99 Check points จุดที่ต้องระมัดระวังในการเสียภาษีอากร (หลักสูตรใหม่ 2562)***เลื่อน โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่***

รหัสหลักสูตร : 23/4926

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อสัมมนา

  1. ความแตกต่างของกิจการขายสินค้า กับ กิจการให้บริการ ภาระภาษีที่มีผลกระทบ
  2. การใช้เกณฑ์สิทธิ และ เกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิ สามารถเลือกได้หรือไม่
  3. การพิจารณารายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กับ ยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. รายได้ที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง ที่มักเกิดขึ้นกับธุรกิจ
  5. ประเภทของรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทุกประเภทหรือไม่
  6. รายได้จากการประกอบกิจการ กับ รายได้เนื่องจากการประกอบกิจการแตกต่างกันอย่างไร
  7. รายได้อื่นต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทุกประเภทหรือไม่
  8. รายได้ที่กิจการถูกหักภาษี ที่จ่าย จะต้องนำมาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือไม่
  9. รายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำมาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิทุกประเภทหรือไม่
  10. รายได้ค่าปรับ ดอกเบี้ย จากการชำระเงินล่าช้าหรือส่งสินค้าล่าช้า มีภาระภาษีอะไรบ้าง
  11. รายได้ค่าดอกเบี้ยต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทุกประเภทหรือไม่
  12. รายได้ที่กิจการได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมีอะไรบ้าง
  13. กิจการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ใช้สิทธิได้หรือไม่ มีผลกระทบอะไรบ้าง
  14. สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบต้องนำมาถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
  15. รายได้จากการให้บริการ แต่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ต้องนำมารวมเป็นรายได้หรือไม่
  16. การขายสินค้าหรือให้บริการได้ตามเป้า ได้รับรางวัลจะต้องนำมาถือเป็นรายได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
  17. ภาษีอากรที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเสีย แต่ได้ผลักภาระภาษีให้ลูกค้าจ่ายแทน จะต้องนำมาถือเป็นรายได้ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือไม่
  18. การให้บริการเช่าอาคารผู้ให้เช่าได้กำหนดให้ผู้เช่าจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน อากรแสตมป์แทนผู้ให้เช่ามีผลกระทบภาษีอากรอะไรบ้าง
  19. ให้บริการในเครือใช้พื้นที่ในอาคาร และใช้เครื่องใช้สำนักงานโดยไม่เรียกเก็บเงิน ทำได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร
  20. การขายสินค้าหรือให้บริการต่ำกว่าราคาตลาด หรือขายขาดทุนทำได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร
  21. กิจการมีผลขาดทุนขั้นต้นได้หรือไม่ จะถูกเพ่งเล็งจากเจ้าพนักงานหรือไม่
  22. ต้นทุนสินค้าที่ขายสูงกว่ายอดขายสินค้าได้หรือไม่
  23. ประเด็นการรับสินค้าจากผู้ขายแล้วพบว่า ส่งสินค้าขาด หรือ ส่งสินค้าเกิน จะปฏิบัติอย่างไรให้ครบถ้วน
  24. สินค้าชำรุดเสียหาย มีตำหนิ ล้าสมัย หรือ สูญหาย จะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ครบถ้วน
  25. ปัญหาการทำลายสินค้าและวัตถุดิบที่ต้องระมัดระวัง
  26. รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิพิจารณาอย่างไรว่า ถือเป็นรายจ่ายได้
  27. อย่างไรถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
  28. หลักเกณฑ์การพิจารณารายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หา
  29. ปัญหาที่ต้องระมัดระวังในการให้สวัสดิการพนักงานที่กิจการจะถือเป็นรายจ่ายได้ และให้อย่างไรพนักงานจึงจะไม่ถือเป็นรายได้
  30. การให้ของขวัญ รางวัลแก่พนักงานมีภาระภาษีอะไรบ้าง
  31. ให้เครื่องแบบแก่พนักงานเกิน 2 ชุดและเสื้อนอก 1 ตัว ทำได้หรือไม่ ให้อย่างไรจึงจะคุ้มค่า
  32. บริษัท (นายจ้าง) เช่าบ้านให้ลูกจ้างอยู่ฟรี จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่ และพนักงานต้องถือเป็นรายได้หรือไม่
  33. ปัญหารายจ่ายต้องห้ามที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ค่ารับรอง เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายที่ไม่ได้จ่ายจริง
  34. หลักการพิจารณาสินทรัพย์กับค่าใช้จ่ายในทางภาษีอากรมีวิธีพิจารณาอย่างไร แตกต่างกับทางบัญชีหรือไม่
  35. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหมายถึงค่าใช้จ่ายประเภทใด ต้องปฏิบัติอย่างไร
  36. หากมีกิจการมีการต่อเติม ขยายออก เปลี่ยนแปลง หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินจะถือเป็นทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่าย
  37. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สินจะถือเป็นต้นทุนของทรัพย์ทุกครั้งหรือไม่ แนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร
  38. กิจการจะเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด
  39. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หักได้กี่อัตรา เลือกหักได้หรือไม่
  40. ซื้อทรัพย์สินมาต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กิจการเลือกไม่หักได้หรือไม่
  41. ปัญหาของรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน จะต้องระมัดระวังอะไรบ้าง และมีข้อห้ามอะไรบ้าง
  42. การคำนวณกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มักผิดพลาดต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
  43. การจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์ค่าตอบแทนหรือไม่ ประเด็นภาษีที่ห้ามผิดพลาด
  44. ส่งสินค้าตัวอย่างไปให้ลูกค้าฟรี ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
  45. การให้บริการฟรีแก่ตนเอง หรือบุคคลอื่น มีภาระภาษีหรือไม่
  46. ประเด็นการคำนวณมูลค่าฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่มักผิดพลาดคาดเคลื่อน
  47. กิจการขายสินค้าโดยการส่งออกต้องใช้เอกสารใดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล
  48. ภาษีซื้อที่มีสิทธินำไปเครดิตภาษีขายไม่เกิน 6 เดือน นับอย่างไร และหากเกินต้องปฏิบัติอย่างไร
  49. วิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอมที่ถูกต้องและรวดเร็ว
  50. การเขียนที่อยู่ของผู้ซื้อ (ลูกค้า) ไม่ครบถ้วนตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ต้องทำอย่างไรจึงจะขอคืนภาษีซื้อได้
  51. ใบกำกับภาษีต้องมีชื่อ-ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และสำนักงานใหญ่หรือสาขาทุกรายหรือไม่ มีข้อยกเว้นหรือไม่
  52. ประเด็นการออกใบกำกับภาษีที่มักผิดพลาดบ่อย ที่ต้องระมัดระวัง
  53. การยกเลิกใบกำกับภาษีและการออกใบแทนตามกฎหมายต้องปฏิบัติอย่างไร
  54. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จ่ายแทนลูกค้าได้หรือไม่
  55. ภาษีซื้อต้องห้ามต้องบวกกลับเสมอไปหรือไม่ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
  56. ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิขอคืนหรือเครดิตภาษีขายได้ แต่กิจการสละสิทธิไม่ขอคืน จะนำมาถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
  57. จ่ายเงินทดรองจ่ายแทนบริษัทในเครือหรือบุคคลอื่น จะนำมาถือเป็นค่าใช้จ่ายและขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่
  58. กิจการควรจะใช้ส่วนลดชนิดใด จึงจะไม่มีภาระภาษี
  59. ส่วนลดประเภทใดที่ต้องหักภาษี ที่จ่าย และลูกค้าต้องถือเป็นรายได้
  60. กิจการจะส่งเสริมการขายอย่างไร ให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
  61. ความแตกต่างระหว่างของแถมกับของแจกภาระภาษีที่ต้องระมัดระวัง
  62. การนำสินค้าไปให้ลูกค้าทดรองใช้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
  63. กิจการจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อทุกกิจการหรือไม่ หลักเกณฑ์ที่สำคัญ
  64. การให้ของขวัญ ของชำร่วย จะให้อย่างไรจึงจะได้รับคุ้มค่าที่สุด
  65. เมื่อกิจการจ่ายเงินต้องหักภาษี ที่จ่าย จะหักอย่างไรให้ถูกต้องหากผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
  66. จ่ายไปแล้วต้องหักภาษี ที่จ่าย แต่ผู้รับเงินไม่ยอมให้หัก ทำอย่างไรกิจการจะปฏิบัติถูกต้อง
  67. ภาษีหัก ที่จ่ายที่กิจการจ่ายแทนจะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ และผู้รับเงินจะต้องถือเป็นรายได้หรือไม่
  68. มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่กิจการจ่ายไปแล้ว ไม่ต้องหักภาษี ที่จ่าย
  69. ถ้าไม่ได้หัก ที่จ่าย หรือ หักไม่ครบ หรือหักไม่ถูกต้อง ใครต้องรับผิด
  70. มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะถือเป็นรับจ้างทำของ
  71. จ่ายเงินค่าจ้างทำของผู้รับเงินแยกบิลค่าสินค้ากับค่าแรงออกจากกัน หรือแยกบิลคนละใบ จะหักภาษี ที่จ่ายอย่างไร
  72. ปัญหาของค่าขนส่งจะหักภาษีอย่างไร ต้องจดทะเบียนขนส่งหรือไม่
  73. ค่าขนส่งรวมการขายสินค้าจะต้องหักภาษี ที่จ่ายหรือไม่ มีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
  74. ค่าขนส่งรวมกับการให้บริการจะต้องหักภาษี ที่จ่ายหรือไม่ มีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
  75. ความแตกต่างระหว่างค่าขนส่งกับค่าเช่ารถมีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร ภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
  76. เช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร
  77. ธุรกิจอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และข้อยกเว้นไม่ต้องเสีย
  78. ธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทุกรายหรือไม่
  79. การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ และข้อยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
  80. ฐานภาษีและอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ
  81. การขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเสมอไปหรือไม่ และเสียที่ใด
  82. อย่างไรถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
  83. การให้กู้ยืมเงินต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมทุกครั้งหรือไม่ มีข้อยกเว้นหรือไม่
  84. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมีภาระภาษีอะไรบ้าง และใครเป็นผู้เสีย
  85. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมต่ำกว่าอัตราตลาดได้หรือไม่ มีข้อผ่อนปรนหรือไม่
  86. มีข้อยกเว้นการให้กู้ยืมอย่างไรที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
  87. มีข้อยกเว้นการให้กู้ยืมไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่
  88. อย่างไรถือเป็นหนังสือหรือตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์
  89. ประเภทของอากรแสตมป์ที่ต้องเสีย
  90. อากรแสตมป์ต้องเสียภาษีในกี่วัน
  91. วันที่มีผลบังคับใช้ตามสัญญา กับ วันที่ลงนามบนสัญญา จะนับวันไหนที่ต้องเสียอากรแสตมป์
  92. อัตราอากรแสตมป์ และวิธีการคำนวณอากรแสตมป์ที่ต้องเสีย
  93. หลักเกณฑ์การเสียอากรแสตมป์ของสัญญารับจ้างทำของ
  94. หลักเกณฑ์การเสียอากรแสตมป์ของสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
  95. หลักเกณฑ์การเสียอากรแสตมป์ของสัญญากู้ยืมเงิน
  96. สัญญาประเภทใดบ้างที่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
  97. ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่
  98. มีสัญญาอะไรบ้างที่ต้องเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
  99. ถ้าต้องเสียภาษีอากรแสตมป์แล้วไม่ได้เสีย หรือเสียไม่ครบถ้วน มีบทลงโทษอะไรบ้าง
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba