กฎหมายกำกับและควบคุมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมหลักเกณฑ์และวิธีการเสียภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล(หลักสูตรใหม่ปี2561)

รหัสหลักสูตร : 21/1687

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,494 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,243 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


กฎหมายกำกับและควบคุมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
พร้อมหลักเกณฑ์และวิธีการเสียภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.


• การเข้าสู่การทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร
• ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้ประกอบธุรกิจอยู่ก่อน พ.ร.ก.นี้ใช้บังคับ ต้องมายื่นคำขออนุญาตภายใน
90 วันนับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561
• ระวัง! ทำผิดกฎหมายมีโทษหนักทั้งทางอาญาและแพ่ง ปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
• สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร? ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี?
• สินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาใช้ในการประกอบธุรกิจและการกระทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
• โทษหนักหากผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้รับอนุญาตลงทะเบียนกับ ก.ล.ต.
• เก็บภาษี Cryptocurrency กับภาระภาษีตามหลักเกณฑ์ใหม่
• แนวการตรวจสอบและจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัลของกรมสรรพากร

วิทยากรโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย(ก.ล.ต.) วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล

หัวข้อสัมมนา

Module: 1
พระราชกำหนดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
1. ความหมายของสินทรัพย์ดิจิทัลและธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
• คริปโทเคอร์เรนซี
• โทเคนดิจิทัล
• ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
• นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
• ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล
• กิจการอื่นที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
2. กิจกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.ก. กำกับดูแล
• ประเด็นสำคัญที่ ก.ล.ต. ใช้ในการพิจารณาควบคุมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
• เงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้
• ใครสามาถรถเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนได้ มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในทางปฏิบัติอย่างไร
• การเสนอขายโทเคนดิจิทัล ต่อประชาชน (ตลาดแรก) มีเงื่อนไขอย่างไร
- ผู้ระดมทุน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
- ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
- หลักเกณฑ์และขั้นตอนในทางปฏิบัติ
• การให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล(ตลาดรอง) มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- ศูนย์ซื้อขาย นายหน้า ผู้ค้า สินทรัพย์ดิจิทัล
- การขออนุญาต *คุณสมบัติของกรรมการ ผู้บริหาร
- มาตรฐานตามเกณฑ์ตามที่ ก.ล.ต. กำหนดมีอะไรบ้าง
3. วิธีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน
• กรณีใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการฯและร่างหนังสือชี้ชวน
• ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ไม่ถูกต้องมีผลอย่างไร
4. ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าจะมีวิธีการอย่างไร
5. ประเด็นหากผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะรับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน
หรือในการทำธุรกรรมสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
6. ข้อพึงระวัง!! กรณีไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
• ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ
• ห้ามทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
• สั่งระงับการดำเนินกิจการ
7. เมื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องการเลิกประกอบธุรกิจจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
8. มาตรการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล
• อย่างไรถือว่าเป็นการบอกกล่าว เผยแพร่ ที่ก่อให้เกิดความสำคัญผิดต่อประชาชน
• ตัวอย่าง การบอกกล่าว เผยแพร่ก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญ
• ข้อห้ามที่ผู้รู้หรือครอบครองข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลต้องทราบ
• ข้อห้ามเกี่ยวกับการส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
9. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุมดูแล
10.มาตรการการป้องกันการฟอกเงิน หรือใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในทางไม่สุจริต
11.การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ
• โทษจำคุกหรือโทษปรับถึง 2 เท่าของมูลค่าโทเคนดิจิทัลทั้งหมดที่เสนอขาย !!
• ความผิดทั้งทางอาญาและแพ่ง โทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
• ความรับผิดของ กรรมการ ผู้จัดการ กระทำความผิดต้องรับโทษกรณีใดบ้าง
• เสนอขายโทเคนดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยื่นแสดงรายการด้วยข้อมูลเป็นเท็จใครติดคุก!!

Module: 2
พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561
1. นิยามของสินทรัพย์ดิจิทัลตามประมวลรัษฎากรและธุรกิจที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจ
สินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
• คริปโทเคอร์เรนซี “Cryptocurrency”
• ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
• โทเคนดิจิทัล
• สินทรัพย์ในรูปหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
2. การแก้ไขเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้เนื่องมาจากสินทรัพย์ดิจิทัล
• มาตรา 40(4)(ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการถือหรือครองโทเคนดิจิทัล
• มาตรา 40(4)(ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคา
เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
3. การออกและเสนอขาย ICO ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและภาระภาษีอย่างไร
4. หลักเกณฑ์การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้เนื่องมาจากสินทรัพย์ดิจิทัล
• เงินได้จากสินทรัพย์ดิจิทัลกรณีใดบ้างที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
• อัตราภาษีที่ต้องถูกหัก
• ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วสิ้นปี สามารถเลือกนำมารวม/ไม่รวมกับเงินได้ประเภทอื่นได้หรือไม่
5. สรุปภาระภาษีทั้งระบบของสินทรัพย์ดิจิทัล การกำกับ ติดตามและจัดเก็บภาษีของสรรพากร
6. แนวการตรวจสอบและจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัลของกรมสรรพากร
7. มาตรการป้องกันการโกงและฟอกเงิน หรือใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในทางไม่สุจริต
8. อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษี (Tax Crimes Related to Direct Taxes and Indirect Taxes)
• การกระทำที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
• กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหมายถึงอะไร การกระทำอย่างไรแบบไหนถือว่าเป็นการฟอกเงิน
• อย่างไร? คือพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินในทางภาษีอันจะส่อให้เห็นว่าอาจเป็นความผิดฐานฟอกเงินได้
9.ใครบ้างที่ต้องรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
• นิติบุคคลฟอกเงินได้ด้วยหรือไม่
• นักบัญชี ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี กรรมการบริษัทและผู้บริหารต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่
10.โทษจากการกระทำความผิดที่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
มีอย่างไรบ้างร้ายแรงแค่ไหน
11.อำนาจในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของสรรพากร รวมถึงการใช้อำนาจอื่นหากเข้าข่ายการฟอกเงินมีได้ในกรณีใดบ้าง
• ผู้ที่จะถูกสรรพากรยึดหรืออายัดทรัพย์สินมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านได้แค่ไหน เพียงไร
12.คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี




นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

สถานที่

โรงแรมสวิส โฮเต็ล
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานี ห้วยขวาง
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba