Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 Workshop การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91

Course Code : 21/1291

Course Schedule

Course Price

Members Magazine : 4,173 Thai Baht ( Include VAT )
Non Members : 4,922 Thai Baht ( Include VAT )

Course Detail

Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 Workshop การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 ที่ต้องยื่นแบบภายใน 31 มี.ค. 62

  • การใช้สิทธิทางภาษีให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  • หลักเกณฑ์และเอกสารที่ใช้ลดหย่อนช้อปช่วยชาติ 2561-2562 ยางรถยนต์, หนังสือ, OTOP
  • Update!!! การหักค่าลดหย่อน, ค่าใช้จ่ายอัตราภาษีปี 2562
  • Update สิทธิลดหย่อนภาษี 2 เท่า!!! สำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา ผ่านระบบ e-Donation
  • การยื่นแบบให้พนักงานต่างชาติใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
  • การเปลี่ยนแปลงการหักลดหย่อนบุตร 60,000 บาท
  • การหักลดหย่อนค่าฝากครรถ์, ค่าทำคลอด, เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ
  • หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีบริจาคให้วัด, สถานศึกษา, โรงพยาบาล

หัวข้อสัมมนา

  1. Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2561 และแนวโน้มนโยบายปี 2562
  2. การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2561
    • มนุษย์เงินเดือนมีเงินได้เท่าไหรที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • โสด
    • สมรส
    • กรณีมีรายได้ขั้นต่ำต่อปีที่สรรพากรกำหนด (60,000 120,000 และ 220,000) ต่างกันอย่างไรและต้องมีรายได้เท่าไหรที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • อัตราเสียภาษี 7 ขั้นที่มนุษย์เงินเดือนต้องเสียภาษี
    • การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับคนต่างด้าวที่พิการ
  3. หลักเกณฑ์ทางภาษีที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ผู้เสียภาษีต้องทราบ
    • อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • กรณีแยกยื่นของสามี-ภรรยา ยื่นอย่างไรให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
    • มนุษย์เงินเดือน ต้องมีรายได้เท่าไหร่จึงจะต้องยื่นแบบเสียภาษี
    • ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วจะขอคืนภาษีได้อย่างไร
  4. ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(1)-(8) เปรียบเทียบเงินได้ที่มักเข้าใจผิด
    • ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(7)งานรับเหมา กับ 40(8) งานรับจ้าง
    • ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(2) (6)และ (8)
    • เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) แตกต่างกันอย่างไร
    • เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์รวมทั้งประโยชน์เพิ่มอื่นๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทใด
  5. ประเด็นปัญหา เงินได้ที่ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานมีวิธีการคิดอย่างไร วิธีไหนจะทำให้เสียภาษีน้อยที่สุด
    • คำว่า “ค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนฯ” มีวิธีการคำนวณอย่างไร
    • เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับยกเว้นภาษีมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
    • การแยกคำนวณเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานมีหลักเกณฑ์อย่างไร
    • การคำนวณเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานคำนวณอย่างไรไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเพิ่มเติม
  6. ประเด็นปัญหาทางภาษีกรณีลูกจ้างเป็นคนต่างชาติและหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อน
    • การเสียภาษีของคนต่างชาติที่ได้รับเงินได้จากประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ถ้าไม่ได้เดินทางเข้ามาในไทย หรือมาอยู่ในไทยไม่ถึง180 วัน
    • กรณีคนต่างชาติทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้จากต่างประเทศต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่
    • การหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ของสามีภรรยา หรือบุตรของคนต่างชาติ
  7. เจาะประเด็นวิธีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 8 ประเภท เงินได้แบบไหนมีวิธีหักอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางภาษี
  8. 45 ประเด็นปัญหาค่าลดหย่อน พร้อม Update ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ควรพลาด
    • 8.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว
    • กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล สามารถลดหย่อนส่วนตัว ได้ทุกคนหรือไม่
    • 8.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส
    • สมรสระหว่างปีสามารถนำคู่สมรสมาหักลดหย่อนในปีภาษีนั้นได้หรือไม่ - คู่สมรสมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและไม่ได้แยกยื่นแบบแสดงรายการสามารถใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่
    • กรณีที่สามีและภรรยามีรายได้ทั้ง 2 ฝ่าย และยื่นรวมจะหักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่
    • 8.3 ค่าลดหย่อนบุตร ค่าฝากครรภ์ค่าคลอดบุตร
    • หลักฐานที่ต้องใช้เป็นหลักฐานเพื่อหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรมีอะไรบ้าง
    • กรณีได้รับเงินช่วยค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม 13,000 บาทสามารถใช้สิทธิหัก ค่าลดหย่อนได้เต็ม 60,000 บาทหรือไม่
    • กรณีที่ตั้งครรภ์สิ้นปี 61 และกำหนดคลอดปี 62 จะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
    • กรณีที่ตั้งครรภ์หัวปีท้ายปีจะใช้สิทธิได้ 60,000 บาทหรือ 120,000 บาท
    • กรณีลูกแฝดจะใช้สิทธิค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดได้ 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท
    • ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่แท้ง จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์, ค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
    • กรณีอุ้มบุญใครมีสิทธิใช้ค่าลดหย่อน
    • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักลดหย่อนบุตร และจำนวนเงินที่มีสิทธิหักลดหย่อนบุตร
    • กรณีมีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่
    • บุตรที่จบการศึกษาระหว่างปีและยังไม่ได้มีงานทำ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่
    • บุตรที่เพิ่งคลอดระหว่างปีสามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่
    • บุตรของภรรยาหรือสามี (ลูกติดสามี/ภรรยา) สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่
    • 8.4 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา
    • บุตรบุญธรรมสามารถนำบิดามารดาที่รับอุปการะเลี้ยงดูมาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่
    • กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีหรือก่อนการยื่นแบบใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่
    • กรณีนำบิดามารดาไปลดหย่อนซ้ำกับพี่น้อง
    • กรณีมารดาไม่มีเงินได้บิดาใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนคู่สมรสไปแล้ว บุตรใช้สิทธิหักลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูมารดาได้อีกหรือไม่
    • กรณีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว สามารถนำมาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้หรือไม่
    • 8.5 ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ
    • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ
    • เอกสารหลักฐานที่ต้องแนบตอนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • กรณีผู้ดูแลคนพิการมีหลายคนที่มีชื่อในบัตรประจำตัวคนพิการ แต่ละคนสามารถนำไปหักค่าอุปาการะเลี้ยงดูคนพิการได้อย่างไรบ้าง
    • กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการระหว่างปีนำสิทธิหักลดหย่อนมาใช้อย่างไร
    • กรณีภรรยาไม่มีเงินได้แต่มีชื่อเป็นคนดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
    • 8.6 ลดหย่อนประกันสังคม
    • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนประกันสังคม
    • กรณีสามีหรือภรรยาไม่มีเงินได้แต่เป็นผู้ประกันตนตาม พรบ.ประกันสังคม สามารถนำเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ชำระมารวมหักลดหย่อนภาษีเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ตนชำระด้วยได้หรือไม่
    • 8.7 ค่าลดหย่อนประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ
    • กรณีที่บริษัทซื้อประกันชีวิตให้พนักงานโดยเป็นไปตามระเบียบบริษัท พนักงานสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้หรือไม่
    • กรณีซื้อประกันชีวิตให้บิดามารดาของคู่สมรส สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
    • กรณีที่กรมธรรม์นั้นมีผู้จ่ายเบี้ยประกันหลายคน จะใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร
    • หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
    • กรณีที่ซื้อประกันชีวิตที่มีการคุ้มครองเกิน 10 ปีแต่ได้รับเงินคืนเกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตจะถือว่าผิดเงื่อนไขหรือไม่ นำมาลดหย่อนได้หรือไม่
    • กรณีที่มีการนำเบี้ยประกันที่จ่ายไปมาลดหย่อน แต่มาทราบภายหลังว่าผิดเงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนด มีแนวทางแก้ไขอย่างไร
    • 8.8 ค่าลดหย่อนซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
    • เงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุน RMF, LTF และการใช้สิทธิลดหย่อน
    • กรณีที่มีซื้อ RMF, LTF จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร และส่งผลกับการใช้สิทธิลดหย่อนหรือไม่อย่างไร
    • กรณีที่มีการลงทุนซื้อ RMF และมีการระงับการซื้อติดต่อกันเกิน 1 ปี จะมีผลอย่างไรหรือไม่กับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
    • กรณีซื้อ LTF เกิน 15% ของรายได้สามารถทำได้หรือไม่และใช้สิทธิ ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
    • กำไรที่ได้ขากการขายคืนหน่วยลงทุน หากเกิน 15% ของเงินได้ ต้องนำกำไรที่ได้นั้นไปคำนวนเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดาหรือไม่
    • 8.9 ค่าลดหย่อนบ้านหลังแรก
    • 8.10 ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย
    • กรณีสามีภรรยายื่นกู้ร่วมซื้อบ้าน ภรรยาไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็มจำนวนหรือไม่
    • 8.11 ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
    • บริจาคให้กับวัด
    • บริจาคให้กับสถานศึกษา, กีฬา
    • บริจาคให้กับโรงพยาบาล
    • 8.12 ค่าลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว 55 จังหวัด
    • กรณีที่มีการจ่ายเงินค่าท่องเที่ยวให้กับบริษัททัวร์ที่พาเที่ย;โดยแพ็คเก็จมีการนำเที่ยวเมืองหลักและต่อด้วยเมืองรอง สามารถนำมาลดหย่อนได้หรือไม่
  9. การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบ Internet เสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบภาษีมากกว่ายื่นแบบด้วยตนเองหรือไม่
  10. กรณีที่คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรมดาแล้วไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ หากไม่ยื่นจะมีผลอย่างไร
  11. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

หมายเหตุ
ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน รับฟรี! หนังสือ สรุป มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับสำคัญที่มีผลกระทบกับธุรกิจปี 2562 และประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้อง
Hours of CPD Hours of CPA
account other accountant other
0:0 6:0 0:0 6:0

Instructor

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

Location

โรงแรม รามาดา บาย วินแดม กรุงเทพฯ เจ้าพระยาปาร์ค
247 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพมหานคร
10400
Phone :
02-2900125
Website :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba