างไรจึงจะถือเป็นร่ายจ่ายได้

17. การให้ของขวัญปีใหม่ ถือเป็นค่ารับรองหรือค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำคัญ และทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์ทางภาษีสูงสุด

18. การออกค่าพาหนะ ค่าที่พักให้กับลูกค้าจะถือเป็นค่ารับรองได้หรือไม่ มีเงื่อนไขหรือไม่

19. ค่ารับรองต้องไม่เกิน 2,000 บาทหมายความว่าอย่างไรหากกิจการจ่ายเกินจะต้องปฏิบัติอย่างไร

20. การคำนวณค่ารับรองที่ต้องไมเกิน 0.3 % มีวิธีคำนวณอย่างไร

21. เอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีของค่ารับรองจะต้องมีอะไรบ้างที่จะถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ถูกสรรพากรประเมิน

22. ผู้จัดการมีงบค่ารับรองรายเดือน นำบิลค่าอาหารและเครื่องดื่มมาลงเป็นค่ารับรองได้หรือไม่

23. เอกสารหลักฐานที่จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมีหลักเกณฑ์อย่างไร และวิธีการแก้ไขเอกสารอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้

24. กฎเหล็ก 4 ข้อในการพิจารณาเอกสารรายจ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายได้มีอะไรบ้าง

25. เอกสารประกอบการลงบัญชีและเอกสารตามประมวลรัษฎากรมีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง

26. กิจการได้รับใบกำกับภาษีอย่างย่อจะนำมาถือเป็นรายจ่ายและภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร

27. ใบกำกับภาษีของปั๊มนํ้ามันจะต้องมีเลขที่ทะเบียนหรือไม่

และจะนำมาลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และในกรณีเป็นกระดาษความร้อนจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร

28. ได้รับใบกำกับภาษีแต่เขียนชื่อ-ที่อยู่ของกิจการไม่ครบถ้วน

เป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ต้องมีคำว่า “สำนักงานใหญ่/สาขา”

และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทุกครั้งหรือไม่

29. บิลเงินสดที่ไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้ขายทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

30. ซื้อของซื้อสินค้า แต่ผู้ขายไม่ออกบิลให้จะมีวิธีอย่างไรบ้างจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

31. พนักงานเบิกเงินไปซื้อของไม่มีบิลจะทำใบรับเงินให้พนักงานเซ็นรับเงินแทนได้หรือไม่ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ มีแนวปฏิบัติอย่างไร

32. การโอนเงินเข้าบัญชีโดยวิธี On-Line จะให้ออกหลักฐาน

อะไรในการบันทึกรายจ่าย

33. จ่ายค่ารถแท็กซี่หรือค่าพาหนะหากไม่มีใบเสร็จรับเงิน

จะใช้หลักฐานอะไรให้สรรพากรยอมรับ

34. บิลเงินสดหรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุว่า “สด” หรือ“เงินสด” ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

35. ใบส่งของหรือใบส่งของชั่วคราวถือเป็นหลักฐานการรับเงินได้หรือไม่ มีวิธีแก้ไขให้เป็นหลักฐานการรับเงินได้หรือไม่

36. ใช้ใบสำคัญจ่ายแทนหลักฐานการรับเงินได้หรือไม่

37. ขอภาษีซื้อคืนแล้วสรรพากรแจ้งว่า เป็นใบกำกับภาษีปลอมเนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องปฏิบัติอย่างไร

38. จ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านธนาคารจะต้องมีหลักฐานเซ็นรับเงินหรือไม่

39. จ่ายเงินซื้อของซื้อสินค้าจะพิจารณาได้อย่างไรว่าเป็น “ทรัพย์สิน” หรือเป็น “ค่าใช้จ่าย”

40. หลักเกณฑ์ในการพิจารณารายจ่ายที่มีลักษณะลงทุนรายจ่ายต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่ถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น 100% และ 50% มีหลักเกณฑ์อย่างไร

41. กำหนดจำนวนเงิน 1,000 บาท เป็นทรัพย์สิน และตํ่ากว่า 1,000 บาทเป็นค่าใช้จ่าย สามารถทำได้หรือไม่ สรรพากรยอมรับหรือไม่

42. ปัญหาของรายจ่ายต่อไปนี้จะถือเป็น “รายจ่าย” หรือ “ทรัพย์สิน”

- ค่าทาสีอาคาร ทาสีห้อง

- เปลี่ยนผ้าม่าน พรหมปูพื้น

- เปลี่ยนยางรถยนต์ แบ็ตเตอรี่รถยนต์

- เพิ่ม Ram ใน Computer

- เปลี่ยน Keyboard คอมพิวเตอร์

- ค่าตกแต่งอาคาร

- เปลี่ยนหลังคา

- ปรับปรุงห้องนํ้า

- ยกเครื่องรถยนต์ เครื่องจักร

43. มีวิธีพิจารณาอย่างไรในเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จะถือเป็นต้นทุนทรัพย์สินหรือเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินก่อสร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักรหรือทรัพย์สินอื่น

44. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินในการเช่าซื้อผ่อนชำระและ ลีสซิ่ง จะเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของทรัพย์สิน

45. ภาษีซื้อเกิดจากรถยนต์นั่งหรือรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 คนจะถือเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย

46. การ Renovate ทรัพย์สินจะถือเป็นทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่าย

47. ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิขอคืน แต่ไม่เอาคืนถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

48. ค่าปรับจราจร ค่าปรับศุลกากร ค่าปรับภาษีโรงเรียนถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ตามหลักเกณฑ์ใหม่

49. การส่งสินค้าตัวอย่างไปให้ลูกค้าจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

50. รายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรของกิจการจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และมีอะไรบ้าง

51. ปัญหาของรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน10 คน มีหลักเกณฑ์อย่างไร

- ค่าซื้อรถยนต์

- ค่าเช่ารถยนต์

- การหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคา

- ต้นทุนส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท

- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์

- ค่านํ้ามันรถยนต์

52. ผลขาดทุนสะสมยกมาไม่เกิน 5 ปี ของกิจการทั่วไปและ BOI มีหลักและวิธีการคำนวณอย่างไร

53. กิจการมีการลดทุนเนื่องจากกิจการมีผลขาดทุนสะสมจะทำให้สิทธิในการหักขาดทุนสะสมหมดไปหรือไม่

54. รถยนต์หรือทรัพย์สินเกิดอุบัติเหตุเสียหายทั้งคัน จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนทันที่ได้หรือไม่

55. ซื้อคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์จะหักค่าเสื่อมราคาอัตราใด

56. ทรัพย์สินสูญหาย ทรัพย์สินชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่มีแนวปฏิบัติอย่างไร

57. ทรัพย์สินมีมูลค่าเหลือ 1 บาท จะตัดจำหน่ายได้หรือไม่ต้องปฏิบัติอย่างไร

58. พนักงานนำรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เข้ามาใช้ในกิจการจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

59. ภาษีซื้อที่เกิดจากเงินทดรองจ่ายกิจการที่จ่ายแทนบริษัทในเครือหรือบุคคลอื่นขอคืนได้หรือไม่

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba